ดื่มหนัก ต้องพักตับ

ดื่มหนัก ต้องพักตับ

     จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ข้อมูลและจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ซึ่งการวิจัยของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ได้ระบุว่า คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ในปริมาณเฉลี่ย 7.1 ลิตร ต่อคน ต่อปี เทียบเท่ากับการดื่มเบียร์ 226 ขวดต่อปี และสุราหรือเหล้าสี 25 ขวดต่อปี

     พฤติกรรมการดื่มของคนไทยโดยมากเป็นการดื่มในปริมาณที่เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและการเกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นการดื่มที่เรียกได้ว่าดื่มหนัก ซึ่งระดับความถี่ในการดื่มจัดเป็นผู้ที่ดื่มเป็นประจำร้อยละ 42.4 และผู้ที่ดื่มนาน ๆ ครั้งหรือดื่มตามโอกาสพิเศษร้อยละ 57.6

     แม้ว่าหลายคนอาจให้เหตุผลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าเป็นกิจกรรมในการเข้าสังคมหรือผ่อนคลายความเครียด แต่ในอีกมุมหนึ่งพฤติกรรมการดื่มนี้ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

       ผลระยะสั้น เกิดภาวะมึนเมา เสี่ยงอุบัติเหตุ แน่นอนว่าในช่วงเวลาเริ่มต้นของการดื่มสุรา อาจช่วยสร้างอรรถรสในการพูดคุยและเพิ่มความสนุกสนานในวงสนทนา แต่หลังจากนั้น ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดความสับสนมึนงง มีอาการง่วงซึม อาจหมดสติ วูบหลับ และนำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้ในที่สุด

      ผลระยะยาว การดื่มเครื่อดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วยตามมา เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์ของอวัยวะที่ไหลผ่าน และมีอวัยวะสำคัญที่ได้รับผลกระทบนั่นคือ ตับ หากดื่มในปริมาณมากติดต่อกัน ตัะบจะต้องทำหน้าที่ขับสารพิษอย่างหนัก ส่งผลให้ตับอักเสบ เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับตามมา ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป...

     ดังนั้นหากคุณรักในการดื่ม ก็อย่าลืมพักตับเสียบ้าง หมั่นล้างสารพิษและหาตัวช่วยดี ๆ ในการดูแลตับตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความสุขในการดื่มจะย้อนกลับมาสร้างความทุกข์ใจให้คุณในอนาคต


ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://resourcecenter.thaihealth.or.th/files/7/Manual/Final%20เนื้อหาอ่านประกอบสื่อ%20สุราคือยาเสพติด.pdf

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้