ขาสวย... ด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

ขาสวย... ด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

     'องุ่น' (Grape) เป็นไม้ยืนต้นชนิดเถาไม่เลื้อย จัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมกันมาก นิยมรับประทานสด และนำมาแปรรูปไม่ว่าจะมาจากส่วนใดขององุ่นก็ตามมีคุณค่าสารอาหารมากมาย รวมทั้งยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอีกด้วย ยิ่งไปกว่านี้ยังมีการศึกษาถึงองค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมีมากมายจากส่วนต่างๆขององุ่น จากการศึกษาทำให้รู้ว่า ส่วนที่มีความสำคัญและน่าสนใจที่สุดคือ ส่วนของเมล็ดองุ่นนั่นเอง

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) 

     สารสำคัญที่พบในเมล็ดองุ่น คือ โอพีซี หรือ โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (OPC; Oligomeric proanthocyanidins ) อยู่ในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid)

บทบาทของสารสำคัญจากสารสกัดเมล็ดองุ่น (OPC)

  • มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่แรง เรียกกันว่า Superantioxidant โดยพบว่ามีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่า วิตามินซี 20เท่า และแรงกว่าวิตามินอี 50เท่า
  • ชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ เช่น คอลลาเจน อีลาสติน ผนังหลอดเลือดต่างๆ
  • เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของหลอดเลือดและชั้นผิวหนัง
  • เพิ่มการไหลเวียนเลือดทั้งเส้นเลือดฝอย และหลอดเลือดดำ
  • ลดการอุดตันของหลอดเลือดดำ

ประโยชน์ที่ดีของเมล็ดองุ่นที่มีต่อผิว

  • ช่วยบำรุงผิว
  • ป้องกันอาการเส้นเลือดขอด


เส้นเลือดขอด (Varicose veins) กับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

   สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) มักเกิดขึ้นกับใครบ้าง?

  เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) มีอาการอย่างไร?

  เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) เกิดจากอะไร?

  สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) แก้ปัญหาเส้นเลือดขอดได้อย่างไร? 

  เคล็ดลับดูแลเรียวขาให้เนียนใส

  ผิวพรรณสดใสด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract)


เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) มักเกิดขึ้นกับใครบ้าง?

     เส้นเลือดขอด (Varicose veins) เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับหลายคน โดยพบว่าผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และมักเกิดกับหญิงที่ผ่านการตั้งครรภ์ คนอ้วน คนที่มีอาชีพยืนหรือนั่งนานๆ เช่น ครู นางพยาบาล แอร์โฮสเตส พนักงานขายหรือพนักงานต้อนรับ พนักงานออฟฟิศ ช่างเสริมสวย และคนที่สวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำ มีรอยขยุกขยิกของเส้นเลือดขอดอยู่บนเรียวขาอันสวยงาม อาจไม่เป็นที่ต้องตา ตรึงใจแก่ผู้ที่พบเห็นและยังทำให้เกิดความไม่มั่นใจในบุคลิกภาพและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) มีอาการอย่างไร?

     เส้นเลือดขอด (Varicose veins) มักพบบริเวณขาและเรียวน่อง มีลักษณะเส้นเลือดดำโป่งขด เป็นแนวยาวคดเคี้ยว หงิกงอคล้ายงู สังเกตุเห็นเส้นเลือดบริเวณผิวหนังเป็นรูปตาข่ายคล้ายใยแมงมุม (Spider web) อย่างชัดเจน
     อาการเริ่มต้นของเส้นเลือดขอด เป็นอาการหลอดเลือดดำมีความผิดปกติ โป่งพองขึ้น โดยลิ้นเปิด-ปิดของหลอดเลือดดำ ซึ่งทำหน้าที่ ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เริ่มเสื่อมสภาพจนเกิดความผิดปกติของลิ้นและผนังหลอดเลือดเกิดขึ้น เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้หมด ทำให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ไม่ดีจึงเกิดการคั่ง และเกิดการขยายตัวของเส้นเลือด จนในที่สุดโป่งพองออกจนกลายเป็นเส้นเลือดขอด เห็นชัดเจนบริเวณใต้ผิวหนัง ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ต้นขา มีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ เหมือนใยแมงมุม (Spider web)


เส้นเลือดขอด (Varicose Veins) เกิดจากอะไร?

     สาเหตุการเกิดเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) มีปัจจัยมาจากอนุมูลอิสระมาทำลายลิ้นเปิด-ปิดของหลอดเลือด และหลอดเลือดดำไม่แข็งแรง เนื่องจากชั้นคอลลาเจนที่ผนังหลอดเลือดเริ่มเสื่อมสภาพนั่นเอง จึงทำให้เกิดการคั่งของเลือดดำ

สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) แก้ปัญหาเส้นเลือดขอดได้อย่างไร? 

