5 อาชีพเสี่ยงข้อเสื่อม

5 อาชีพเสี่ยงข้อเสื่อม

งานที่คุณทำ เสี่ยงข้อเสื่อมหรือไม่?

     หลังจากที่ทำความรู้จักกับ 5 อาชีพ ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ ครู/อาจารย์ แอร์โฮสเตส พริตตี้/MC และนักวิ่ง ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงในการเกิด ‘ข้อเสื่อม’ กันไปในบทความที่แล้ว ครั้งนี้ยังมีอีก 5 อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อมด้วยเช่นกัน ดังนี้

       นักดนตรี
            อาชีพนักดนตรีเป็นอาชีพที่หลายคนมองว่าสบาย แต่แท้จริงแล้วการเล่นดนตรีในแต่ละครั้ง จะต้องอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่เล่นกีต้าร์ จะต้องทำการฝึกฝนและใช้ข้อมือรวมถึงข้อนิ้วมือเป็นประจำ มือกลองจะต้องนั่งตีกลองอยู่ในท่าเดิม ๆ จนอาจเกิดการกดทับบริเวณกระดูกสันหลัง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อมได้ในระยะยาว

       พนักงานขนส่งสินค้า 
            อาชีพนี้เป็นอาชีพยอดฮิตในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการซื้อขายในยุคนี้เน้นการขายในช่องทางออนไลน์ ซึ่งพนักงานขนส่งสินค้าจะต้องทำการขนสินค้าและยกของอยู่บ่อยครั้ง และการยกของที่มีน้ำหนักมากหากทำไม่ถูกวิธีจะก่อให้เกิดแรงกระแทกและกดทับบริเวณข้อกระดูกสันหลังรวมถึงข้อเข่า ซึ่งหากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จะทำให้กระดูกผิวอ่อนผิวเสียหายและเกิดข้อเสื่อม

       ช่างเสริมสวย
            เป็นอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานาน ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว การเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องและติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการกดทับ ส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อม และในระยะยาวจะเกิดการโค้งงอของข้อเข่าจนไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก

       ทันตแพทย์
            คงไม่มีใครคาดคิดว่า อาชีพทันตแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อม เพราะในขณะทำการรักษาคนไข้นั้น ทันตแพทย์จะต้องนั่งและมีการบิดตัว เอี้ยวตัว เกร็งข้อมือและนิ้วมือมากกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการปวดต้นคอ บาดเจ็บบริเวณข้อกระดูกสันหลัง และอาจเกิดข้อนิ้วล็อกหรืออักเสบ นำไปสู่ภาวะข้อเสื่อมได้

       สถาปนิก
           วิถีการทำงานของสถาปนิกจะต้องใช้สมาธิในคิดและออกแบบงาน จึงจำเป็นต้องนั่งเขียนแบบงานติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเสื่อมโดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลังเช่นเดียวกันกับพนักงานออฟฟิศรวมถึงอาการนิ้วล็อก และอาจเกิดการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่า และหลังร่วมด้วย

     นี่คืออีก 5 อาชีพที่มีความเสี่ยงที่กับภาวะข้อเสื่อมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งกว่าจะทำการรักษาได้นั้น อาจต้องเผชิญกับภาวะทุพพลภาพ ที่ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ดังนั้นการป้องกันและดูแลข้อจึงสำคัญกับอาชีพเหล่านี้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีความเสี่ยงจากพันธุกรรมและการดำเนินชีวิต

     หมั่นบริหารข้ออยู่เสมอและเติมความแข็งแรงด้วยคอลลาเจนสูตรทางการแพทย์ ช่วยบำรุงข้อด้วยการเสริมคอลลาเจน ที่มีส่วนช่วยเพื่อข้อกระดูกอ่อน และยังช่วยเพิ่มน้ำเลี้ยงข้อ เพื่อให้การเคลื่อนไหวข้อสะดวกขึ้น ส่งผลให้ข้อกระดูกมีความแข็งแรง ชะลอความเสื่อมของข้อ ให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างไร้กังวลเรื่องข้อเสื่อม ด้วยความห่วงใยจาก Fortigel_MEGA We care


ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.rama.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/osteoarthritis_0_1.pdf
https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/knee_book_0.pdf
https://www.posttoday.com/life/healthy/82286
https://www.thairath.co.th/content/116004

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้