ต้านเชื้อไวรัสด้วยสมุนไพร 'เอ็กไคนาเซีย'

ต้านเชื้อไวรัสด้วยสมุนไพร 'เอ็กไคนาเซีย'

     ในสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังมีการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปอดอักเสบชนิดรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงและอาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ที่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วย
     แต่ที่น่าวิตกก็คือ เชื้อไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ นอกจากการป้องกันตัวเอง โดยการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ แล้ว การเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อม โดยการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดความเสี่ยงและความรุนแรงจากการติดเชื้อนี้ได้

   สนใจหัวข้อไหน.... คลิกเลย

  เอ็กไคเนเซีย (Echinacea) คืออะไร? 

  กลไกการออกฤทธิ์ของเอ็กไคเนเซีย (Echinacea)

  เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับการรักษาโรค 

  เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับการต้านไวรัส 

  เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับความปลอดภัย

  วิธีรับประทานเอ็กไคนาเซีย (Echinacea)

  เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) ทานติดต่อกันนานแค่ไหน 


เอ็กไคเนเซีย (Echinacea) คืออะไร?

     Echinacea เป็นสมุนไพรที่ชาวยุโรปและอเมริกานิยมใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรียมากว่า 100 ปีแล้ว และเป็นสมุนไพรที่นักวิจัยใช้เพื่อศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันมากที่สุด เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่สามารถเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวกำจัดไวรัส และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กลไกการออกฤทธิ์ของเอ็กไคเนเซีย (Echinacea)

     สมุนไพรชนิดนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพโดย

1.  กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว (Phagocytosis) : เพิ่มการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดขาวในการเข้าหาสิ่งแปลกปลอม

2.  เพิ่มการผลิตเซลล์ (T-Lymphocyte) : เพื่อต่อสู้สิ่งแปลกปลอมมากขึ้น

เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับการรักษาโรค

     แม้หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยินชื่อของสมุนไพรชนิดนี้ แต่ทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วเอ็กไคนาเซียถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยกันมาหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 20 โดยชาวอเมริกันพื้นเมือง รวมถึงชาวเกรตเพลนอินเดียน (Great Plains Indian tribe) ชนเผ่าที่มีการตั้งรกรากและวิถีชีวิตแบบชาวอินเดียแดง ที่ได้นำเอ็กไคนาเซียมาทำยารักษาโรค
     ปัจจุบันเอ็กไคนาเซียได้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง โดยนำมาผ่านกระบวนการสกัดเพื่อนำเอาเฉพาะสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการของโรคหวัดและโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมาใช้ พบการใช้มากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็น 1 ใน 5 ของสมุนไพรที่มีการนำมาใช้มากที่สุดในทวีปยุโรป เนื่องจากมีสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากสถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้เอ็กไคนาเซียกลายเป็นหนึ่งสมุนไพรยอดฮิตที่กลับมาได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ด้วยสรรพคุณทางยา ดังนี้

1.  เสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 
     ในเอ็กไคนาเซียมีสารที่ช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นจึงเป็นผลดีในการนำมาใช้รักษาโรคติดต่อจากในระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โดยเฉพาะโรคหวัด ซึ่งสามารถช่วยลดความรุนแรง ระยะเวลา และความถี่ในการเกิดโรคหวัดจึงแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้บ่อยครั้ง
2.  เอ็กไคนาเซียมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) 
     ในดอกเอ็กไคนาเซีย จะมีสารต้านอนุมูอิสระที่จะช่วยปกป้องเซลล์ โดยเข้าไปกำจัดอนุมูลอิสระที่จะสร้างความเสียหายให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับการต้านไวรัส

     สมุนไพรเอ็คไคนาเซีย ยังมีการรวบรวมบทความที่ตีพิมพ์มากกว่า 300 งานวิจัย ที่พบว่าเอ็คไคนาเซียสามารถลดโอกาสการเป็นหวัดได้ถึง 50% ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และช่วยลดเวลาการเป็นหวัดได้ภายใน 1-2 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในการลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะจากโรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่น หวัด เจ็บคอ เป็นต้น เพื่อลดปัญหาการดื้อยาและลดโอกาสที่ตับจะถูกทำลายเนื่องจากต้องทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสริมภูมิต้านทานด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติได้ที่นี่)

มีผลงานวิจัยมากมายรองรับ เช่น
  ในต่างประเทศมีการทดลองใช้ในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่รุนแรง ร่วมกับสารสกัดขิง สามารถลด clinical symptoms และลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้
  สมุนไพรเอ็กไคนาเซียช่วยลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ เจ็บคอ
  เอ็กไคนาเซียป้องกันหวัดได้ถึง 58% (ทำไมเอ็กไคนาเซียถึงป้องกันหวัได้อ่านเพิ่มเติมรายละเอียดคลิกที่นี่) 

  ช่วยลดระยะเวลาการเป็นหวัด
  ลดความรุนแรงของอาการหวัด ไอ เจ็บคอ คันคอ 24% (เช็คอาการเจ็บคอและวิธีดูแลตัวเองเมื่อมีอาการด่วนที่นี่) 
  รักษาอาการเริม และลดการกำเริบได้ 


วิธีรับประทานเอ็กไคนาเซีย (Echinacea)

  ผู้ที่เริ่มมีอาการหวัด เจ็บคอ น้ำมูก ไอ แนะนำรับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

  ผู้ที่อาการรุนแรง หรือติดเชื้อไวรัส เช่น เริม งูสวัด แนะนำรับประทาน ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) กับความปลอดภัย

     สมุนไพรเอ็คไคนาเซีย มีการศึกษาถึงปลอดภัย ทั้งในเด็ก ในปริมาณ 800-1,500 mg พบว่ามีความปลอดภัยสูง รวมทั้งสามารถใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ตับ ไต หญิงตั้งครรภ์ได้ และผลข้างเคียงต่ำ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) ทานติดต่อกันนานแค่ไหน

     แนะนำให้รับประทานต่อเนื่อง 2 เดือน และเว้น 1 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดการคุ้นชินต่อการกระตุ้นภูมิมากเกินไป และสามารถกลับมารับประทานต่อได้

     ในสถานการณ์ที่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคมากมาย นอกจากเราต้องหาวิธีในการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายของตัวเองแล้ว ยังจะต้องปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ไอหรือจาม ทานอาหารที่ปรุงสุกและใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ไม่นำมือมาสัมผัสกับตา จมูก และปาก ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ซึ่งหากสามารถทำได้รับรองโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคภัยต่างๆ ก็ย่อมลดน้อยลงไปด้วย ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก :
-  Mohammadhassan,​ Barzin, et al, . ANTIVIRAL ACTIVITY OF ECHINACEA (ECHINACEA PURPUREA). IJBPAS, May, 2016, 5(5): 999-1005.
-  Hudson J,Vimalanathan S.Echinacea—A Source of Potent Antivirals for Respiratory Virus Infections.Pharmaceuticals (Basel). 2011 Jul; 4(7): 1019–1031.
-  https://www.motherearthliving.com/wiser-living/the-history-of-echinacea-part-1
https://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/echinacea-common-cold


                      

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้