     ด้วยบทบาทการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรงของ OPC จึงป้องกันการเสื่อมสลายของคอลลาเจน บริเวณผนังหลอดเลือดและชั้นใต้ผิวหนัง เพิ่มความแข็งแรงให้กับคอลลาเจน และยับยั้งเอ็นไซม์ที่ทำลายคอลลาเจน บริเวณหลอดเลือด ได้แก่ เอ็นไซม์คอลลาจิเนส (Collagenase) ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) อีลาสเตส (Elastase) ซึ่งจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง และเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้สารสกัดจากเมล็ดองุ่น มีคุณสมบัติในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเส้นเลือดขอดระยะเริ่มต้น (Spider leg) ได้เป็นอย่างดี โดยแนะนำให้รับประทานวันละ 150 มิลลิกรัม และยังพบว่าในงานวิจัยมีการใช้ในปริมาณวันละ 150 มก.เป็นระยะเวลา 1 เดือน สามารถลดอาการปวดได้ (คลิกที่นี่ มีเคล็ดลับขาสวยไร้เส้นเลือดขอดมาบอก)
 

เคล็ดลับดูแลเรียวขาให้เนียนใส

1.  ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและเป็นประจำ เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด
2.  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ เพราะน้ำหนกตัวที่มากจะมีผลต่อการหมุนเวียนเลือด
3.  หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ โดยเฉพาะการนั่งท่าไขว้ขา เนื่องจากท่านั่งไขว้ขามีผลต่อการไหลเวียนเลือดช้าลง
4.  ควรมีการเดินเร็วสลับการยืนบ้าง เพราะการเดินช่วยให้กล้ามเนื้อขาหดตัว บีบเลือดดำกลับขึ้นสู่หัวใจได้
5.  การนอนยกเท้าสูงเหนือระดับหัวใจครั้งละ 15 นาที ช่วยให้เลือดในเส้นเลือดดำไหลกลับสู่ร่างกายส่วนบนได้ดีขึ้น
6.  ฝึกกล้ามเนื้อขาและน่อง เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยในการหมุนเวียนเลือด
        ในขณะนั่งทำงาน ควรกระดกข้อเท้าขึ้นและลงติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ให้กล้ามเนื้อน่องเกร็งและคลายตัวสลับกัน
        การงอและเหยียดกล้ามเนื้อส่วนขา เช่น นอนหงายงอเข่าจรดอก  นอนตะแคงงอเข่าพร้อมกับดึงส้นเท้าชิดสะโพก  นั่งเหยียดขาตรงแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นพร้อมก้มตัว แตะปลายเท้า เป็นต้น
        ยืนตัวตรง เขย่งเท้าขึ้นช้าๆ ลงช้าๆ ทำ 3 ชุดๆ ละ 10 ครั้ง
        ควรใช้บันไดแทนการขึ้นลิฟต์ และเดินเร็ววันละ 30 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง


ผิวพรรณสดใสด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract)

     นอกเหนือจากแก้ปัญหาเรื่องเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) ด้วยฤทธิ์การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระแล้วนั้น ยังมีคุณสมบัติปกป้องเซลล์ผิว ยับยั้งเอ็นไซม์ที่ทำลายคอลลาเจนใต้ผิว อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย ทำให้หลอดเลือดฝอยแข็งแรง เส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนที่ดี สามารถนำสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ผิวได้ดี ช่วยเพิ่มความแข็งและความยืดหยุ่นของคอลลาเจนและอีลาสติน จึงช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความยืดหยุ่น และดูกระจ่างใส มีน้ำมีนวล ดูมีเลือดฝาด นอกจากนี้ยังปกป้องผิวจากรังสียูวี ป้องกันริ้วรอย ฝ้า กระได้ โดยการได้รับปริมาณวันละ 50 มิลลิกรัม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเซลล์ต่างๆของร่างกาย

     ยิ่งกว่านั้นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) ยังมีบทบาทเกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอย ป้องกันหลอดเลือดแตกเปราะ และยังเสริมประสิทธิภาพของการดูดซึมวิตามินซีได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเครื่องสำอาง ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายรูปแบบ  ควรเลือกทานให้ได้ตามขนาดที่แนะนำตามปัญหาสุขภาพ เพื่อให้ร่างกายจะได้รับสารสำคัญได้อย่างมีประสิทธภาพ

 


ขอบคุณข้อมูลจาก : 

1.  Mccaleb Rs.et.al, The Encyclopedia of popular herbs. (CA prima publishing,2000) 229-235

2.  Oligomeric proanthocyanidin, Wikipwdia,the free encyclopedis, Healthnotes

3.  นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์   ศัลยแพทย์  http://www.thaiclinic.com/varicose.html

4.  บทความเรื่องเส้นเลือดขอด ของ น.พ.ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล โรงพยายามรามาธิบดี

5.  http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/เส้นเลือดขอด

6.  Bratram S. and Kroll D,Clinical Evolution of Medicinal Herbs and other Thrapeutic atural product (CA prima publishing,1999)1-5

7.  Joseph E.Pizzorno Jr ND, Michael T. Murray ND, Textbook of Natural Medicine Volume1, 106, page 899-901

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้