สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย
กระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินทำได้อย่างไร?
ความจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับกลูต้าไธโอน (Glutathione)
คุณค่าสารอาหารเพื่อผิวขาวใส อย่างปลอดภัย
การที่สีผิวของแต่ละคนต่างกันนั้น สาเหตุหลักคือ 'พันธุกรรม' ซึ่งทำให้องค์ประกอบของเม็ดสีที่ชั้นผิวหนังต่างกันจึงทำให้มีสีผิวที่แตกต่างกัน โดยเกิดจากเม็ดสีเมลานินนั่นเอง และเมื่อถูกแสงแดดนานๆผิวจะคล้ำลง ซึ่งเป็นผลให้สีผิวเปลี่ยนแปลงได้ มีสาเหตุจากจำนวนเม็ดสีเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินต่างๆ
ในผิวหนังของเราที่ชั้นหนังกำพร้า นอกจากจะมีเซลล์เคอราติน แล้วยังจะมีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ซึ่งภายในเมลาโนไซต์จะมีสารเมลานินหรือเม็ดสีเมลานิน (Melanin) โดยบรรจุในถุงหุ้มเมลาโนโซม (Melanosome) ส่งผลให้เมลาโนไซต์กระจายไปทั่วชั้นผิวหนัง จึงเห็นเป็นสีผิวต่างๆ ซึ่งชนิดของเม็ดสีเมลานิน มี 3 แบบคือ
1. ยูเมลานิน (Eumelanin) :
เม็ดสีเมลานินชนิดนี้จะมีสีน้ำตาล ดำ พบมากในคนผิวคล้ำ
2. ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) :
มีเม็ดสีสีแดง หรือเหลือง ซึ่งพบมากในคนผิวขาวมากกว่า
3. แบบผสม (Mixed melanin) :
มีเม็ดสีเมลานินทั้งสองชนิดผสมกัน
กระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน เริ่มต้นด้วย
1. เอ็นไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase)
เป็นสารที่มีบทบาทมากที่สุด ทำหน้าที่เปลี่ยนสารไทโรซีน (Tyrosine) จนได้เป็น ยูเมลานิน ซึ่งมีสีน้ำตาล ดำ ถ้าเอ็นไซม์นี้ทำงานมากเกินไป จะทำให้เม็ดสีเมลานินถูกสร้างมากขึ้นจนเห็นเป็นสีผิวคล้ำหรือดำ
2. กลูต้าไธโอน (Glutathione)
คือสารที่มีบทบาทรองลงมา ในการสังเคราะห์เม็ดสีผิว โดยมีการทำงานกดการสร้างเม็ดสียูเมลานิน หรือเม็ดสีผิวคล้ำ ให้มีการสร้างลดลง
3. ซิสเทอีน (Cysteine) หรือ แอล-ซีสเตอีน
มีบทบาทที่จะช่วยเปลี่ยนสาร DOPAquinone ให้มีการสร้างเม็ดสีฟีโอเมลานินมากขึ้นจนทำให้ได้สีผิวขาวขึ้น
กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้จากกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ ซีสเทอีน (Cystein) กลูตาเมท (Glutamate) และไกลซีน (Glycine) โดยกลูตาเมทและไกลซีนนั้นมีมากในกระแสเลือดอยู่แล้ว กลูต้าไธโอนยังได้จากจากอาหารประเภทโปรตีน ไข่ และ นม รวมถึงผักผลไม้ประเภทหน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด และวอลนัท ร่างกายจะเก็บกลูต้าไธโอนที่สร้างขึ้นไว้ที่ตับ สามารถพบกลูตาไธโอนได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินซีและอีได้มากขึ้น อีกทั้งกลูตาไธโอนยังมีบทบาทยับยั้งเอ็นไซม์ไทโรซิเนส เปลี่ยนการสร้างยูเมลานิน เป็น ฟีโอเมลานิน
มีหลายงานวิจัยที่พบว่า สารกลูต้าไธโอนจะไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้ เพราะจะถูกย่อยสลายและขับออกทางลำไส้ ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดกลูต้าไธโอนจึงไม่ได้รับประโยชน์เลย สำหรับการฉีดนั้นหากได้รับปริมาณมากส่งผลเกิดอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน (ต้องการรู้จักกับกลูต้าไธโอนให้ดียิ่งขึ้น คลิกที่นี่)
1. แอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine)
เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างการสร้างเองได้ แต่มีปริมาณน้อย และสามารถได้เพิ่มจากการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย ดังต่อไปนี้
2. Amla extract (สารสกัดมะขามป้อม)
สารสกัดมะขามป้อมเป็นแหล่งที่อุดมด้วยวิตามินซีสูง และยังมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลอีกด้วย เรียกได้ว่าสารสกัดมะขามป้อมมีบทบาทเป็นสารต้านอนุมุลอิสระที่ให้ฤทธิ์ที่แรงอย่างมีประสิทธิภาพ
3. Grape seed extract (สารสกัดเมล็ดองุ่น)
มีสาระสำคัญที่ชื่อ โอลิโกเมอริค โปรแอนโธไซยานิน (oligomeric proanthocyanidin) หรือ OPC ซึ่งเป็นกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์
ด้วยคุณค่าของสารอาหารที่กล่าวมา ล้วนมีผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานินทั้งสิ้น ทั้งลดการสร้างเม็ดสียูเมลานิน และเพิ่มเม็ดสีฟีโอเมลานิน ยิ่งไปกว่านั้นด้วยประสิทธิภาพของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยังช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ปกป้องอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ผิวอีกด้วย ส่งผลให้มีสีผิวที่ขาว กระจ่างใสได้อย่างปลอดภัย (อยากมีผิวขาวได้ดั่งใจและปลอดภัยไร้ผลข้างเคียง คลิกอ่านต่อได้ที่นี่)