ถ้าอยากให้คุณมีผิวขาว สวย ควบคู่ไปกับการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง บทความนี้เราจึงมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับกลูต้าไธโอน (Glutathione) มาบอกกัน พร้อมไขข้อข้องใจที่ว่า กลูต้าไธโอนแบบกินนั้นช่วยทำให้ผิวขาวได้จริงหรือ, การฉีดผิวขาวปลอดภัยแค่ไหน พร้อมทั้งอธิบายว่าโรคด่างขาวคืออะไร แล้วจริงหรือไม่ที่กลูต้าไธโอน (Glutathione) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคด่างขาว?
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ทำความรู้จักกับ กลูต้าไธโอน (Glutathione)
กลูต้าไธโอน (Glutathione) ที่นิยมใช้เพื่อปรับสีผิวให้ดูขาวขึ้นมีที่แบบ
“โรคด่างขาว” (Vitiligo) ต้นเหตุจากกลูต้าไธโอน (Glutathione)
ทำไม "โรคด่างขาว" (Vitiligo) จึงน่ากลัว?
อยากมีผิวขาวอย่างปลอดภัยต้องทำอย่างไร?
ทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมคือการดูแลผิวจากภายใน
คุณค่าจาก 3 สารอาหาร ให้กลูต้าไธโอน (Glutathione) จากธรรมชาติ เพื่อผิวขาวใสอย่างปลอดภัย
กลูต้าไธโอน (Glutathione) คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซิสเตอิน (Cystein), ไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) แต่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ว่า… ความจริงแล้วร่างกายของคนเราสามารถผลิตกลูต้าไธโอนขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยจะพบมากที่บริเวณตับ และโปรตีนชนิดนี้จะทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และยังช่วยตับในการขจัดสารพิษต่างๆออกจากร่างกายได้ ด้วยเหตุนี้เองทางการแพทย์จึงได้มีการนำกลูต้าไธโอนมาใช้รักษาโรคบางชนิด และต่อมาได้มีการนำกลูต้าไธโอนมาใช้ในด้านความสวยความงามอย่างแพร่หลาย เพราะเชื่อกันว่าสามารถช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้สำหรับคนอยากขาวก็คือ กลูต้าไธโอน (Glutathione) คือตัวช่วยเพื่อผิวขาวที่มาพร้อมความเสี่ยง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
โรคด่างขาว (Vitiligo) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีผิว (Melanocyte) ซึ่งเซลล์ดังกล่าวอาจถูกทำลายหรือหยุดการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin) ด้วยปัจจัยหลายอย่างจนทำให้เกิดเป็นด่างสีขาวคล้ายน้ำนมตามผิวหนัง และสาเหตุก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เพราะมีปัจจัยหลายอย่างเช่น เกิดจากกรรมพันธุ์ เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนังหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและมักเกิดขึ้นได้บ่อยกับทุกคนโดยไม่ทันรู้ตัว คือ แสงแดด ความเครียด และสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น การฉีดกลูต้าไธโอน เข้าหลอดเลือดมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคด่างขาว เพราะจะส่งผลให้เซลล์ผิวหนังที่ชื่อ เมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิว (Melanin) หยุดทำงานหรือถูกทำลาย สีผิวจึงเริ่มซีดและค่อยๆ เปลี่ยนไป จนเป็นด่างขาว ในบางรายอาจมีผิวแดง อักเสบ มีสีผิวที่เข้มขึ้น หรืออาจมีอาการคันร่วมด้วย
โรคด่างขาว (Vitiligo) ไม่ใช่แค่ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะขาดเม็ดสีผิว (Melanin) ซึ่งทำให้ผิวมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าคนทั่วไป จึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง อีกทั้งยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เกิดปัญหากับดวงตา เช่น ม่านตาอักเสบ สูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือหูตึง ทำให้ผิวแห้งและคัน เป็นต้น และเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคด่างขาว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีผิวถูกทำลาย หรือทำงานผิดปกติ หนึ่งในนั้นคือการฉีดผิวขาวและการรับประทานกลูต้าไธโอนด้วย
