เป็นเบาหวาน ต้องทานอะไรช่วย

เป็นเบาหวาน ต้องทานอะไรช่วย

     รู้หรือไม่…ในแต่ละวัน มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในประเทศไทยสูงถึง 200 ราย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะพฤติกรรมการทานอาหาร และวิถีชีวิตในปัจจุบัน!

     องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเบาหวานว่า ประชากรวัยผู้ใหญ่ทุกๆ 1 ใน 11 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และในทุกปีทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้กว่า 5 ล้านคน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
     สำหรับในประเทศไทย 'โรคเบาหวาน' ถือเป็นโรคที่ใกล้ตัว เพราะในปัจจุบันโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับต้นๆ ของคนไทยโดยจากสถิติพบว่ามีประชากรไทยวัยผู้ใหญ่กว่า 4.8 ล้านคน ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในจำนวนนี้มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับดูแลรักษาแล้วประมาณ 2.6 ล้านคน แต่มีเพียง 0.9 ล้านคนเท่านั้น ที่บรรลุเป้าหมายทางการรักษา
     จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นอกเหนือจากการเข้ารับการรักษาทางการแพทย์แล้ว สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กันคือการมีวินัยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย และด้วยเหตุผลนี้เอง MEGA We care จึงมีความตั้งใจที่จะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้คุณและคนที่คุณรักมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

  สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  ผู้ป่วยเบาหวานต้องรับประทานอาหารอย่างไร?

  เบาหวาน กับโรคแทรกซ้อน

  การป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานทำได้อย่างไร?

ผู้ป่วยเบาหวานต้องรับประทานอาหารอย่างไร?

     ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องพิถีพิถันในเรื่องการเลือกทานอาหารเป็นพิเศษเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอ โดยมีหลักการเลือกทานที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ดังนี้

1.  เลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง
     โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญ ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อใช้ในการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงช่วยต้านอนุมูลอิสระ โดยสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนได้อย่างหลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ นม ถั่วและธัญพืช
     ในปัจจุบันมีการใช้เวย์โปรตีนหรือโปรตีนคุณภาพสูงเพื่อให้คุณประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเวย์โปรตีนสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าโปรตีนชนิดอื่น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลนเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

2.  เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
     เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และไม่ต้องการให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างกะทันหัน การรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งมีดัชนีน้ำตาลต่ำจึงมีประโยชน์ เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จะค่อยๆถูกย่อยสลายกลายเป็นโมเลกุลน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสามารถพบได้ในอาหารจำพวก ธัญพืช ข้าวกล้อง เป็นต้น

3.  เลือกรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดกลาง MCT (Medium-Chain Triglycerides)
     เนื่องจากร่างกายสามารถย่อยอาหารที่ให้ไขมัน MCT ได้เร็ว จึงสามารถนำพลังงานจากไขมันที่ได้ไปใช้ได้ทันที อาหารที่ให้ไขมัน MCT จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องการให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย จนทำให้น้ำหนักเกิน
     ผู้ป่วยเบาหวานมักต้องควบคุมปริมาณอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากคุมไม่ถูกวิธีอาจนำไปสู่ทำภาวะการขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือได้รับสารอาหารผิดไปจากสัดส่วนที่ควรได้รับ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เสริมด้วยสูตรอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ ที่คัดสรรโปรตีนคุณภาพดี คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ มีไขมัน MCT ที่ไม่เกิดการสะสมในร่างกาย และควรผสมโพรไบโอติกสายพันธ์จำเพาะต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อการลดการติดเชื้อและความเจ็บป่วยในผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน กับโรคแทรกซ้อน

     เป้าหมายสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน คือการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การสร้างอนุมูลอิสระ (Oxidants) ในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต่างๆเสื่อมและถูกทำลายลง จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานที่มักเกิดขึ้น มีดังนี้

