2 สารอาหารประโยชน์ไม่ธรรมดา 'เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์'

2 สารอาหารประโยชน์ไม่ธรรมดา 'เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์'

ค่านิยมของคนไทยส่วนใหญ่นิยมทำให้ผิวขาวกันมากขึ้น แต่หารู้ไม่ว่าผิวขาวที่หลายๆคนปรารถนานั้นยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่า ผิวที่ขาวขึ้นจะไวต่อรังสียูวีมากขึ้นนั่นเอง ประกอบกับสภาวะอากาศเมืองไทย เริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะช่วยฤดูร้อน จะยิ่งมีรังสียูวีที่เข้มกว่าช่วงฤดูอื่นๆอีก นั่นหมายความว่า ถ้าป้องกันไม่เพียงพอ ก็จะเกิดการทำลายผิวหนังได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

    รังสียูวี เป็นตัวก่อปัญหาสร้างอนุมูลอิสระได้ง่าย เป็นตัวการหลักที่ทำลาย 
         เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย แม้กระทั่งเซลล์ผิวจนก่อเกิดมะเร็งผิวหนังได้  ซึ่งอันตรายจากรังสียูวี (อัลตร้าไวโอเลต) ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หลายอย่าง เช่น
    ผลต่อผิวพรรณ
     รังสี UV ทำลายเซลล์ผิวหนังให้ตายจนหลุดลอกออกมา, ทำลายคอลลาเจนส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังเสียไป, ผิวหนังแห้งเหี่ยวกลายเป็นริ้วรอย นอกจากนี้ยังทำลาย DNA ทำให้พันธุกรรมเซลล์ผิวหนังเปลี่ยนไปและสามารถที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
    ผลต่อภูมิคุ้มกัน
     ทำลายโครงสร้างของเซลล์ เกิดอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ต่างๆร่างกาย จนเกิดความเสื่อมสภาพของเซลล์
    ผลต่อดวงตา
     เกิดอันตรายกับเนื้อเยื่อต่างๆ ของดวงตา ตั้งแต่หนังตาชั้นนอกสุดที่ทำให้เกิดรอยตีนกา ไปจนถึงชั้นในสุด โรคตาที่เกิดจากการทำลายของแสงได้แก่ ต้อลม ต้อเนื้อ กระจกตาเป็นฝ้า ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ

        ปัจจุบันสุขภาพร่างกายของคนเรามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากมาย ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนลืมใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง ถึงเวลาที่ทุกคนควรจะหันมาดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากในการดูแลรักษาสุขภาพ คือ การรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีการค้นพบคุณค่าสารอาหารธรรมชาติที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและผิวพรรณเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์

    คาร์โรทีนอยด์(Carotenoid) 
เป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่มีอยู่ในพืชผัก ผลไม้ ที่ทำให้มีสีแดง สีส้ม สีเขียว และสีเหลือง เช่น แครอท แคนตาลูป ผักโขม ฟักทอง สาหร่าย ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ สารกลุ่มคาร์โรทีนอยด์มีมากกว่า600 ชนิด แต่มีเพียงแค่ 6 ชนิดที่ร่างกายนำมาใช้ในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อ ที่รู้จักกันดีคือ เบต้าคาร์โรทีน (Beta-carotene)ซึ่งมีฤทธิ์สูงสุด นอกจากนั้นได้แก่ อัลฟาคาร์โรทีน (Alpha-carotene) คริปโตแซนทิน (Cryptoxanthin) ไลโคปีน (Lycopene) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทิน (Zeaxanthin) โดยคาร์โรทีนอยด์แต่ละชนิดจะทำงานสนับสนุนกันในการออกฤทธิ์เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ดังนั้นนอกจากเราจะต้องรับประทานผักผลไม้ในปริมาณสูงแล้ว ยังต้องให้ได้หลายหลายชนิด เพื่อให้ได้คาร์โรทีนอยด์ครบอีกด้วย

    หน้าที่สำคัญของเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์
           ป้องกันรังสี UV จากแสงแดด
            เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวอักเสบ ร้อนแดง ผิวไหม้แดด ผิวหยาบกร้าน หมองคล้ำ และไม่สดใส การได้รับเบต้าคาร์โรทีนเป็นประจำจะช่วยปกป้องผิวพรรณที่อาจเกิดอันตรายจากแสงแดดดังกล่าวได้
           ช่วยในการต้านสารอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
             อนุมูลอิสระเป็นสารที่เกิดขึ้นในร่างกายตลอดเวลา ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความเครียด ปฏิกิริยาต่างๆ หรืออาจถูกกระตุ้นให้เกิดมากขึ้นจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด มลภาวะ บุหรี่ พบว่า เบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์มีคุณสมบัติในการทำลายอนุมูลอิสระได้อย่างดี จึงช่วยปกป้องเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยะต่างๆ ของร่างกายจากอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุสำคัญนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรัง เช่น การแก่ก่อนวัย โรคมะเร็ง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าหากรับประทานเบต้าคาร์โรทีนร่วมกับวิตามินอีและวิตามินซี จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้เบต้าคาร์โรทีนสามารถให้ผลกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานในร่างกายให้มีประสิทธิภาพการทำงานต้านสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น

