มารู้จักกับโรคตาล้า (Asthenopia) ให้ดียิ่งขึ้น

มารู้จักกับโรคตาล้า (Asthenopia) ให้ดียิ่งขึ้น

     เคยไหม…จ้องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ แล้วเริ่มรู้สึกปวดตา ตาล้า คันตา แสบตา มีน้ำตาไหล ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ทั้งหมดนี้คืออาการของ 'โรคตาล้า' โรคเกี่ยวกับดวงตายอดฮิตปัจจุบันที่มักจะเกิดกับคนทำงาน หรือผู้ที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน

     อย่าชะล่าใจกับโรคนี้โดยเด็ดขาด เพราะอาการเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว เหนื่อยล้า เวียนศีรษะ บ้านหมุน และปวดไมเกรนได้อีกด้วย ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรังก็เสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจลุกลามเป็นโรคตาที่ร้ายแรงในอนาคต

   สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  สาเหตุของโรคตาล้า (Asthenopia)

  วิธีป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคตาล้า (Asthenopia)

  สารอาหาร 3 ชนิดที่ช่วยแก้ปัญหาโรคตาล้า  (Asthenopia)

 

สาเหตุของโรคตาล้า (Asthenopia)

     โรคตาล้า (Asthenopia) มีสาเหตุมาจากการใช้สายตาอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ การดูโทรทัศน์ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแสงจ้า หรือใช้สายตาในที่มืดที่มีแสงน้อย แม้กระทั่งดวงตาสัมผัสกับลมจนทำให้ตาแห้ง ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติ หรือกระจกตามีปัญหาก็เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน

 

วิธีป้องกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคตาล้า (Asthenopia)

1.  จำกัดเวลาใช้สายตาในการทำกิจกรรม
     อย่างเช่น การอ่านหนังสือ ทำงาน หรือเล่นสมาร์ทโฟน และควรพักสายตาอย่างน้อย 20 วินาที ทุกๆ 20 นาที 
2.  การกะพริบตาบ่อยๆ
     การกะพริบตาจะช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น
3.  ไม่ควรใช้สายตาในที่มืดหรือมีแสงน้อย
     หากต้องใช้สายตาทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ต้องคำนึงถึงแสงสว่างแวดล้อม ดังนั้นควรต้องปรับแสงให้เหมาะสม 
4.  ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากสายตาในระยะ 20-26 นิ้ว
     ควรปรับแสงและระดับของหน้าจอให้เหมาะกับการมองเห็น ต้องไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป
5.  เลือกสวมแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
     อย่างเช่น สวมแว่นสายตาขณะอ่านหนังสือ เมื่อออกกลางแจ้งสวมแว่นตากันแดดเพื่อเป็นการถนอมสายตา หรือสวมแว่นตาที่ใช้สำหรับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
6.  ป้องกันไม่ให้ตาแห้ง
     ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหน้าพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เพราะทำให้ดวงตาสัมผัสกับลมโดยตรง

 

สารอาหาร 3 ชนิดที่ช่วยแก้ปัญหาโรคตาล้า  (Asthenopia)

1.  ลูทีน (Lutein)
     เป็นสารอาหารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่อยู่บริเวณเรตินาของดวงตา ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอ ลดความเสี่ยงเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและโรคต้อกระจก ร่างกายไม่สามารถสร้างลูทีนขึ้นมาใช้เองได้ จึงต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น พบมากในผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อคโคลี ผักโขม ผักปวยเล้ง กะหล่ำปลี เป็นต้น

2.  บิลเบอร์รี่สกัด (Bilberry extrect)
     ผลไม้สีน้ำเงินม่วงอยู่ในตระกูลเบอร์รี่ เป็นที่นิยมรับประทานในแถบยุโรปและอเมริกา ผลไม้ชนิดนี้อุดมไปด้วยสารสำคัญแอนโธไซยาโนไซด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงที่ช่วยบำรุงดวงตา ช่วยถนอมสายตา ลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา ช่วยในการมองเห็นตอนกลางคืนได้ดี  

3.  เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene)
     สารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมสภาพของเซลล์ลูกตา เยื่อบุตา และกระจกตา มักพบมากในผักและผลไม้ที่มีสีสัน เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก แตงโม เป็นต้น

4.  แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
     แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ถือเป็นสุดยอดสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการตาล้า ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อตา เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อตาได้ดีขึ้น และช่วยลดการอักเสบของของกล้ามเนื้อตาได้อีกด้วย 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.  https://www.pobpad.com/ตาล้า
2.  https://www.aoa.org/healthy-eyes/caring-for-your-eyes/diet-and-nutrition?sso=y
3.  http://www.thaiheartfound.org/category/details/food/337
4.  https://prayod.com//บิลเบอร์รี-บำรุงสายตา/
5.  https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้