อาหารทางการแพทย์ที่ดีกว่าเป็นอย่างไร?

อาหารทางการแพทย์ที่ดีกว่าเป็นอย่างไร?

   สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย

  ทำไม “อาหารทางการแพทย์” (Medical Food) จึงถูกยกให้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงวัย และทุกคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ?

  อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) คืออะไร?

  อาหารทางแพทย์ (Medical Food) มีประโยชน์อย่างไร?

  อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เลือกอย่างไรให้เหมาะกับแต่ละคน?

  ทำไม…ต้องเลือกอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) สูตรพิเศษ?

ทำไม “อาหารทางการแพทย์” (Medical Food) จึงถูกยกให้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงวัย และทุกคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ?

     ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยและผู้สูงวัย คือ มักจะมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ความเจ็บป่วยและการติดเชื้อ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพต้องเสริมด้วยอาหารมื้อทดแทน หรือ อาหารทางการแพทย์

อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) คืออะไร?

     อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) คือ อาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หรือการแนะนำเพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมต่อโรคที่เป็นอยู่ โดยอาหารเหล่านี้จะมีสัดส่วนของสารอาหารที่เหมาะสม และมีวิตามินแร่ธาตุครบถ้วน ส่วนใหญ่มักแนะนำให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่ร่างกายต้องการสารอาหารบางชนิดเป็นพิเศษหรือต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็สามารถเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ได้ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารมื้อทั่วไปได้อย่างเพียงพอ
 

อาหารทางแพทย์ (Medical Food) มีประโยชน์อย่างไร?

     ในปัจจุบันอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) ได้รับการกล่าวถึงมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์กับร่างกายโดยคุณค่าของอาหารลักษณะนี้มี 3 ข้อได้แก่

1.  ใช้เป็นอาหารหลักแทนอาหารแต่ละมื้อให้กับผู้ป่วยในบางโรค
     อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เหมาะสำหรับผู้ที่กินอาหารไม่ได้ตามปกติโดยเฉพาะผู้ป่วยในบางโรค เช่น ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาร่างกายไม่สามารถย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารหรือเกลือแร่บางชนิด เช่น ผู้ป่วยไตวายหรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เป็นต้น

2.  ใช้เป็นอาหารสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
     ปัญหาที่พ่อแม่จำนวนไม่น้อยต้องพบก็คือ ลูกไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็กซึ่งเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน  โดยอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) สามารถป้องกันการขาดสารอาหาร และแก้ปัญหาให้กับเด็กที่ไม่ยอมรับประทานข้าว รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาแพ้นมวัวและนมถั่วเหลืองจนร่างกายขาดโปรตีนได้

3.  ใช้เป็นอาหารเสริมในการให้พลังงานสำหรับผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหาร
     ผู้ที่มีปัญหาที่ว่านี้อย่างเช่น ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาการบดเคี้ยวอาหารหรืออยู่ในภาวะเบื้ออาหาร รวมทั้งผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยกรทำเคมีบำบัด ที่ส่วนใหญ่พบว่ามีเบื่ออาหาร รับประทานอาหารปกติได้น้อย และเพื่อเป็นการป้องกันร่างกายขาดสารอาหาร รวมทั้งเป็นการช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ใช้อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) กับคนกลุ่มนี้อีกด้วย

อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เลือกอย่างไรให้เหมาะกับแต่ละคน?

1.  ผู้ที่มีร่างกายมีภาวะความเจ็บป่วยมาก
     การเลือกอาหารที่จะรับประทานสำหรับผู้ที่ร่างกายมีภาวะความเจ็บป่วยมากนั้นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายจะมีการใช้โปรตีนมากและต้องการพลังงานมาก ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่เข้มข้น ซึ่งโดยทั่วไปควรได้รับพลังงานจากโปรตีน 20% จากพลังงานที่ได้รับทั้งหมด และเมื่อสภาวะโรคเข้าสู่ระยะที่ดีขึ้นหรือเป็นระยะพักฟื้น ร่างกายก็จะต้องการพลังงานน้อยลงและใช้โปรตีนน้อยลงได้ สิ่งสำคัญคือเมื่อร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอก็จะลดโอกาสเกิดภาวะการสะสมของเสียคั่งในร่างกายแล้วมีโอกาสเป็นพิษที่สมองได้ (Hepatic encephalopathy)

2.  ผู้ป่วยที่ขับสารน้ำได้ไม่ดี หรือผู้ป่วยโรคไต
     สำหรับผู้ป่วยที่ขับสารน้ำได้ไม่ดีหรือผู้ป่วยโรคไต เหมาะกับอาหารที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง ซึ่งการเลือกชนิดของอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมนั้น ให้อ่านข้อมูลบนฉลากโภชนาการและฉลากอาหารที่ระบุว่าเป็นอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไต

3.  ผู้ป่วยที่มีปัญหาย่อยไขมัน
     ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อยไขมัน ควรเลือกใช้อาหารที่มีไขมันสายยาวน้อย (long chain fats) ซึ่งก็ควรต่ำกว่า 30% ลงมา และหากมีไขมันสายกลาง (MCT oil) อยู่ด้วยก็ยิ่งดีเพราะจะช่วยให้การดูดซึมดีขึ้น

4.  ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาาน รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน
     สิ่งคำคัญของการเลือกอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน คือ ต้องพิจารณาเรื่องระดับน้ำตาลที่จะเพิ่มขึ้นหลังการรับประทานหรือเรื่องดัชนีน้ำตาล ซึ่งโดยทั่วไปอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะมีการระบุที่ฉลากว่าเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ

     ดังนั้น ผู้ที่มองหาอาหารทางการแพทย์ จึงควรพิจารณาชนิดของอาหารลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับสภาวะความเจ็บป่วยหรือความต้องการอาหารของร่างกายที่แตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วย

     อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีอาหารทางการแพทย์ให้เลือกซื้ออยู่หลากหลายแบรนด์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพตามที่และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด ผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกซื้ออาหารทางการแพทย์สูตรที่ตอบโจทย์ และตรงต่อความต้องการของสุขภาพมากที่สุด ที่สำคัญต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพของส่วนผสม ต้องมีสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ รวมไปถึงรสชาติที่อร่อย เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานของผู้ป่วยหรือผู้สูงวัยด้วย

 Medical food

 

ทำไม… ต้องเลือกอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) สูตรพิเศษ?

1.  ดีกว่า เพราะเป็นอาหารทดแทนสูตรพิเศษที่ให้เวย์โปรตีนคุณภาพดี ซึ่งย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว ไม่เกิดปัญหาท้องอืด (Whey protein concentrate)

2.  ดีกว่า เพราะ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ช่วยให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จึงช่วยควบคุมและสร้างสมดุลของน้ำตาลในเลือด

3.  ดีกว่า เพราะเป็นไขมันชนิดดี หรือกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีโมเลกุลขนาดเล็กย่อยได้เร็ว ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาระบบการย่อยไขมัน (MCT oil)

4.  ดีกว่า เพราะมีกากใยอาหารช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้สมดุล จึงทำให้ไม่พบปัญหาท้องผูก

5.  ดีกว่า เพราะมีโปรไบโอติกส์ปริมาณสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ติดเชื้อง่าย

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้