'โรคเบาหวาน' คืออีกหนึ่งโรคร้ายที่ใกล้ตัวคนไทย จากข้อมูลพบว่ามีประชากรไทยกว่า 4.8 ล้านคน ป่วยด้วยโรคเบาหวาน แต่มีเพียง 0.9 ล้านคนเท่านั้น ที่บรรลุเป้าหมายทางการรักษา ทำให้โรคเบาหวานถูกจัดขึ้นแท่นให้เป็นโรคเรื้อรังอันดับต้นๆ ของคนไทย
อีกข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจะมีสร้างอนุมูลอิสระ (Oxidants) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายและเสื่อมลง จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ อาการชาตามปลายมือปลายเท้า เนื่องจากอนุมูลอิสระดังกล่าวไปทำลายปลายประสาทจนเกิดการอักเสบ อีกทั้งอาการชาบริเวณปลายเท้าเองเป็นสาเหตุของการเกิดบาดแผลบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาการชาทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวเมื่อเกิดบาดแผล เมื่อแผลบริเวณเท้าติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการรักษายากลำบาก และอาจเกิดการลุกลามจนนำมาซึ่งการสูญเสียอวัยวะดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตาที่ส่งผลต่อการมองเห็น ภาวะหลอดเลือดในสมอง และภาวะไตวายได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการดูแลและป้องกันตั้งแต่แรก
ด้วยเหตุผลต่างๆ นี้เอง เป้าหมายสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน คือการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะของโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน หรือควบคุมอาการแทรกซ้อนไม่ให้ลุกลาม
สนใจหัวข้ออะไร... คลิกเลย
การดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันและควบคุมโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการปรับอาหาร
อาหารในแต่ละมื้อที่รับประทานมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างยิ่ง เพื่อควบคุมเบาหวานและโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นกินพืชผักและผลไม้มากกว่าการทานเนื้อสัตว์ ควบคุมอาหารกลุ่มคาร์โบเดรต หรือจำพวกแป้ง โดยแนะนำให้ทานคาร์โบไฮเดตรเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง เพื่อให้ร่างกายค่อยๆค่อย และดูดซึม ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงในทันทีภายหลังรับประทาน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานจัดเนื่องจากเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และเลี่ยงของมันของทอด หรือเลือกทานอาหารมื้อทดแทนสูตรทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ ร่วมกับการเฝ้าระวังอาการและวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป เพราะโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานมักเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ
2. เติมเต็มสารอาหารที่สามารถป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนบางชนิดได้
นอกจากการเลือกทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อควบคุมระดับน้ำตามในเลือดให้เป็นไปตามเกณฑ์แล้วนั้น อีกหนึ่งทางเลือกที่ถือเป็นตัวช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้
แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (alpha lipoic acid)
แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (alpha lipoic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ โดยทั่วไป alpha lipoic acid พบใน ผักบล๊อกโคลี่ น้ำมันรำข้าว มีการศึกษาพบว่า แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย (Universal antioxidant) เพราะละลายได้ทั้งไขมันและน้ำ ทำให้สามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระ (Oxidants) อันเป็นสาเหตุของการทำลายเซลล์ต่างๆจนเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ในทุกๆ เซลล์ของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะไปเพิ่มความไวของอินซูลิน ทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทาน แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (alpha lipoic acid) วันละ 300 - 600 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
วิตามินบี 1-6-12 และสารต้านอนุมุลอิสระ
อาการชาจากปลายประสาทอักเสบ เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยจะมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ทำให้เมื่อผู้ป่วยมีการรับรู้ความรู้สึกบริเวณปลายมือปลายเท้าลดลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากร่างกายมีอนุมูลอิสระ (Oxidant) มากเกินไป ทำให้เยื่อหุ้มประสาทถูกทำลายจนไม่สามารถนำกระแสประสาทได้ และร่างกายขาดวิตามินบี 1-6-12 ที่เป็นสารอาหารช่วยบำรุงระบบประสาท นอกจากนี้เพื่อให้สามารถรักษาอาการชาจากปลายประสาทอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิตามินบี 12 ควรอยู่รูปแบบเมทิลโคบาลามิน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่สามารถออกฤทธิ์ได้ในทันทีเพื่อรักษาการชา ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวิตามินบี 1-6-12 และสารต้านอนุมุลอิสระ จึงรักษาอาการชา ทั้งที่ต้นเหตุและปลายเหตุของการชาปลายมือปลายเท้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (คลิกอ่านเรื่องอาหารของคนเป็นเบาหวาานได้ที่นี่)
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานสามารถจัดการได้ ส่วนหนึ่งมาจากความมีวินัยของตัวผู้ป่วยเองทั้งเรื่องการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ในเรื่องการใช้ยา การเฝ้าระวังอาการของโรค การตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สำคัญคือต้องเลือกทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอ เพราะหากสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้นั้น ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถมีสุขภาพที่ดีใกล้เคียงกับคนทั่วไป และห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ ด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
1. American Diabetes Association. 9. Standards of Medical Care in Diabetes—2019. Diabetes care. 2019.
2. World Health Organization. Diabetes. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes
3. Tripathi BK, Srivastava AK. Diabetes mellitus: complications and therapeutics. Medical science monitor. 2006 Jul 1;12(7):RA130-47.
4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ. เบาหวานน่ารู้. 2563