อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ควรเฝ้าระวังและเอาใจใส่มากที่สุด คือ สุขภาพ เพราะการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะ 10 โรคที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ดังนี้
โรคตา
ไม่ว่าจะเป็นโรคต้อกระจก ต้อหิน และจอประสาทตาเสื่อมก็นับเป็นโรคที่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุจำนวนมาก ด้วยปัจจัยการเกิดโรคตาที่สะสมมาตั้งแต่วัยเรียนและวัยทำงาน เช่น การใช้สายตาจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนต่อนื่องกันเป็นระยะเวลานาน การอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้าทำให้ดวงตากับแสงยูวีบ่อยครั้ง หรือแม้แต่ภาวะความดันสูงและโรคเบาหวาน ประกอบการที่เซลล์ในดวงตาเสื่อมสภาพไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นจึงทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากเป็นโรคตานั่นเอง
โรคไต
โดยปกติแล้วเมื่ออายุเพิ่มขึ้นไตจะมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ความสามารถในการกำจัดของเสียและการทำงานของไตลดลงตามไปด้วย ยิ่งถ้ามีพฤติกรรมการทานอาหารรสจัดมาเป็นเวลานานหรือเป็นโรคเบาหวานจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต นำมาสู่ภาวะไตเสื่อมและไตวายในที่สุด
โรคมะเร็ง
คือโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้สูงอายุ และที่น่ากังวลที่สุดก็คือผู้ป่วยมักจะพบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งเมื่อมีอาการรุนแรงแม้ก่อนหน้านี้จะมีสุขภาพที่แข็งแรงก็ตาม เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ในร่างกายที่เสื่อมสภาพจะมีการกลายพันธุ์ นอกจากนี้การทานอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้นด้วย
โรคหลอดเลือดหัวใจ
เกิดจากการสะสมของไขมันคอเลสเตอรอลภายในหลอดเลือด จนหลอดเลือดตีบและอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปลี้ยงหัวใจได้จนเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายได้ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจนี้มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง ความเครียด และการสูบบุหรี่
โรคหลอดเลือดสมอง
มักพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยมากมักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดหรืออาจมีสาเหตุเช่นเดียวกันกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้สมองขาดเลือด หลอดเลือดตีบ แตก ตันและอันตรายถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
โรคข้อเสื่อม
เป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณ ‘ข้อเข่า’ สาเหตุของข้อเสื่อมมักเกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดแรงกดบริเวณข้อ เช่น นั่งวิ่งมาราธอน ผู้ที่นั่งพับเพียบนาน ๆ หรือเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อย ๆ สาเหตุเหล่านี้ส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อสึกหรอและเกิดโรคกระดูกเสื่อม สร้างความเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวเพราะข้อเข่าฝืดและติดขัด อาจมีการอักเสบ บวมแดง ในระยะยาวข้อเข่าจะคดงอผิดรูปจนไม่สามารถเดินได้
โรคเบาหวาน
เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความรุนแรงของโรคเบาหวานจะเกิดขึ้นในระยะยาวเพราะจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคตา และโรคไต ตามมาได้ด้วย
โรคเกาต์
เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อต่าง ๆ จนเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งกรดยูริกที่สะสมในร่างกายนั้นมักเกิดจากการทานอาหารประเภทเนื้อเป็ด เนื้อไก่ และเครื่องในสัตว์เป็นประจำ เพราะอาหารเหล่านี้มีสารพิวรีนปริมาณสูง และเมื่อสารพิวรีนเข้าสู่ร่างกายจะถูกเผาผลาญกลายเป็นกรดยูริกในเลือดนั่นเอง
โรคกระดูกพรุน
เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป แคลเซียมในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง ความหนาแน่นของมวลกระดูกจึงน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย โดยมากผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากไม่มีอาการที่ชัดเจนจนเมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงจะตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ โรคกระดูกพรุนจึงเป็นภัยเงียบที่ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องทุพพลภาพและไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เป็นโรคปอดอักเสบชนิดหนึ่ง จัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันอับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก สาเหตุหลักเกิดจากมลพิษทางอากาศและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบลง เนื้อปอดและหลอดเลือดปอดอักเสบ จนในที่สุดปอดจึงไม่สามารถทำงานได้
โรคภัยไข้เจ็บทั้งหมดนี้คือสิ่งที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงอายุ ดังนั้นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดของการสร้างพื้นฐานการมีสุขภาพดี คือ การเติมสารอาหารสำคัญเข้าสู่ร่างกายด้วยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะสารอาหารประเภท ‘โปรตีน’
แต่การเติมโปรตีนเข้าสู่ร่างกายด้วยการทานเนื้อสัตว์ อาจไม่เหมาะนักสำหรับกับระบบทางเดินอาหารของผู้สูงวัย เพราะข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้ระบุไว้ว่า ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทั้งในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหารที่ไม่สมบูรณ์ ความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลง อีกทั้งลำไส้ยังดูดซึมโปรตีนได้ลดลงด้วย MEGA We care จึงขอแนะนำ ‘เวย์โปรตีนไอโซเลต’ ที่ให้โปรตีนให้แก่ร่างกายได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ไร้ไขมันและน้ำตาล ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย รวมถึงช่วยในการฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออีกด้วย
เพราะของขวัญที่ดีที่สุดที่ผู้สูงวัยควรได้รับ คือ สุขภาพที่ดีที่ลูกหลานมอบให้ ...
ด้วยความห่วงใยจาก Immuplex_MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-ผู้สูงอายุ/ยิ่งอายุมากขึ้น…-ยิ่งต้องดูแลตัวเอง
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2017/12-nutrition-for-elderly
https://thestandard.co/elderly-people-sleepless/
http://www.sukumvithospital.com/healthcontent.php?id=49
https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/10-Disease-in-Elderly
https://www.thaihealth.or.th/Content/46795-โรคมะเร็งกับผู้สูงอายุ%20หมอเผยเซลล์เสื่อมทำเสี่ยง.html
https://www.thaihealth.or.th/Content/40299- หลัก%2010%20อ.%20การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ.html