ดวงตา คืออวัยวะสำคัญที่ช่วยในการมองเห็น ซึ่งในปัจจุบัน ด้วยไลฟ์สไตล์ในแต่ละวันที่ทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน และปัจจัยรอบข้าง เช่น แสงแดด และมลภาวะ ทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นที่สายตาและการมองเห็น โดยเฉพาะอาการตาพร่ามัว
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดคืออะไร
ตาพร่ามัวมีอาการอย่างไร
กลุ่มอาการอื่นๆ ของ Computer Vision Syndrome
วิธีป้องกันอาการตาพร่ามัว
สารอาหารสำคัญ ช่วยบำรุงดวงตา
ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด คือหนึ่งในอาการของ Computer Vision Syndrome (CVS) หรือกลุ่มอาการเกี่ยวกับการมองเห็นที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น โทรศัพท์ และโทรทัศน์ เป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น เช่น ความเสื่อมตามวัยของกระจกตา จอประสาทตา และเส้นประสาทตา รวมถึงตาแห้งเกินไป หรือบาดเจ็บบริเวณดวงตา ซึ่งหากปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดโรคตาอื่นๆ ตามมา เช่น ต้อกระจก และต้อหิน
มองเห็นสิ่งต่างๆ ตรงหน้าไม่ชัดเจน หรือมองไกลไม่ชัด คล้ายกับสายตาสั้นเพิ่มขึ้น
มองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นภาพเบลอ โดยอาจเกิดได้กับดวงตาทั้ง 2 ข้าง
อาจพบความผิดปกติในส่วนต่างๆ ร่วมด้วย เช่น กระจกตา จอประสาทตา หรือเส้นประสาทตา
ตาสู้แสงลำบาก ไม่สบายตา
ตาล้า
กล้ามเนื้อบริเวณตา มีอาการล้า
ตาหนัก ดวงตาอ่อนล้า
ตาโฟกัสช้า
ปวดกระบอกตา
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา
กล้ามเนื้อเกร็งมาก ลามไปบริเวณอื่น เช่น ใบหน้า คอ บ่า ไหล่
ปวดไมเกรน
ตาแห้ง
ระคายเคืองตาเหมือนมีเศษผงอยู่ในดวงตาตลอดเวลา
คันตา
แสบตา น้ำตาไหล
1. พักสายตาเป็นระยะ
โดยใช้กฎ 20-20-20 คือพักสายตาจากหน้าจอทุก 20 นาที ด้วยการมองออกไปที่ระยะ 20 ฟุต (หรือไกลกว่านั้น) เป็นเวลาประมาณ 20 วินาที เพื่อเป็นช่วยให้สายตาได้ผ่อนคลาย
2. ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์
เพื่อไม่ให้แสงจ้ามากเกินไป ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความสว่างภายในห้องทำงานเป็นปัจจัยสำคัญด้วย นอกจากนี้สามารถใส่แว่นตากรองแสงคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยลดแสงเข้าดวงตา ทำให้รู้สึกสบายตายิ่งขึ้น
3. กำหนดระยะห่างระหว่างสายตากับจอคอมพิวเตอร์
โดยจัดท่าทางการนั่งทำงานให้มีระยะห่างของจอกับดวงตาประมาณ 40-50 ซม. และควรให้จุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
4. กะพริบตาบ่อยๆ
จะเป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ป้องกันตาแห้งและอาการระคายเคือง
5. สวมแว่นกันแดด
เนื่องจากในแสงแดดประกอบไปด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งหากรังสีชนิดนี้กระทบกับดวงตามากเกินไปก็ส่งผลกับดวงตาได้เช่นกัน
6. กินอาหารที่มีประโยชน์
เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น โกจิเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ หรือมัลเบอร์รี่ ผักใบเขียวต่างๆ รวมถึงสาหร่ายทะเลสีแดง กุ้ง ปู และปลาแซลมอน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระจากกลุ่มของแคโรทีนอยด์ที่บำรุงดวงตา
1. ลูทีน และซีแซนทีน (Lutein & Zeaxanthin)
ช่วยกรองแสงสีฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาซึ่งเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา นอกจากนี้ลูทีน ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยในแต่ละวันควรกินลูทีนในปริมาณ 10 มก. และซีแซนทีนในปริมาณ 2 มก.
2. แอสตาแซนทีน (Astraxanthin)
จากการศึกษาวิจัยเผยว่า การกินแอสตาแซนทีน 6 มก.ต่อวัน จะช่วยลดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อสายตาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ช่วยให้การมองเห็นภาพชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง จึงช่วยลดอาการตาล้า ตาพร่ามัว และชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม
ขอบคุณข้อมูลจาก
พบแพทย์
จุฬารัตน์ 9
ฐานข้อมูลของ MEGA We care