เมื่อความเครียดเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องเจอและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าจะเครียดจากเรื่องของปากท้อง การทำงาน หรือปัญหาส่วนตัวต่างๆ บางทีเมื่อเครียดมากเกินไป และสะสมเป็นเวลานาน อีกทั้งยังไม่รู้จักวิธีการกำจัดความเครียดก็อาจทำให้ร่างกายตอบสนองความเครียดด้วยการแสดงอาการต่างๆ ออกมาจนบางครั้งอาจไม่รู้ตัว
เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้างเมื่อคุณ 'เครียด' ?
ปวดหัวไมเกรน
สาเหตุหนึ่งของการปวดหัวไมเกรนมาจากความเครียด เพราะความ เครียดจะไปลดระดับสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายและโป่งตัวออก จึงทำให้มีอาการปวดหัวตามมา ซึ่งอาจมีการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จึงทำให้เกิดการปวดหัวตุ๊บๆ ตามการเต้นของชีพจร ซึ่งอาจมีการปวดหัวเช่นนี้ข้างใดข้างหนึ่งหรือ ทั้งสองข้างบางรายมีอาการคลื่นไส้ และไวต่อแสง เสียงและกลิ่นกว่าปกติ
มีกลิ่นปาก
ลองสังเกตดูว่าถ้าวันไหนมีความเครียดมากๆ กลิ่นปากจะมีมากกว่าทุกวัน เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะสั่งการให้ต่อมน้ำลายให้ทำงานน้อยลง ทำให้ภายในช่องปากแห้ง และทำให้เเบคทีเรียในช่องปาก เพิ่มจำนวนสะสมมากขึ้น ซึ่งมักจะสะสมอยู่ที่ปลายลิ้น ทำให้เกิดกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมานั่นเอง
เสี่ยงโรคหัวใจ
เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่างๆขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น หัวใจเต้นเร็ว หรือรู้สึกตื่นตัวกว่าปกติ หากเป็นเช่นนี้บ่อยครั้งจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากเมื่อโดนความเครียดกระตุ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
จากข้อมูลของศูนย์การแพทย์ ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยมีการติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 14 ปี พบว่า ’คนที่มีความเครียด รู้สึกกระวนกระวาย วิตกกังวล มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ถึง 27 เปอร์เซ็นต์’
สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
สมรรถภาพทางเพศเสื่อมก็มาจากความเครียดได้เช่นกัน!! ความเครียดมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่มีชื่อว่า ‘ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)’ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในภาวะปกติเป็นฮอร์โมนที่คอยรักษาสมดุลของร่างกายและคอยรับมือกับความเครียด ซึ่งในกระบวนการสร้างคอร์ติซอลนั้น จำเป็นต้องใช้สารอาหารและสารตั้งต้นเดียวกับการสร้างออร์โมนเพศ ดังนั้นเมื่อมีภาวะเครียด ร่างกายเห็นว่าการกำจัดความเครียดเป็นสิ่งสำคัญ จึงหันไปสร้าวฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มมากขึ้นๆ และลดการสร้างฮอร์โมนเพศลง และทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงนั่นเอง
กระดูกพรุน
ใครว่ากระดูกพรุนเป็นโรคของผู้สูงอายุเพียงวัยเดียว แท้จริงแล้วไม่ว่าจะวัยไหนที่มีความเครียดสูง เครียดเรื้อรังและเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเครียดเช่น โรคซึมเศร้าก็สามารถทำให้มวลกระดูกลดลงและเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ผู้ที่มีภาวะเครียดและมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง จะมีการหลั่งสารเคมีที่มีชื่อว่านอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งสารเคมีทั้งสองมีผลต่อในการลดการสร้างกระดูก และเพิ่มการสลายของกระดูก ส่งผลให้มวลกระดูกลดลงและนำไปสู่ภาวะกระดูกบางจนเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด หรือในผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้วจะยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น
จะเห็นได้ว่าความเครียดมีผลต่อร่างกายของเรามากมาย ฉะนั้นการบริหารความเครียดถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ โดยเริ่มจากทำจิตใจให้ผ่องใส คิดแง่บวกมากขึ้นเพื่อลดความเครียดต่อร่างกายและสมอง และยังสามารถสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ได้จากการออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่ชอบ การนั่งสมาธิหรือพฤติกรรมง่ายๆอย่างการหัวเราะก็ช่วยให้ฮอร์โมนตัวนี้หลั่งออกมาได้เช่นกัน
นอกจากลดความเครียดเสริมความสุขด้วยการปรับพฤติกรรมต่างๆแล้ว การทานอาหารที่อุดมด้วย 'วิตามินบี' ที่ครบถ้วนทั้ง 10 ชนิด ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ลดเครียดได้เช่นกัน เนื่องจากในสภาวะเครียด ร่างกายจะดึงวิตามินบีต่างๆออกมาใช้ และหากในร่างกายมีวิตามินบีไม่เพียงพอ ก็จะแสดงอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ขึ้นมา ดังนั้นหากร่างกายมีวิตามินบีรวมที่ควรถ้วน และมีปริมาณเพียงพอจะช่วยป้องกันการอ่อนล้า อ่อนเพลียได้ และทำให้ความเครียดสามารถบรรเทาลงได้
เพียงเท่านี้ความเครียดก็ไม่สามารถมาทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้อีกต่อไป…ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bumrungrad.com/https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=5591
https://www.thairath.co.th/content/588711
http://www.thaiheartfound.org/category/details/mood/372
https://www.thaihealth.or.th/http://www.tria.co.th/https://www.thaihealth.or.th/Content/28590-นักวิจัยเตือน%20"เครียด"%20ทำกระดูกพรุน.html
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05142014-1901