แคลเซียม (Calcium) สารอาหารที่กระดูกขาดไม่ได้

แคลเซียม (Calcium) สารอาหารที่กระดูกขาดไม่ได้

แคลเซียม (Calcium) แร่ธาตุสำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้

     รู้หรือไม่... แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของน้ำหนักตัว และปริมาณของ แคลเซียม (Calcium) จะมีมากในกระดูกถึงร้อยละ 99 โดยกระดูกแต่ละชิ้นประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่ปกคลุมกระดูกไว้ หรือที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก ซึ่งจะมีเซลล์จำนวนมากที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูก โดยปกติกระดูกจะมีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งโครงกระดูกของร่างกาย ซึ่งการสร้างกระดูกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อร่างกายมีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ

  สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  ความสำคัญของแคลเซียม (Calcium)

  เสริมแคลเซียม (Calcium) อย่างไรให้ปลอดภัย?

  วิธีการเลือกซื้ออาหารเสริมแคลเซียม (Calcium)

 

ความสำคัญของแคลเซียม (Calcium)

     เมื่อพูดถึงความสำคัญของแคลเซียม (Calcium) ถ้าในช่วงวัยเด็กได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง อีกทั้งจะเห็นได้ชัดว่าร่างกายมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ สมวัย ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ นอกจากนี้แคลเซียมยังช่วยควบคุมกลไกการแข็งตัวของเลือดให้เป็นไปอย่างปกติ, ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ดีขึ้น และยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยทุกชนิด หากมีแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้ระบบน้ำย่อยทำงานอย่างปกติดี 
     ส่วนช่วงวัยผู้ใหญ่บทบาทของแคลเซียมที่มีต่อร่างกายก็ไม่ต่างจากวัยเด็กมากนักเพียงแต่แคลเซียมให้ประโยชน์ในการรักษาสมดุลของมวลกระดูกให้คงอยู่ในร่างกายให้นานที่สุด เพราะหลังจากอายุ 35 ปีขึ้นไป แคลเซียมไม่สามารถเสริมสร้างกระดูกได้ ดังนั้นในวัยผู้ใหญ่ที่ต้องการให้กระดูกที่แข็งแรง สามารถเสริมแคลเซียมตามปริมาณที่แพทย์แนะนำตามช่วงวัยได้ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนที่เกิดขึ้นถ้าเราขาดแคลเซียม

How-to-take-calcium-infographic


เสริมแคลเซียม (Calcium) อย่างไรให้ปลอดภัย?

     แท้จริงแล้วการเสริมแคลเซียม (Calcium) ในวัยผู้ใหญ่ ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงอายุ 35 ปี ก็ควรเสริมได้แล้ว เพราะในวัย 30 ปี กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุดและจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น

โดยเราสามารถได้รับแคลเซียมได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไปเช่น
   นมพ่องมันเนย 1 กล่อง (200 ซีซี) ให้ปริมาณแคลเซียม 246 มิลลิกรัม
   นมถั่วเหลือง 1 กล่อง (200 ซีซี) ให้ปริมาณแคลเซียม 200-240 มิลลิกรัม
   นมสด 1 กล่อง (200 ซีซี) ให้ปริมาณแคลเซียม 226 มิลลิกรัม

และสำหรับใครที่แพ้นมอาจเลี่ยงมารับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคลเซียมก็ได้เช่นกัน
   ใบยอ 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 469 มิลลิกรัม
   ยอดดอกแค 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 395 มิลลิกรัม
   ผักคะน้า 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 245 มิลลิกรัม

แต่ถ้าไม่ชอบผัก ก็สามารถหันมารับประทานเนื้อสัตว์ได้ เช่น
   ปลาฉิ้งฉ้าง 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 537 มิลลิกรัม
   กุ้งฝอย 1 ช้อนโต๊ะ ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 134 มิลลิกรัม
   กุ้งแห้งตัวเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 138 มิลลิกรัม

    อย่างไรก็ตามหากรับประทานแคลเซียมให้ได้ตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ อาจต้องรับประทานอาหารดังกล่าวในปริมาณมาก ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมมาให้เลือกสรรมากมาย แต่จะเลือกอย่างไรให้แน่ใจว่าสามารถได้รับปริมาณที่ครบถ้วนและปลอดภัย

วิธีการเลือกซื้ออาหารเสริมแคลเซียม (Calcium)

1.  เลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอ 
      โดยเลือกปริมาณแคลเซียมอิสระต่อเม็ด 600-800 มิลลิกรัม

2.  เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินและแร่ธาตุ
      โดยเฉพาะ วิตามินดี ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยควบคุมการทำงานของแคลเซียม เพื่อให้กระบวนการสร้างมวลกระดูกเป็นไปอย่างปกติ

3.  เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตราฐาน
     ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยว่าไร้สารพิษหรือสารอันตรายอย่างแน่นอน

4.  เลือกรูปแบบที่เป็นแคปซูลนิ่ม
     เนื่องจากแคลเซียมที่บรรจุอยู่ในแคปซูลนิ่ม มีลักษณะเป็น 'แคลเซียมเหลว' เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจึงไม่มีปัญหาเรื่องการละลาย และมีอีกหนึ่งข้อดีก็คือ สามารถดูดซึมได้รวดเร็ว ร่างกายจึงรับประโยชน์จากแคลเซียมได้อย่างเต็มที่

     ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของแคลเซียม (Calcium) สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ !!! จะเห็นได้ว่าแคลเซียมมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่ได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่และทำให้มวลกระดูกบางลงในวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้หากจะเสริมแคลเซียมก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มารตรฐานเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและคนที่คุณรัก…ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :
1.  http://www.bknowledge.org/link/content/bshow/srch/1/blid/2

2.  https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-กระดูกและข้อ/แคลเซียม---กับการสูญเสียกระดูก

3.  https://www.pobpad.com/แคลเซียม

4.  https://www.thaihealth.or.th/Content/44240-ความสำคัญของแคลเซียมต่อร่างกาย.html

5.  https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/834

6.  https://www.thaihealth.or.th/Content/19450-เด็กไทย%20เตี้ยและผอม%20เพราะขาดแคลเซียม.html

https://my-best.in.th/32182

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้