เคยสงสัยไหม? ผู้ชายเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นแล้วมักจะ ‘อ้วนลงพุง หน้าท้องยื่น’ และสาเหตุของปัญหานี้นอกจากจะมาจากระบบเผาผลาญที่ลดลงเนื่องจากอายุที่มากขึ้น การทานอาหารที่มีไขมันสูง และไม่ชอบออกกำลังกายแล้ว การอ้วนลงพุงก็มีปัจจัยมาจากฮอร์โมนที่ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ชายหลายคนขาดความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนกับเพศชาย
‘ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน’ เป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีความสำคัญต่อร่างกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงความต้องการทางเพศ การผลิตของสเปิร์ม การงอกของเส้นขนและเส้นผม เมื่อผู้ชายมีอายุเข้าสู่เลข 3 ระดับฮอร์โมนของเพศชายจะเริ่มลดลง ซึ่งการ ‘อ้วนลงพุง’ หลายคนอาจเข้าใจว่าเกิดจากการที่รับประทานอาหารที่ให้ไขมันสูงเพียง อย่างเดียว แต่ในความจริงแล้วการอ้วนลงพุงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศชาย โดยเมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยลง และยิ่งมีฮอร์โมนชนิดนี้น้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้อ้วนลงพุงได้เท่านั้น นอกจากนี้การที่ผู้ชายมีฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำลงยังเป็นสาเหตุของอาการอื่น ๆ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ปริมาณอสุจิที่น้อยลง อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
เคล็ดลับเพิ่มเทสโทสเตอโรนอย่างเป็นธรรมชาติ
หากคุณมีอายุขึ้นแต่ยังอยากมีรูปร่างที่ดี MEGA We care มีเคล็ดลับในการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายอย่างเป็นธรรมชาติดังนี้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้ร่างกายเป็นแข็งแรง เผาผลาญไขมัน และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่าง ๆ ได้แล้ว การออกกำลังกายยังช่วยในการบูสต์ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยเฉพาะการออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก (Weight lifting) และออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา (HIIT-High Intensity Interval Training) เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ดีในการเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
ผ่อนคลายความเครียด
ความเครียดในระยะยาวจะเพิ่มระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หากฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มขึ้นอย่างไม่ปกติจะทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเราสามารถผ่อนคลายความเครียดด้วยการนั่งสมาธิ ดูหนัง ฟังเพลง หรือออกกำลังกาย เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนให้เหมาะสม เพราะไม่เพียงฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำลงจะส่งผลให้อ้วนลงพุงด้วย ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงขึ้น ยังไปเพิ่มความอยากอาหารทำให้ทานมากขึ้นกว่าปกติและอ้วนขึ้นได้อีกด้วย
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับถือเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักใช้เวลาหมดไปกับการทำงานและกิจวัตรอื่นๆ จนทำให้พักผ่อนน้อยกว่า 7-9 ชั่วโมง มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA : The Journal of the American Medical Association) ระบุว่าการนอนหลับเพียง 5 ชั่วโมงต่อวันทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลงถึง 15%
ออกไปรับแสงแดด
แม้ว่าแดดประเทศไทยจะร้อนขนาดไหน หากอยากเพิ่มฮอร์โมนเพศชายต้องไม่ลืมที่จะออกไปรับแสงแดดยามเช้าหรือช่วงเย็น เพราะร่างกายของเราสามารถผลิตวิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ซึ่งนอกจากวิตามินดีจะช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อแล้ว วิตามินดียังเป็นวิตามินที่สามารถช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายอย่างเป็นธรรมชาติ
อีกด้วย
ทานอาหารอย่างเหมาะสม
การทานอาหารมีความสำคัญต่อร่างกายของเราพอๆ กับการนอนหลับและการออกกำลังกาย การทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การทานโปรตีน คาร์โปรไฮเดรต และไขมันดีให้เหมาะสมจะช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนและสุขภาพร่างกายในระยะยาว นอกจากนี้ผู้ชายยังควรทานอาหารที่มีแร่ธาตุและวิตามิน ได้แก่ แร่ธาตุกลุ่ม ZMA ที่ประกอบด้วย ซิงค์ (Zinc) และแมกนีเซียม (Magnesium) ซึ่งผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัย Western Washington ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สารอาหารในกลุ่ม ZMA สามารถช่วยเพิ่มและรักษาฮอร์โมนเพศชายตามธรรมชาติได้ถึง 43.7% ‘ซิลิเนียม’ เพราะเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญ ในการสร้างฮอร์โมนเพศชาย และยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัยได้อีกด้วย ‘แอล คาร์นิทีน’ เป็นสารอาหารที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน สร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ โดยแอล-คาร์นิทีนจะนำเอาไขมันมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน ช่วยให้กล้ามเนื้อเฟิร์มกระชับ และสุดท้ายคือ ‘วิตามินบีรวม’ ช่วยสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น
การมีฮอร์โมนเพศชายในระดับที่เหมาะสม เป็นสัญญาณของสุขภาพที่แข็งแรงและแน่นอนว่าสามารถช่วยลดการ ‘อ้วนลงพุง’ได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นจะช่วยลดการอ้วนลงพุงและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจมาตามได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคไขมันพอกตับ
ด้วยความห่วงใยจาก ZEMAX SX_MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :
https://www.healthline.com/nutrition/8-ways-to-boost-testosterone
https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/1029127