ขมิ้นชัน (Curcumin) รับประทานทุกวันภูมิต้านทานแข็งแรง

ขมิ้นชัน (Curcumin) รับประทานทุกวันภูมิต้านทานแข็งแรง

   สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  ขมิ้นชัน (Curcumin) คืออะไร?

  ขมิ้นชัน (Curcumin) กับประโยชน์ที่มีการใช้ในทางการแพทย์

     จากสถานการณ์วิกฤตสุขภาพที่คนไทยต้องประสบทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาเริ่มสนใจ ดูแลสุขภาพตัวเองและหาทางป้องกันตัวเองกันมากขึ้น และหนึ่งในวิธีซึ่งคนไทยเลือกก็คือ การใช้สมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัวที่มีคุณสมบัติเพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับตนเอง ซึ่งสมุนไพรที่ว่านี้ก็คือ ขมิ้นชัน (Curcumin)

ขมิ้นชัน (Curcumin) คืออะไร?

     ขมิ้นชัน (Curcumin) คือพืชที่มีเนื้อในเหง้าสีเหลือง ถูกนำมาใช้กันแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมักจะนำมาใช้สด ๆ หรือสกัดเป็นผง เพื่อเป็นส่วนผสมของการอาหารที่เป็นจานโปรดของใครหลายคนอย่าง แกงกะหรี่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ หรือแกงไตปลา และเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ต่าง ๆ นอกจากนี้ขมิ้นชันยังมีสรรคุณทางยาที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคมาช้านาน

     ‘ขมิ้นชัน’ มีสารสำคัญที่ชื่อว่า เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ที่มีองค์ประกอบของสาร 3 ชนิด ได้แก่ เคอร์คูมิน (Curcumin) เดเมทอกซีเคอร์คูมิน (Demethoxycurcumin) และบิสเดเมททอกซีเคอร์คูมิน (Bisdemethoxycurcumin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง และต้านจุลินทรีย์ ดังนั้นขมิ้นชันจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาแผลในทางเดินอาหาร แก้ปวดและลดอาการอักเสบของข้อ โดยสามารถแทนการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียร์รอย (NSAIDs: Non-Steroid Anti-Inflammatory Agent) และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน สำหรับความสามารถของเคอร์คูมินในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้น หนึ่งในสารประกอบของเคอร์คูมินอยด์ ที่เรียกว่า ‘เคอร์คูมิน’สามารถลดการจับตัวของไวรัสกับผนังเซลในร่างกาย และลดการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัส ด้วยการทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้อีก
     เคอร์คูมิน (Curcumin) เป็นสารที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเนื้อเยื่อได้น้อย เพราะสามารถถูกทำลายได้ง่ายในลำไส้เล็ก และถูกเผาผลาญและกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงมีการคิดค้นและพัฒนาเคอร์คูมินให้อยู่ในรูปของไฟโตโซม ซึ่งเป็นเทคนิคในการทำให้สารจากธรรมชาติที่ถูกดูดซึมได้ยาก กลายเป็นสารที่ถูกดูดซึมได้ง่ายด้วย ฟอสฟาติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) ที่อยู่ในเลซิตินนั่นเอง จึงทำให้เคอร์คูมินสามารถละลายได้ดีทั้งในน้ำและไขมัน โดยเฉพาะเคอร์คูมินสูตรลิขสิทธ์ Meriva ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีกว่าสารสกัดขมิ้นชันแบบปกติ (Curcuminoids) ถึง 9 เท่า การทานขมิ้นชันในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ให้สารสำคัญในรูปแบบไฟโตโซมนั้น นอกจากจะสะดวกในการับประทานแล้ว ยังสามารถดูดซึมได้ดีและเห็นผลที่ชัดเจนกว่าอีกด้วย ที่สำคัญยังเป็นสารอาหารที่ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน
     


ขมิ้นชัน (Curcumin) กับประโยชน์ที่มีการใช้ในทางการแพทย์

     ขมิ้นชัน (Curcumin) ได้รับการกล่าวถึงประสิทธิภาพในการรักษาและป้องกันโรคได้มากมายมาตั้งแต่อดีต เช่น โรคปวดข้อ ต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการท้องเสีย ยับยั้งการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) ท้องอืด ท้องเฟ้อ การอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น
     จากฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการแพทย์ทางธรรมชาติ (Natural Medicines Comprehensive Database) ได้แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของการใช้การรักษาทางเลือกจากธรรมชาติจากขมิ้นอยู่ในระดับการรักษาที่อาจได้ผล แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอต่อการระบุประสิทธิภาพ ซึ่งประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีการค้นคว้าและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์กล่าวถึง มีดังนี้

