รู้หรือไม่ว่า…คนไทยจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับตับ? โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนยุคนี้ที่ดื่มหนัก ชอบซื้อยามากินเอง กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดการดูแลตัวเอง พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับตับทั้งสิ้น ทั้งภาวะไขมันพอกตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ มะเร็งตับ รวมไปถึงโรคอื่นๆที่จะตามมาในอนาคตหากตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากตับคือหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย จะต้องดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ตับเสื่อมก่อนวัยอันควร ครั้งนี้ MEGA We care มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน
ร่างกายของคุณ มีปริมาณ “เลซินติน” (Lecithin) ที่ช่วยบำรุงตับเพียงพอแล้วหรือยัง?
เลซิติน...ช่วยบำรุงตับ และลดการทำลายเซลล์ตับ ได้จริงหรือไม่?
เลซิตินช่วยยับยั้ง บรรเทาอาการของโรคตับชนิดต่างๆได้อย่างไรบ้าง?
ทำอย่างไรให้ร่างกายได้รับ เลซิติน ในปริมาณที่เพียงพอ ?
เลซิติน (Lecithin) คือสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบีอีก 2 ตัว ได้แก่ โคลีน(Choline) และอินอสซิตอล (Inositol) โดยทั่วไปแล้วเลซิตินนั้นจะอยู่ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ รวมไปถึงในร่างกายของคนเราด้วย โดยจะพบมากในอวัยวะสำคัญๆต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ และสมอง ที่มีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30% ด้วยเหตุนี้เองจึงกล่าวได้ว่า เลซิติน เป็นสารที่จำเป็นและมีบทบาทต่อการควบคุมกระบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จริง เนื่องจากสารสำคัญที่พบในเลซิตินนั้นเป็นสารที่มีความสำคัญ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย รวมถึงเซลล์ตับด้วย นอกจากนี้สารสำคัญในเลซิตินยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติทั้งจากการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบ่อย การได้รับสารเคมีหรือสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ตับ และช่วยป้องกันตับถูกทำลาย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เลซิติน มีบทบาทในการช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับได้
มีผลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ของ Lieber และคณะในปี ค.ศ. 2003 ที่ได้มีการรวบรวมผู้ป่วยด้วยโรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 789 ราย โดยได้ให้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน (สารสำคัญที่มีอยู่ในเลซิติน) เป็นเวลาต่อเนื่องนาน 24 เดือน หลังจากการรักษาพบว่าผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์ที่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน มีแนวโน้มที่ดีและค่าเอมไซม์ของตับที่ดีขึ้นด้วย
การรับประทานยาเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคตับได้ ด้วยเหตุนี้เองแพทย์จึงได้มีการศึกษาหาวิธีป้องกันภาวะตับอักเสบที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านวัณโรค โดยมีการนำคนไข้จำนวน 340 คน ส่วนหนึ่งให้รับยาต้านวัณโรคควบคู่ไปกับกับฟอสฟาทิดิลโคลีน (สารสำคัญในเลซิติน) ปริมาณ 900 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน แล้วพบว่ากลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาต้านวัณโรคร่วมกับฟอสฟาทิดิลโคลีน ไม่พบค่าความผิดปกติของค่าเอมไซม์ของตับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฟอสฟาทิดิลโคลีน กลับพบว่าค่าเอมไซม์ของตับสูงขึ้นกว่าปกติ
ภาวะไขมันพอกตับ คือ ภาวะที่มีไขมันอยู่ในเซลล์ตับโดยที่คนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา เซลล์ไขมันนี้จะไม่ก่อให้เกิดการเสียหายหรืออักเสบกับตับในระยะแรก แต่ผู้ป่วยบางส่วนที่มีไขมันพอกตับจะเกิดการอักเสบของตับ จนทำให้เกิดภาวะตับแข็งได้ในที่สุด แล้ว เลซิติน ช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้อย่างไร?
โคลีนในเลซิตินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ตับ พบว่าหากขาดโคลีนจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้
โคลีนจะมีผลในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับ ทำให้ไขมันถูกนำไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น
เลซิตินมีผลในการช่วยลดไขมันในเลือด โดยเฉพาะไขมันโคเลสเตอรอลที่เป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นการรับประทานเลซิตินจะทำให้ลดโอกาสเกิดภาวะไขมันพอกตับได้
ร่างกายของคนเราสามารถผลิต 'เลซิติน' ขึ้นได้เองที่ 'ตับ' ซึ่งสารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่นๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามคุณสามารถเสริมเลซิตินให้กับร่างกายได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งแหล่งอาหารธรรมชาติที่มีเลซิติน ได้แก่ ไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี เป็นต้น แต่ต้องรับประทานอย่างระวังเนื่องจากอาหารเหล่านี้ให้โคเลสเตอรอลสูง ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลายคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเลซิตินในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นการรับประทานเลซิตินเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีของคนรักสุขภาพ โดยปัจจุบันได้มีการสกัดเลซิตินจากไข่แดงและถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองถือเป็นแหล่งที่ดีในการสกัดเลซิติน เนื่องจากไม่มีไขมันโคเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าต่อร่างกาย
เพื่อให้ร่างกายของคุณได้รับเลซิตินในปริมาณที่เพียงพอ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แนะนำว่าควรเลือกเลซิตินที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GMP ของประเทศไทย BfArM ของประเทศเยอรมัน TGA ของประเทศออสเตรเลีย ที่จะทำให้มั่นใจในคุณภาพของเลซิตินได้ว่าผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี สามารถมั่นใจในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการรับประทาน และมั่นใจว่าได้รับเลซิตินที่บริสุทธิ์ ปราศจากสารฟอกสี สารแต่งสี และรส เพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาว
ด้วยความห่วงใยจาก _MEGA We care