ผลเสียของการนอนน้อยที่คุณอาจไม่รู้

ผลเสียของการนอนน้อยที่คุณอาจไม่รู้

     วลีติดตลก ‘นอนน้อย แต่นอนนะ’ ถูกนำมาใช้พูดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากพฤติกรรมการชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ติดการเล่นโซเซี่ยลมีเดีย ดูซีรีย์จนดึกดื่น ทุ่มเทให้กับการทำงานจนเหลือเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวันในการนอน หรือความเครียดต่าง ๆ ที่มาทำให้นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ ตื่นเช้ามาก็ยังงัวเงียไม่สดชื่น แต่การนอนเป็นกิจวัตรประจำวันที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราทั้งด้านร่างกายและอารมณ์อย่างมาก มาดูกันเถอะว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายหากคุณนอนน้อยติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง

1.  น้ำหนักเพิ่มขึ้น
     การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอมีความเกี่ยวข้องกับความหิวและการเจริญอาหารที่นำไปสู่ความอ้วนในที่สุด เพราะการนอนน้อยจะลดระดับของฮอร์โมนเลปตินที่มีหน้าที่ควบคุมความอิ่มและเพิ่มระดับของฮอร์โมนเกรลินที่ทำให้เรารู้สึกเจริญอาหาร การนอนน้อยยังกระตุ้นให้ความอยากอาหารที่มีไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่าย ๆ อีกด้วย
2.  สุขภาพผิวแย่
     คนจำนวนไม่น้อยมากประสบปัญหาผิวเหลืองและมีถุงใต้ตาหลังจากนอนน้อยไม่กี่คืน แต่หากปล่อยไว้ในระยะยาวจะส่งผลให้ผิวพรรณขาดความเปล่งปลั่งสดใส เกิดริ้วร้อยตื้น รอบดวงตาคล้ำดำ เพราะเมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น โดยระดับจำนวนคอร์ติซอลที่มากเกินไปจะทำลายคอลลาเจนที่ผิวหนัง ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่น เรียบเนียน
3.  ความจำแย่ลง
     ถ้าอยากมีความจำที่ดีต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะหลาย ๆ งานวิจัยพบว่าการนอนหลับส่งผลกระทบต่อความจำและการเรียนรู้ โดยอาจทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผล การแก้ปัญหา และสมาธิในการทำงานหรือการเรียนหนังสือลดประสิทธิภาพลง
4.  ความต้องการทางเพศลดลง
     การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความต้องการและความสนใจในเรื่องเพศลดลง ไม่มีเรี่ยวแรง ง่วงนอน และเกิดความตึงเครียด โดยงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระบุว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนมักจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเตอโรนที่ต่ำ นอกนี้การนอนหลับที่ผิดปกติยังส่งให้ต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อการมีบุตรอีกด้วย
5.  เกิดอาการซึมเศร้า
     การนอนน้อยส่งผลให้รู้สึกหงุดหงิด โกรธง่าย หรืออารมณ์เสียในวันถัดไป แต่หากนอนน้อยสะสมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจนำไปสู่ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล การนอนน้อยเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยพวกเขามักจะนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน
6.  ภูมิต้านทานอ่อนแอ
     หากรู้สึกเหมือนจะเป็นไข้หวัด คำแนะนำที่มักได้ยินบ่อยคือการ นอนหลับพักผ่อนเยอะ ๆ เพราะการนอนน้อยในระยะยาวจะรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งทำให้ความสามารถในการป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ น้อยลง เพราะระหว่างที่นอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะหลั่งโปรตีนที่ชื่อว่าไซโตไคน์ (Cytokines) โดยร่างกายของเราจะต้องการไซโตไคน์มากขึ้น เมื่อมีการติดเชื้อ อักเสบ หรืออยู่ในภาวะตึงเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การผลิตไซโตไคน์ลดลง ดังนั้นเราจึงต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อต่อสู้กับโรคต่าง ๆ


นอนหลับสบายด้วยสมุนไพรรากวาเลอเรี่ยน

     หนึ่งทางเลือกของการนอนหลับสนิทอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย คือการเลือกรับประทานสารสกัดจากสมุนไพรรากวาเลอเรี่ยน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศในยุโรป โดยรากวาเลอเรี่ยนจะเข้าไปเพิ่มสารสื่อประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับง่ายขึ้น หลับสนิท ช่วยให้ตื่นมาอย่างสดชื่น และคลายความวิตกกังวล  นอกจากนี้สมุนไพรรากวาเลอเรี่ยนยังเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง และไม่ก่อให้เกิดการเสพติดเหมือนการรับประทานยานอนหลับต่อเนื่องเป็นเวลานาน

     จะเห็นได้ว่า การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อร่างกายหลายประการ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะยุ่งกับงานและการใช้ชีวิตหนักหน่วงมากแค่ไหนก็ไม่ควรที่จะละเลยการให้ความสำคัญกับการนอน ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และต้องไม่ลืมเรื่องคุณภาพในการนอนหลับ เพราะการนอนหลับที่ดีที่สุดก็คือการนอนหลับสนิทตื่นขึ้นมาสดชื่น หากยังหลับไม่สนิทอย่าลืมตัวช่วยดี ๆ ด้วยคุณค่าของสมุนไพรจากรากวาเลอเรี่ยน ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 


ข้อมูลอ้างอิง :


1.  https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/expert-answers/lack-of-sleep/faq-20057757

2.  https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/10-results-sleep-loss

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้