    เปลี่ยนเป็นวิตามิน เอ เมื่อร่างกายต้องการ
         'เบต้าคาร์โรทีน' จัดว่าเป็นสารอาหารที่ความสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่ร่างกายได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ ซึ่งวิตามินเอมีความสำคัญมากต่อดวงตาในการช่วยให้เรามองเห็นในที่มืด ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน (Night blindness) ป้องกันการเกิดต้อกระจก พบว่าเบต้าคาร์โรทีนจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ดีเท่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นเบต้าคาร์โรทีนจึงช่วยการมองเห็นในที่มืด ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน ลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก และชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา

    ทำไมจึงต้องเสริมเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์
         เนื่องจากร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารหรือวิตามินเสริมเท่านั้น ในแต่ละวัน เรามักได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์ที่ได้จากอาหารมีการดูดซึมไม่แน่นอน เบต้าแคโรทีนจะถูกทำลายได้โดยง่าย จากความร้อนในการประกอบอาหาร หรือกรณีที่ได้จากอาหารที่ไม่ผ่านการปรุง จะมีการดูดซึมได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจะมีการจับตัวกับสารโพลีแซคคาไรด์และโปรตีนในรูปสารประกอบเชิงซ้อน  อีกทั้งร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมเบต้าแคโรทีนไว้ได้เพียง ร้อยละ 25-27 เท่านั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคได้นั่นเอง ประกอบกับบางคนไม่ชอบบริโภคผัก หรือผลไม้ ทำให้มีโอกาสขาดสารอาหารดังกล่าวมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากเบต้าคาร์โรทีน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ศาสตราจารย์ แอนโทนี ดิพล็อก แนะนำให้รับประทานเบต้าคาร์โรทีน วันละ 15 มิลลิกรัม
         นอกเหนือจากผักและผลไม้ซึ่งเป็นแหล่งของเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์แล้วนั้น ในปัจจุบันมีการพัฒนาสารสกัดจากสาหร่ายดีซาลีนา ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบคุณภาพสูงที่อุดมด้วยเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์ผสมกัน ซึ่งช่วยการทำงานร่วมกันทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ใครบ้างที่ควรได้รับเบต้าคาร์โรทีนและคาร์โรทีนอยด์เพิ่มเติม

  • ผู้ที่ต้องการปกป้องผิวจากแสงแดด'
  • ผู้ที่ต้องการดูแลผิวพรรณ ยังพบว่าเบต้าคาร์โรทีนส่งผลให้เซลล์ผิวที่สร้างขึ้นมาใหม่มีสุขภาพผิวที่ดีด้วย
  • ผู้ที่ต้องการชะลอความเสื่อมของเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ใช้ร่วมกับวิตามินอีและวิตามินซี ยิ่งเสริมประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการป้องกันโรคอันเนื่องจากความเสื่อมของอวัยวะ โดยเฉพาะดวงตา
  • ผู้ที่ต้องการบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
    ขนาดรับประทานที่แนะนำ : รับประทาน วันละ 15-30 มิลลิกรัม หลังอาหาร

ตัวอย่างผลการศึกษาประโยชน์ของเบต้าคาร์โรทีน
  • การศึกษาในผู้ใหญ่ 36 คน ที่รับประทานเบต้าคาร์โรทีน ซึ่งสกัดจากสาหร่ายดีซาลีนา หรือคาร์โรทีนอยด์ผสม วันละ 24 มิลลิกรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้เช่นเดียวกัน
  • มีงานวิจัยทางการแพทย์ ในการทดลองจากกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 20คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม และให้ทาน Natural Betacarotene 30 มก/วัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และตากแดดภายใต้การควบคุมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (ทาครีมกันแดดตามปกติ) พบว่ากลุ่มที่ทาน Natural Betacarotene มีอาการผิวหนังแดงเนื่องจากโดนแดดน้อยกว่า
  • การศึกษาในผู้หญิงอายุ 29,000 คน ที่ได้รับเบต้าคาร์โรทีนสัปดาห์ละ 7,000 ไมโครกรัม ในระหว่างการตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตาบอดกลางคืนได้ถึง 50 %
  • การศึกษาในอาสาสมัคร 52 คน ที่ได้รับเบต้าคาร์โรทีน วิตามินอี และวิตามินซี พบว่าสามารถปกป้องเซลล์เม็ดเลืองแดงจากการทำลายด้วยอนุมูลอิสระได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้