5 วิธีลดภาวะสมองล้า

5 วิธีลดภาวะสมองล้า

      สมอง คือหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของคนเรา ซึ่งไม่ว่าจะวัยไหนต่างต้องใช้สมองในการทำงาน การเรียน รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ จนเกิดเป็นความเครียดสะสมแบบไม่รู้ตัว และทำให้สมองถูกใช้งานอย่างหนัก จนระบบประสาทและสมองค่อยๆ เสื่อมลง นำไปสู่ภาวะสมองล้า

 

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

        ทำความรู้จักกับภาวะสมองล้า
        สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า
        อาการและสัญญาณเตือนภาวะสมองล้า
        5 วิธีลดภาวะสมองล้าที่เห็นผล
        วิตามินบี อีกหนึ่งตัวช่วยบำรุงสมอง

 

ทำความรู้จักกับภาวะสมองล้า

 

      ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) คือ ภาวะที่สารสื่อประสาทในสมองซึ่งคอยเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ของระบบประสาทเสียสมดุลจากความเครียดโดยไม่รู้ตัวและการทำงานของสมองที่หนักเกินไปเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองแย่ลง และอาจนำไปสู่การป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคกระเพาะ โรคเบาหวาน และโรคสมองเสื่อม

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองล้า

 

        การพักผ่อนไม่เพียงพอ

        ความเครียดสะสมมากเกินไป

        ดื่มน้ำน้อย

        ไม่ออกกำลังกาย

        เป็นโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น หลอดเลือดสมอง

        มีอาการทางจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล

        ระดับฮอร์โมนผิดปกติ ไม่สมดุล

 

 

อาการและสัญญาณเตือนภาวะสมองล้า

 

      1. ด้านสมอง

            สมาธิในการทำงานลดลง

            สมองตื้อ คิดงานไม่ออก

            หลงๆ ลืมๆ มีปัญหาด้านความจำ

     

      2. ด้านร่างกายและอารมณ์

            นอนไม่หลับ ไม่สดชื่น

            ปวดหัวเรื้อรัง

            เหนื่อยง่าย

            สายตาอ่อนเพลีย

            หงุดหงิดง่าย

 

5 วิธีลดภาวะสมองล้าที่เห็นผล

 

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

      การนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยทำให้สมองได้พักผ่อน และฟื้นฟูพลังสมอง ทำให้ตื่นเช้ามาสดชื่น ไม่เกิดอาการสมองล้าระหว่างวัน ทั้งนี้คนเราควรนอนหลับให้ได้ 7-9 ชม. งดเล่นโทรศัพท์หรือทำกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัว และที่สำคัญควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม
      นอกจากนี้การนอนกลางวัน 15 นาทีหลังมื้อเที่ยงก็สามารถช่วยให้สมองได้พักผ่อน คืนความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย และบำบัดอาการสมองล้าได้เช่นกัน 

 

2. กินดาร์กช็อกโกแลต

      ในช็อกโกแลตจะมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารสื่อประสาทที่จะช่วยลดภาวะสมองล้าได้ดี อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความจำเป็น จึงแนะนำให้กินเป็นดาร์กช็อกโกแลตเท่านั้น

 

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

      การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยขยับร่างกายนอกจากจะทำให้สุขภาพมีปัญหาแล้ว ยังส่งผลให้สมองล้า เกิดอาการตื้อตันจนคิดงานไม่ออก เนื่องจากเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ดังนั้น ในแต่ละสัปดาห์จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและออกซิเจนในสมอง นอกจากนี้การออกกำลังกายยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารแห่งความสุข (Endorphin) ออกมาอีกด้วย

 

4. ผ่อนคลายความเครียด

      หนึ่งในสาเหตุของภาวะสมองล้าเกิดขึ้นจากความเครียดและความกดดันที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง จนสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ซึ่งหากปล่อยไว้นาน จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดน้อยลงเรื่อยๆ และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายอื่น เช่น โรคอ้วน โรคกระเพาะ และโรคสมองเสื่อม วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือการหยุดพัก แบ่งเวลาเพื่อทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การเล่นเกม ดูซีรีส์ เดินเล่น หรือท่องเที่ยว

 

5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ และกินอาหารที่มีประโยชน์

      เมื่อคนเราขาดน้ำ ระดับออกซิเจนในเลือดจะลดน้อยลง จนทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี ส่งผลต่อการทำงานของสมอง เพื่อป้องกันภาวะสมองล้า ในแต่ละวันจึงควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร หรือดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งนอกการจากดื่มน้ำแล้ว การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองก็สำคัญ โดยเน้นกินอาหารจำพวกถั่ว ผัก และผลไม้เป็นหลัก

 

วิตามินบี อีกหนึ่งตัวช่วยบำรุงสมอง

      สมองของคนเราจะทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่รู้สึกล้าง่าย เมื่อได้รับวิตามินบีที่เพียงพอ ซึ่งปกติวิตามินบีสามารถหาได้จากอาหารชนิดต่างๆ เช่น ไข่ นม และผักใบเขียว แต่เพื่อให้ได้รับวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม และควรเลือกกินวิตามินบีในรูปแบบเม็ดสูตรครบถ้วนที่อุดมไปด้วยวิตามินบีถึง 10 ชนิด และควรเลือกเป็นสูตรสมดุลที่มีวิตามินบีแต่ละชนิดเท่าๆ กัน เพื่อให้วิตามินแต่ละชนิดไม่ขัดขวางการดูดซึมซึ่งกันและกัน และช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

The Matter
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลเพชรเวช

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้