แก้ไขปัญหารากลึกต้นเหตุของอาการข้อเสื่อมได้ด้วยกลูโคซามีน ซัลเฟต

แก้ไขปัญหารากลึกต้นเหตุของอาการข้อเสื่อมได้ด้วยกลูโคซามีน ซัลเฟต

โรคข้อเสื่อม
         เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยในช่วงเข้าสู่วัยกลางคนและพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ   พบบ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น
 

   สาเหตุของโรค 
         เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อ (cartilage) ลดลง ซึ่งตามปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อและป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง หากกระดูกอ่อนผิวข้อเหล่านี้ลดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม น้ำหนักหรือแรงกดที่กระทำกับข้อ จะส่งผลให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อถูกยืด เป็นเหตุให้เกิดอาการปวดตามมา


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่
     1.  อายุ
          อายุที่เพิ่มมากขึ้นมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อมมากตามไปด้วย เนื่องจากมีการสร้าง
          กระดูกอ่อนผิวข้อน้อยลง 
     2.  น้ำหนักตัวมากเกินไป
          การมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์มาตรฐานจะส่งผลโดยตรงให้เกิดแรงกดภายในข้อ
          ที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
     3.  กิจกรรมบางอย่างในชึวิตประจำวัน
          การใช้ชีวิตประวัน รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่คุ้นเคยส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกด
          มากจนเกินไปเช่น การนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ 
     4.  ปัจจัยทางพันธุกรรม
          โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ 

        อาการทางคลินิกของโรคข้อเสื่อม
         1.  อาการปวด มีลักษณะปวดตื้อๆ ทั่วไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตำแหน่งชัดเจนได้ และมักปวดเรื้อรัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน หรือลงนํ้าหนักลงบนข้อนั้น ๆ และจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดำ เนินโรครุนแรงขึ้นอาจทำ ให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย
         2.  ข้อฝืด พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้าและหลังจากพักข้อนาน ๆ
         3.  ข้อบวมและผิดรูป อาจพบข้อขาโก่ง  ข้อที่บวมเป็นการบวมจากกระดูกงอกโปนบริเวณข้อ
         4.  สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน ผู้ป่วยมีอาการเดินไม่สะดวกหรือหยิบจับสิ่งของได้ไม่ถนัด
         5.  มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อขณะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะที่ข้อเข่า


    ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม
           ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
           ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินทางไกล
           หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อที่เสื่อมอยู่เสมอ
           หลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องใช้ข้อหนักๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งพับเพียบ

    แนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม
           การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมโดยแพทย์ กรณีเป็นรุนแรง
           การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง
           การใช้ยา  ได้แก่ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  ซึ่งเป็นยาที่ใช้เฉพาะเวลามีอาการ เนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหาร
           ยาที่ช่วยเสริมสร้างและยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อได้แก่ ยากลูโคซามีน ซัลเฟต ซึ่งเป็นยาที่แก้ไขต้นเหตุของโรคข้อเสื่อม

    กลูโคซามีน ซัลเฟต แก้ไขต้นเหตุของโรคข้อเสื่อม
          'กลูโคซามีน' เป็นสารที่พบในร่างกาย เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของการสังเคราะห์มวลกระดูกอ่อนที่เรียกว่าไกลโคซามิโนไกลแคน (glycoaminoglycan) แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะมีการสร้างกลูโคซามีนน้อยลง และถูกทำลายด้วยเอนไซม์ เช่น collagenase มากขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ปัจจุบันกลูโคซามีน ซัลเฟตเป็นที่นิยมใช้ในผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม เนื่องจากการวิจัยทางการแพทย์ พบว่า กลูโคซามีน ซัลเฟต ช่วยแก้ไขต้นเหตุของโรคข้อเสื่อมโดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ 
           เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของกระดูกอ่อนผิวข้อ  
           กระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อ
           ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อได้แก่  collagenase 

    กลูโคซามีน ซัลเฟต กับการบรรเทาอาการปวด 
          เมื่อทานต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการปวดได้เทียบเท่ากับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์  เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และไพร็อกซิแคม (piroxicam) แต่มีผลข้างเคียงต่อการระคายเคืองและการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามในช่วง 2 สัปดาห์แรก  ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรับประทานยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  ควบคู่ไปก่อนเท่าที่จะเป็น
 
    ขนาดรับประทานที่แนะนำ  
          วันละ 1,500 มิลลิกรัม ต่อเนื่องอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ขึ้นไป 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้