ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของร่างกาย ทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เป็นแหล่งสะสมสารอาหารเพื่อให้ร่างกายนำมาใช้ยามจำเป็น และยังมีหน้าที่สำคัญในการกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกายด้วย
โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของตับที่พบได้บ่อยก็คือ มะเร็งตับ ซึ่งโรคนี้จากสถิติถือเป็นมะเร็งอันดับ 1 ในผู้ชายไทย และนอกจากนี้โรคตับแข็ง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีคนเป็นกันจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยหลักที่นำไปสู่โรคตับเกิดจาก
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
- ความอ้วนและพฤติกรรมการบริโภค
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- การได้รับยาบางประเภท หรือสารพิษต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- ภาวะไขมันเกาะตับ
ถึงแม้ตับจะเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ แต่กลับกลายว่าเป็นอวัยวะในร่างกายที่บอบบางและถูกทำลายได้ง่ายมาก หากเกิดแผลหรือการอักเสบ และไม่ได้รับการรักษา มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ในอนาคต เพราะตับเป็นอวัยวะที่คอยควบคุมการใช้สารอาหารและขับสารพิษในร่างกาย หากไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นทุกคนจึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการดูแลตับอย่างถูกต้อง
เมื่อตับเกิดความผิดปกติ ร่างกายจะแสดงอาการต่างๆ เพื่อเป็นสัญญาณให้เรารู้ ซึ่งอาการของโรคตับมีหลายอาการแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค แต่สามารถสังเกตอาการโดยรวมได้ ดังนี้
- ท้องบวม
- อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
- อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม
- ปวดแน่นบริเวณชายโครงเป็นประจำ
- ท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
เมื่อร่างกายรู้สึกมีอาการผิดปกติ และคาดว่าเป็นผลมาจากภาวะความผิดปกติของตับตามที่สังเกตอาการไปข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำควบคู่ไปกับวิธีการดูแลตับได้ด้วยตัวเองดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับในเวลากลางคืนช่วยฟื้นฟูตับได้ เพราะขณะที่หลับสนิทเลือดจะไหลเวียนได้ดี สารอาหารในเลือดจะไปซ่อมแซม และบำรุงตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สารประกอบที่อยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของตับ ส่งผลให้ไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นจนเกิดเป็นไขมันพอกตับ และหากตับเกิดการอักเสบเรื้อรังจะนำไปสู่การเกิดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้
3. ลดความถี่ในการรับประทานอาหารสำเร็จรูป
ในอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักมีสารกันบูดหรือสารกันเสีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ หากร่างกายได้รับสารกันเสียมากเกินไปตับจะทำงานหนักมากและส่งผลต่อการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้
4. ไม่รับประทานยาเกินความจำเป็น
การรับประทานยามากเกินความจำเป็น หรือรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้น ดังนั้นควรรับประทานยาเท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่งและไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
5. ไม่รับประทานอาหารค้างคืน
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเก่าเก็บ เพราะในอาหารบางประเภทที่ถูกปรุงไว้นานเกินไปจะเสี่ยงกับสารเคมี หรือสิ่งปนเปื้อนได้ เช่น สารโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง
6. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอื่นๆ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน สารพิษ สารเคมี นอกจากนี้ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่นอนดึก และต้องหลีกเลี่ยงความเครียด
7. เสริมด้วยสารอาหารบางอย่างๆ ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำซึ่งสามารถช่วยดูแลตับได้ดี แนะนำให้มองหาตัวช่วยแบบครบถ้วน ดังนี้
7.1 ช่วยให้ตับเผาผลาญไขมันได้ดี ได้แก่ บริเวอร์ยีสต์ (Brewer’s Yeast ) โคลีน (Choline) ไอโนซิทอล (Inosital) เลซิติน (Lecithin) สารสกัดจากดอกอีฟนิ่งพริมโรส(Evening Primrose Oil)
7.2 ช่วยกำจัดสารพิษ ได้แก่ แอล เมทไธโอนีน (L-Methionine) ช่วยในกระบวนการกำจัดสารพิษในตับ สารสกัดจากรากต้นแดดิเลียน (Dandilion Root Extract)
7.3 ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ซีลิเนียม(Selenium Methionine Complex)
7.4 ช่วยระบบย่อยอาหารและปรับสมดุลกรดด่าง ได้แก่ สารสกัดแอปเปิ้ล (Apple Vinegar Powder)
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีตัวช่วยสำหรับผู้ที่มีัปัญหาความผิดปกติของตับ ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรครบถ้วน ที่ช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับ เพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษในตับ และยังช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคตับได้ด้วย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญและสะดวกอย่างมาก เพื่อผู้ป่วยโรคตับให้มีโอกาสฟื้นฟูตับได้ดียิ่งขึ้น ถ้าไม่อยากให้ตับป่วยจนสายเกินแก้ ควรหมั่นดูแลตับของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ… ด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details/Uncategorized/10-อาการเตือนว่า-“โรคตับ”
2. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=793
3. http://www.kasemrad.co.th/Bangkae/th/site/health_articles/detail/115