1.  โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
     เพราะมีโอกาสภาวะหลอดเลือดตีบตันทั้งบริเวณหัวใจและสมอง เกิดหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบได้
2.  เบาหวานขึ้นตา
     เพราะระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจนเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ
3.  โรคไตวายเรื้อรัง
     เพราะปริมาณน้ำตาลในเลือดที่มีมากทำให้ไตทำงานเพิ่มขึ้น
4.  อาการชาตามปลายมือและเท้า
     เพราะระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลายถูกทำลาย
5.  เสี่ยงเกิดแผลเบาหวาน
     เป็นอาการในคนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งรักษาได้ยากกว่าคนปกติเพราะไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง ขณะที่การมีน้ำตาลในเลือดสูงยังส่งผลให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย




การป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานทำได้อย่างไร?

     การป้องกันโรคแทรกซ้อนสามารถทำได้โดย การปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการเลือกสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีสารอาหารหลายชนิดสามารถป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

1.  แอลฟาร์ไลโปอิก แอซิด (alpha lipoic acid)
     จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า แอลฟาร์ไลโปอิก แอซิด (alpha lipoic acid) สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย (Universal antioxidant) เพราะละลายได้ทั้งไขมันและน้ำ โดยทั่วไป alpha lipoic acid พบใน ผักบล๊อกโคลี่ น้ำมันรำข้าว เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงมีสรรพคุณในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะไปเพิ่มความไวของอินซูลิน และลดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยว่ามีส่วนช่วยลดอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย

2.  วิตามินบี 1-6-12
     อาการชาจากปลายประสาทอักเสบ เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยจะมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ทำให้เมื่อผู้ป่วยมีการรับรู้ความรู้สึกบริเวณปลายมือปลายเท้าลดลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ทำให้เยื้อหุ้มประสาทถูกทำลาย และร่างกายขาดวิตามินบี 1-6-12 ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสัญญาณสื่อประสาท ดังนั้นวิตามินบี 1-6-12 จึงเป็นวิตามินที่รักษาอาการชาโดยเฉพาะ และเพื่อให้สามารถรักษาอาการชาจากปลายประสาทอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกทานสูตรที่มีวิตามินบี 12 ที่เป็นรูปแบบเมทิลโคบาลามินปริมาณสูง (500 ไมโครกรัม) ควบคู่กับการรักษาอาการชาที่ต้นเหตุด้วยการรับสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง

3.  สมุนไพรขมิ้นชัน
     ในสมุนไพรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักมาช้านานอย่าง 'ขมิ้นชัน' มีสารสำคัญคือเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน เช่น ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการอักเสบตามข้อ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีผลการวิจัยที่ระบุว่าสารสกัดจากขมิ้นชันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ มีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ระดับน้ำตาลสะสมของผู้ป่วยลดลง ในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมในการผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ ในรูปแบบของไฟโตโซม ที่ช่วยให้การละลาย และการดูดซึมสารเคอร์คูมินอยด์ได้ดียิ่งขึ้น โดยทำในรูปแบบไฟโตโซม ทำให้สารเคอร์คูมินอยด์สารมารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่า สารสกัดแบบธรรมดาถึง 9 เท่า ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานครั้งละหลายเม็ด และได้ประสิทธิภาพของเคอร์คูมินอยด์ได้อย่างเต็มที่

       เบาหวาน... สามารถควบคุมได้ แต่ต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งเรื่องการใช้ยา การเฝ้าระวังอาการของโรค การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่สำคัญคือต้องเลือกทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะหากสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติตลอดเวลาได้นั้น ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถมีสุขภาพดีใกล้เคียงกับคนทั่วไปได้ ด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก :

American Diabetes Association. 9. Standards of Medical Care in Diabetes—2019. Diabetes care. 2019.
World Health Organization. Diabetes. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes
Tripathi BK, Srivastava AK. Diabetes mellitus: complications and therapeutics. Medical science monitor. 2006 Jul 1;12(7):RA130-47.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ. เบาหวานน่ารู้. 2563

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้