1.  อาการจุกเสียดท้อง และผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ
     สารเคอร์คูมิน (Curcumin) มักถูกกล่าวถึงคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน จึงมีงานวิจัยบางส่วนที่ค้นคว้าเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินเปรียบเทียบกับยาตัวอื่นที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะในผู้ที่ติดเชื้อเอชไพโลไรและมีอาการจุกเสียดท้อง จำนวน 25 คน โดยให้รับประทานสารเคอร์คูมิน 30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงตรวจหาเชื้อเอชไพโลไร ตรวจดูความรุนแรงของอาการต่างๆ ในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตรวจเลือด และตรวจหาสารภูมิต้านทานจากเชื้อเอชไพโลไร ผลพบว่าสารเคอร์คูมินช่วยลดอาการจุกเสียดท้องและลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารลงอย่างเห็นได้ชัด 
2.  โรคข้อเสื่อม 
     อีกคุณสมบัติทางยาของขมิ้นอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากมีสารเคอร์คูมินที่มีฤทธิ์ต่อต้านกระบวนการอักเสบ โดยมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของสารเคอร์คูมินเปรียบเทียบกับยาไดโคลฟีแนคต่อการหลั่งเอนไซม์ Cyclooxygenase-2 (COX-2) ในน้ำไขข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม 80 คน กลุ่มแรกรับประทานสารเคอร์คูมิน วันละ 30 มิลลิกรัม และอีกกลุ่มรับประทานยาไดโคลฟีแนค วันละ 25 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทาน 3 เวลาเช่นเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อครบ 4 สัปดาห์ จึงเจาะน้ำในข้อเข่าออกมาตรวจ เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรับประทาน ผลพบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างสารเคอร์คูมินและยาไดโคลฟีแนคในการยับยั้งการหลั่ง COX-2 ซึ่งเป็นเอมไซม์ที่หลั่งเมื่อเกิดการอักเสบ ปวด และบวม จึงเชื่อว่าสารเคอร์คูมินมีส่วนช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้ดีเช่นเดียวกับยา  
     มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการใช้สารสกัดจากขมิ้นเปรียบเทียบกับยาไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จำนวน 367 คน เพื่อดูอาการปวดและสมรรถภาพการใช้งานข้อเข่า ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มแรกรับประทานสารสกัดจากขมิ้น 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และอีกกลุ่มรับประทานยาไอบูโปรเฟน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ผลพบว่า สารสกัดจากขมิ้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาไอบูโปรเฟนในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และพบผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารเล็กน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยา
3.  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 
     ขมิ้นมีคุณสมบัติที่เชื่อว่าช่วยต่อต้านการอักเสบ จึงมีการศึกษานำร่องทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้สารเคอร์คูมินเปรียบเทียบกับยาไดโคลฟีแนคในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เรื้อรัง 45 คน ในการทดลองแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานสารเคอร์คูมิน 500 มิลลิกรัมต่อวัน กลุ่มที่ 2 รับประทานยาไดโคลฟีแนค 50 มิลลิกรัม และกลุ่มที่ 3 รับประทานสารเคอร์คูมินร่วมกับยาไดโคลฟีแนค จากนั้นจึงวัดผลด้วยแบบประเมิน 2 ชุด พบว่าผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มมีอาการของโรคดีขึ้น แต่กลุ่มที่รับประทานสารเคอร์คูมินมีผลคะแนนสูงสุด อีกทั้งยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากการรับประทาน ขมิ้นจึงอาจมีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และข้ออักเสบชนิดอื่น ซึ่งยังต้องค้นคว้าเพิ่มเติมในกลุ่มทดลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
4.  อาการคัน หรือการอักเสบผิวหนัง
     ขมิ้นมีสารเคอร์คูมินที่เชื่อว่ามีส่วนสำคัญในการยับยั้งกระบวนการอักเสบภายในร่างกาย จึงอาจช่วยลดอาการคันในผู้ป่วยบางโรคได้ โดยมีงานวิจัยถึงประสิทธิภาพของขมิ้นต่ออาการคันเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 100 คน ผลปรากฏว่า กลุ่มที่รับประทานขมิ้นมีอาการคันลดลงกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ และยังไม่พบผลข้างเคียงทั้ง 2 กลุ่ม จึงคาดว่าขมิ้นมีส่วนช่วยลดอาการคันในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง แต่ยังไม่สามารถยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขมิ้นต่อร่างกายในระยะยาวได้แน่ชัด
     นอกจากนี้ การศึกษาอีกชิ้นเรื่องคุณสมบัติของสารเคอร์คูมินด้านการต้านอักเสบในผู้ป่วยผื่นผิวหนังจากสารซัลเฟอร์ มัสตาร์ด เพศชาย 69 คน อายุ 37-59 ปี โดยทดลองทาสารสกัดจากเคอร์คูมิน 1 กรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับยาหลอก ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อดูความรุนแรงของอาการคันเรื้อรังและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ผลพบว่า ฤทธิ์ต้านการอักเสบของเคอร์คูมินในขมิ้นช่วยยับยั้งสารในกระบวนการอักเสบบางชนิดได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ยาหลอก 

     จะเห็นได้ว่าขมิ้นชัน (Curcumin) เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ให้ประโยชน์กับร่างกายได้อย่างมากมาย รวมไปถึงสามารถป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งทุกคนสามารถมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพียงเลือกทานสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มอย่างขมิ้นชันในรูปแบบไฟโตโซม สูตรลิขสิทธิ์ Meriva ได้ทุกวัน ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care 
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์อื่นๆ ที่ร่างกายได้รับจากขมิ้นชันได้ที่นี่) 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.  http://scijournal.hcu.ac.th/data/Vol.2%20Usefulness.pdf

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้