การดูแลผิวจากภายในด้วยกรดอะมิโนที่มีบทบาทเป็นสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอน อย่าง L-Cysteine เพราะจะไปช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดสีฟีโอเมลานิน (เม็ดสีที่พบในคนผิวขาว) และช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไทโรซิเนสที่หากมีมากเกินไปจะทำให้สีผิวดูเข้มขึ้น และ สารสกัดจากมะขามป้อม (Amla extract) ที่เป็นแหล่งของวิตามินซีปริมาณสูงจากธรรมชาติ จะช่วยเสริมประสิทธิการทำงานของ L-Cysteine ช่วยกระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน ได้เพิ่มขึ้น และอีกหนึ่งสารอาหาร คือ Grape seed extract หรือสารสกัดเมล็ดองุ่น ที่มี OPC เข้มข้น มีฤทธ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่าวิตามินซีและวิตามินอี ทั้งยังช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV ยับยั้งเอ็นไซม์คอลลาจิเนสซึ่งเป็นตัวการทำลายคอลลาเจน จึงช่วยทำให้ผิวแข็งแรง ยืดหยุ่นดีขึ้นและให้ผิวขาว สุขภาพดี แบบครบสูตรได้นั่นเอง
1. แอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine)
เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างการสร้างเองได้ แต่มีปริมาณน้อย และสามารถได้เพิ่มจากการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย ดังต่อไปนี้
1.1 ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรตีนในร่างกาย เช่น ผิว ผม เล็บเป็นต้น
1.2 ช่วยกระตุ้นการสร้างกูลต้าไธโอนในร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระโดยแอล-ซีสเทอีน จะทำงานร่วมกับกรดอะมิโนอีก 2 ชนิด คือ แอล-กลูตาเมต (L-Glutamate)และแอล-ไกลซีน (L-Glycine) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้พบมากในร่างกาย
1.3 กระตุ้นการสร้างเม็ดสีฟีโอเมลานินให้เพิ่มขึ้น หรือมีสีผิวขาวขึ้น
1.4 ช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไทซิเนส ไม่ให้เปลี่ยนเป็นโดปาควินโนน(DOPA-quinone) ซึ่งมีผลทำให้สร้างเม็ดสีน้อยลง
1.5 กระตุ้นการทำงานของ เอ็นไซม์อื่นๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่างๆ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและ ไวรัส ทำให้อาการโรคติดเชื้อต่างๆหายๆได้เร็วยิ่งขึ้น
2. Amla extract (สารสกัดมะขามป้อม)
สารสกัดมะขามป้อมเป็นแหล่งที่อุดมด้วยวิตามินซีสูง และยังมีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลอีกด้วย เรียกได้ว่าสารสกัดมะขามป้อมมีบทบาทเป็นสารต้านอนุมุลอิสระที่ให้ฤทธิ์ที่แรงอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน โดยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไทโรซิเนส
2.2 เสริมประสิทิธิภาพการทำงานของแอล-ซีสเทอีน จึงช่วยรักษาปริมาณกลูต้าไธโอนในร่างกาย
3. Grape seed extract (สารสกัดเมล็ดองุ่น)
มีสาระสำคัญที่ชื่อ โอลิโกเมอริค โปรแอนโธไซยานิน (oligomeric proanthocyanidin) หรือ OPC ซึ่งเป็นกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์
3.1 มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพแรง มีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินอีและซี จึงเรียกว่า super anti-oxidant
3.2 ยับยั้งเอ็นไซม์คอลลาจิเนส(collaginase) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายคอลลาเจน
3.3 เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวยืดหยุ่นดี
3.4 ช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตผ่าน ระบบหลอดเลือดฝอยไปทั่วร่างกายมากขึ้น
3.5 ยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน โดยลดปริมาณเอ็นไซม์ไทโรซิเนส
3.6 ปกป้องผิวจากการรังสียูวี ซึ่งมีผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานิน
สารอาหารทั้ง 3 ที่กล่าวมานี้ล้วนมีบทบาทต่อการทำงานของเม็ดสีผิวได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกลูต้าไธโอนหรือ การกระตุ้นการทำงานของเม็ดสีเมลานินก็ตาม เพียงแค่มีการดูแลผิวอย่างถูกวิธี เลือกกลูต้าไธโอนที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ก็จะได้“ผิวขาวเท่ากับสวย” อย่างปลอดภัยและมั่นใจ ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
1. https://www.pobpad.com/โรคด่างขาว
2. http://glutathione-wiki.blogspot.com/2011/09/blog-post_9668.html
3. https://www.phyathai.com/article_detail/3067/th/สีผิวไม่สม่ำเสมอ_สัญญาณโรคด่างขาว...โรคไม่อันตรายแต่ควรรักษาอย่างถูกวิธี