ข้อควรระวังของน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาแซลมอน

ข้อควรระวังของน้ำมันปลาที่สกัดจากปลาแซลมอน

 อยากทานน้ำมันปลา ต้องเลือกปลาชนิดใด

     คำถามนี้มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเลือกซื้อน้ำมันปลา ซึ่งส่วนใหญ่จะนึกถึง “น้ำมันปลาที่สกัดจากปลาแซลมอน” เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นปลาที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ก่อนทานควรคำนึงถึงอะไรบ้างและอะไรคือสิ่งที่ต้องระวัง

แหล่งของวัตถุดิบ

     ในปัจจุบันปลาแซลมอนที่นำมาทำน้ำมันปลามีอยู่ 2 แหล่งหลักๆ คือ จากแหล่งธรรมชาติ ตามน่านน้ำต่างๆ และจากฟาร์มเลี้ยงที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับและแตกต่างในเรื่องของความปลอดภัย

     เนื่องจากปลามาจากแหล่งที่ต่างกัน ซึ่งหากเลี้ยงในฟาร์มจะได้คุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าเพราะผู้เลี้ยงสามารถกำหนดชนิดของอาหารที่ให้ได้ คุณค่าทางโภชนาการของปลาจึงเป็นไปตามชนิดของอาหารที่ให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่แล้ว แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้เลี้ยงได้ใส่สารอะไรเพื่อเลี้ยงหรือได้ฉีดสารบางชนิดเพื่อควบคุมโรคหรือไม่ ปลาแซลมอนจากฟาร์มจึงมีความเสี่ยงเรื่องสารพิษมากกว่าปลาแซลมอนจากแหล่งธรรมชาตินั่นเอง

คุณค่าทางโภชนาการ

     คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมันปลาจากปลาแซลมอนแต่ละแหล่งที่มามีคุณค่าต่างกันโดยปลาแซลมอนที่เลี้ยงจากฟาร์มจะมีไขมันอิ่มตัวหรือกรดไขมัน Omega-3 และ 6 ที่มากกว่าถึง 46% ในทางกลับกันแซลมอนจากธรรมชาติจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญอย่างโพแทสเซียม สังกะสี และเหล็กที่มากกว่า

สารพิษที่อาจเจือปนในปลา

     ในปัจจุบันพบว่าสารพิษมีโอกาสพบในแซลมอน ไม่ว่าจากแหล่งน้ำหรือจากฟาร์ม แต่ปลาแซลมอนจากฟาร์มจะมีสารพิษเจือปนในระดับสูงกว่าปลาแซลมอนจากธรรมชาติ ซึ่งสารพิษส่วนใหญ่ที่พบคือ

       สาร PCB (Polychlorinated Biphenyls) : สาร PCB เป็นสารพิษที่มีโอกาสปนเปื้อนในแหล่งน้ำที่ไม่ได้มีการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ เมื่อ ร่างกายได้รับสารพิษนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอ อีกทั้งเป็นสารก่อมะเร็งด้วย

       สารปรอท (Mercury) : สารพิษชนิดนี้จะส่งผลเสียกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งในแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

       สารหนู (Arsenic) : สารหนูเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และมะเร็งผิวหนัง

       สารตะกั่ว (Lead) : สารชนิดนี้เป็นอีกสารพิษหนึ่งที่เป็นสารที่อันตรายต่อร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียทั้งระบบประสาทและ ระบบทางเดินหายใจ

     นอกจากนี้หากเป็นปลาแซลมอนที่มาจากฟาร์มส่วนใหญ่จะมีจำนวนปลาที่หนาแน่น เป็นสาเหตุให้ปลาติดเชื้อหรือไวต่อโรคมากกว่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใส่ยาปฏิชีวนะเข้าไปช่วย เพื่อควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

     อย่างไรก็ตาม ในท้องตลาดยังมีน้ำมันปลาที่ทำจากปลาชนิดต่างๆ มากมายให้เลือกสรร เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน หรือปลาแองโชวี ที่มีกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA ในอัตราส่วน 18 : 12 ที่เป็นสัดส่วนที่สมดุลและตรงตามผลวิจัยทางการแพทย์ว่าช่วยบำรุงสมอง สายตาและช่วยลดเสี่ยงโรคที่มีสาเหตุจากไขมันในเลือดสูงได้ ทั้งนี้การเลือกน้ำมันปลาที่ได้มาตรฐานการผลิตในระดับยาสากลและมีความปลอดภัย โดยควรได้รับการรับรองจาก GMP เช่น BfArM จากประเทศเยอรมัน และ TGA จากประเทศออสเตรเลีย จึงจะมั่นใจได้ว่าไร้สารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคอย่างแน่นอน ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://omega3innovations.com/blog/fish-oil-salmon-oil-cod-liver-oil-krill-oil-whats-the-difference/
https://www.gourmetandcuisine.com/stories/detail/893

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้