ผู้ชายวัยทำงานหลายๆ คน เมื่ออายุที่เพิ่มขึ้น อาจรู้สึกว่าร่างกายของตัวเองมีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น กล้ามเนื้อไม่ฟิตกระชับ รู้สึกเหนื่อยง่าย ผมหงอก ผมร่วง สมรรถภาพทางเพศลดน้อยลง ทั้งหมดนี้ มีผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งนอกจากฮอร์โมนเทสโทสเทอร์โรน (testosterone) แล้ว ยังมีอีกตัวหนึ่ง ฮอร์โมนที่สำคัญนั้นก็คือ ‘โกรทฮอร์โมน’ (Growth Hormone)
ช่วยเผาผลาญไขมันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ผู้ชายเสริมโกรทฮอร์โมนได้อย่างไร
โกรทฮอร์โมน คือ ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตและการชะลอวัย (anti-aging) เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ทำหน้าที่สร้างการเจริญเติบโต ทำให้ผู้ชายมีความสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงวัยรุ่น นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญของร่างกายทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อสามารถทำงานได้อย่างปกติ แข็งแรงมากขึ้น และมีการเผาผลาญอาหารที่ดี
โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากกรดอะมิโน (amino acid) ที่ได้รับจากการทานอาหารกลุ่มโปรตีน ซึ่งกรดอะมิโนที่สำคัญและมีผลต่อการสร้างโกรทฮอร์โมน ได้แก่ L- Arginine, L-Lysine,L- Ornithine L-Glutamine, L-Leucine, L-Isoleucine และ L-Valine
อย่างไรก็ตามพบว่าโกรทฮอร์โมนจะมีการหลั่งในช่วงเวลากลางคืน และร่างกายจะผลิตฮอร์โมนนี้สูงสุด ประมาณตอนอายุ 15 ปี ซึ่งจะมีผลต่อความสูง นำไปสู่การเจริญเติบโตสูงวัยเจริญพันธุ์ และโกรทฮอร์โมนจะค่อยๆ ลดน้อยลง เมื่ออายุ 25 ปี ขึ้นไป โดยลดลงถึง 14% ในทุกๆ 10 ปี ทำให้ร่างกายเข้าสู่การเสื่อม ทำให้เกิดการอ่อนล้า นอนหลับยาก กล้ามเนื้ออ่อนล้า และสมรรถภาพทางเพศลดน้อยลง
โกรทฮอร์โมนมีความสำคัญกับทุกเพศทุกวัย แต่สำหรับผู้ชายนั้นการมีปริมาณโกรทฮอร์โมนที่สูงเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ชายในด้านต่างๆ เช่น
การที่มีปริมาณโกรทฮอร์โมนเพียงพอในร่างกาย ทำให้ระบบการเผบผลาญไขมัน และกล้ามเนื้อเป็นไปได้อย่างปกติ การศึกษาวิจัยพบว่า การออกกำลังกาย และการได้รับกระอะมิโนที่เพียงพอ ช่วยกระตุ้นการสร้าง และการหลั่งโกรทฮอร์โมนในร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้การได้รับกรดอะมิโนอย่าง L-Arginine ยังช่วยลดอาการเหนื่อยเพิ่มความทนทานในการออกกำลังกาย และช่วยเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความฟิต กระชับ กล้ามเนื้อชัดเจนมากขึ้น
เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง ทำให้เกิดภาวะพร่องโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone Deficiency) ซึ่งมักจะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ผลจากการพร่อมโกรทฮอร์โมนนี้เอง จะส่งผลให้เกิดความเสื่อมของร่างกายและสมรรถภาพต่างๆ เช่น ผมบางหลุดร่วง เปลือกตาเริ่มตก ใบหน้าเหี่ยวย่น อ้วนง่าย ลงพุง
การพร่องโกรทฮอร์โมน ไม่ได้เพียงแค่ส่งผลต่อความเสื่อมถอยทางร่างกายเท่านั้น แต่ผู้ชายที่มีโกรทฮอร์โมนน้อยลง ยังส่งผลอต่อสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย โดยอาจมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เต็มที่ ปัญหาการหลั่งเร็ว และรวมถึงการสร้างเซลล์อสุจิ มีการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างอสุจิและการเจริญพันธุ์ของเพศชาย อีกทั้งยังลดโอกาสภาวะการมีบุตรยาก
ออกกำลังกาย พักผ่อน และได้รับกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ สิ่งที่ง่ายที่สุดของการเสริมสร้างระดับโกรทฮอร์โมนในผู้ชาย คือการปรับพฤติกรรมของตนเอง (Lifestyle Modification) โดยเริ่มจากการออกกำลังกาย ที่สารมารถเพิ่มอัตราการสร้างโกรทฮอร์โมนขึ้นได้ โดยพบว่า การออกกำลังกายแบบ High intensity ในระยะเวลาเพียง 10 นาที สามารถเพิ่มประมาณการหลังฮอร์โมนในร่างกายได้เพิ่มขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น โกรทฮอร์โมน จะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเที่ยงคืน การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรนอนไม่เกิน 4-5 ทุ่ม จึงสามารถช่วยทำให้ร่างกายมีการหลั่งโกรทฮอร์โมทได้ตามระยะเวลาดังกล่าว
สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนคือการได้รับกรดอะมิโน ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างโกรทฮอร์โมนที่สำคัญอย่างครบถ้วน และเพียงพอ ทั้ง L- Arginine, L-Lysine,L- Ornithine L-Glutamine, L-Leucine, L-Isoleucine และ L-Valine โดยรับประทานโปรตีนที่มีความหลากหลาย เช่น โปรตีนจากเนื้อแดง(เนื้อวัว) เนื้อไก่ เนื้อซี่โครงหมู ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม แต่สำหรับคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ สามารถหาโปรตีนจากพืชทดแทนได้ อย่างเช่น ถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี ถั่วลิสง เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลือง แต่ ณ ปัจจุบันชีวิตที่เร่งรีบจนไม่มีเวลาดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพ การทานอาหารเสริมจนช่วยประหยัดเวลาและสะดวกต่อการรับประทานเป็นอย่างมาก เพราะโกทรฮอร์โมนคือจุดเริ่มต้นของสุขภาพดี ที่ตัวคุณเองสามารถทำได้ ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Godfrey RJ, Madgwick Z, Whyte GP. The exercise-induced growth hormone response in athletes. Sports Med. 2003;33(8):599-613. doi: 10.2165/00007256-200333080-00005. PMID: 12797841.
Magon, N., Singh, S., Saxena, A., & Sahay, R. (2011). Growth hormone in male infertility. Indian journal of endocrinology and metabolism, 15(Suppl3), S248.
สุรพล นธการกิจกุล. (2013). เวชศาสตร์อายุรวั ฒน์และการให้ฮอร์โมนเสริม (Anti-aging Medical and Hormone Replacement Therapy). Journal of Liberal Arts, Maejo University, 1(1), 1-25.
https://www.healthline.com/nutrition/11-ways-to-increase-hgh