รูปร่างที่ดี เป็นสิ่งที่หลายคนปรารถนาไม่ว่าจะอยู่ในเพศหรือวัยใดก็ตาม เพราะจะช่วยสร้างความมั่นใจและส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการมีรูปร่างที่ดีมักเกิดจากวินัยในการดูแลตนเอง ทั้งในเรื่องการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก และการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพที่ดี ป้องกันโรคต่างๆ ที่จะตามมา
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
3 ขั้นตอน ดูแลรูปร่างอย่างถูกวิธี
วิถีชีวิตที่แสนเร่งรีบในปัจจุบันอาจทำให้หลายคนไม่มีเวลามากพอที่จะเลือกสรรอาหารดี ๆ ให้แก่ตัวเองได้ครบทุกมื้อ หรือจัดสรรเวลาในการออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งอาหารและเครื่องดื่มตามกระแสนิยมยังเข้ามามีอิทธิพลต่อการเลือกทานอีกด้วย โดยพฤติกรรมการกินแบบตามใจปากมากเกินไป ส่งผลเสียให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้ และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาในอนาคต
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุไว้ว่า “ในปี 2020 มีประชากรทั่วโลกที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้งสิ้นราว 1,900 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับภาวะโรคอ้วนถึง 650 ล้านคน” โดยสาเหตุของโรคอ้วนส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานที่ได้จากการทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอก็ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพด้วย
โรคอ้วน คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ โดยมีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 30-35 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีรายงานจาก WHO และอิตาลี พบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตส่วนใหญ่คือ “คนที่อ้วนลงพุง” ซึ่งทำให้การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและอาการทรุดอย่างรวดเร็วจากโรคโควิด-19
1. อ้วนลงพุง
เป็นลักษณะที่มีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหารและอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขมันในเลือดสูง
2. อ้วนทั้งตัว
มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยไขมันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้จำกัดว่าอยู่ในตำแหน่งไหนในร่างกาย ซึ่งบางคนสามารถเป็นโรคอ้วนทั้งตัวและเป็นโรคอ้วนลงพุงร่วมด้วย โดยมาพร้อมกับโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ โรคไขข้อ ปวดข้อ ข้อเสื่อม ปวดหลัง และระบบหายใจทำงานติดขัด นอกจากนี้โรคอ้วนยังเป้นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของโรค COVID-19 อีกด้วย
การอดอาหาร เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หลายคนอาจเลือกใช้ควบคุมน้ำหนัก แต่หารู้ไหมว่าการอดอาหารนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีของการดูแลรูปร่าง เนื่องจากจะทำให้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนแล้ว ยังทำให้ระบบการเผาผลาญผิดปกติ และไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างยั่งยืน ซึ่งมักตามมาด้วยร่างกายที่ทรุดโทรม และยังทำให้ทรมานในการลดน้ำหนักอีกด้วย นอกจากนี้การเลือกทานอาหารที่ดีก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะทำได้อย่างสม่ำเสมอทุกมื้อ ดังนั้น MEGA We care จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนที่มาพร้อมกับตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างอย่างจริงจัง ดังนี้
ควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย การจะควบคุมน้ำหนักให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย ดังนั้นตัวช่วยที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักซึ่งไม่มีเวลาออกกำลังกาย
กระชับสัดส่วน เมื่อควบคุมน้ำหนักได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาที่จะช่วยให้รูปร่างดีขึ้นได้นั่นคือ การกระชับสัดส่วน ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมน้ำหนักมีประสิทธิภาพและเห็นความเฟิร์มกระชับของกล้ามเนื้อมากขึ้น สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายบริหารสัดส่วนให้กระชับ และเสริมด้วยตัวช่วย
เสริมสร้างกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ที่อยากให้หุ่นเฟิร์มและมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้นหลังจากควบคุมน้ำหนักได้สำเร็จแล้ว ควรเลือกทาน ‘เวย์โปรตีนคุณภาพสูง’ ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสำหรับผู้ที่รักการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนัก
การหันมาใส่ใจดูแลรูปร่างถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากทำอย่างถูกวิธีและมีสารอาหารดีๆ ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นตัวช่วยควบคู่ไปกับวินัยในการรับประทานและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว นอกจากจะมีรูปร่างดีแล้ว ยังห่างไกลจากโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย เริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในอนาคต…ด้วยความห่วงใยจาก MEGA Wecare
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=561
2. https://www.webmd.com/diet/features/diet-myth-truth-fasting-effective-weight-loss#1
3. https://www.phyathai.com/article_detail/2658/th/อดอาหารหลายวัน_ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
4. https://mgronline.com/around/detail/9640000021519
5. https://www.thaihealth.or.th/Content/23964-รู้ได้อย่างไร...ว่าเป็นโรคอ้วน%20.html