สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ทุกระลอกที่ผ่านมา ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากการปฏิบัติตามแนวทางมาตรการป้องกันของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยังทำให้คนไทยหันมาตระหนักเเละคอยสังเกตอาการ ที่อาจเป็นสัญญานว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อ 'โควิด -19' แล้วหรือยัง
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว หรือมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคืออายุเมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆจะเสื่อมตามกาลเวลา รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นโรคปอด มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ทำไมผู้ป่วยโรคอ้วนถึงป่วยโควิด -19 รุนแรง
3 วิธีควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
โรคอ้วน หนึ่งในปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มความรุนแรงจากโควิด -19 โดยเฉพาะคนอายุน้อย ผู้ที่มีเป็นโรคอ้วน หรือผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อนานกว่าคนปกติ อาการทรุดอย่างรวดเร็ว หรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาก มีรายงานจาก WHO และอิตาลี พบว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตส่วนใหญ่คือ “คนที่อ้วนลงพุง”
BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตรยกกำลัง 2) แบ่งระดับความอ้วนเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
BMI 18.5-24.9 kg/m2 ปกติ
BMI 25.0- 29.9 kg/m2 ภาวะน้ำหนักตัวเกิน
BMI > 30 kg/m2 อ้วน
โรคอ้วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
ความอ้วนส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเมื่อผู้ที่มีภาวะอ้วนได้รับการฉีดวัคซีน ร่างกายจะตอบสนองน้อยกว่าคนน้ำหนักโดยทั่วไป
โรคอ้วนทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในช่องท้อง
ปริมาณไขมันสะสมจำนวนมากจะดันกระบังลมขึ้นไปเบียดกับขนาดของปอด ทำให้การทำงานของปอดไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายและหายใจลำบาก
โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
การเกิดลิ่มเลือดเป็นหนึ่งในกลไกที่ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ทรุดหนักขึ้น
การอักเสบเรื้อรัง
ร่างกายจะสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ต่ำลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ
มีโรคร่วมที่สำคัญ
ผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยส่วนใหญ่มักมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรังซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการรักษา และทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนในการรักษา
เมื่อการอดอาหารไม่ใช่ทางออกที่ดีของการดูแลรูปร่าง และการเลือกทานอาหารที่ดีก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะทำได้อย่างสม่ำเสมอทุกมื้อ ดังนั้น MEGA We care จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนที่มาพร้อมกับตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลรูปร่างอย่างจริงจัง ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ควบคุมน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย การจะควบคุมน้ำหนักให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกทานที่มีประโยชน์
ขั้นตอนที่ 2 ออกกำลังกายกระชับสัดส่วน ช่วยให้การควบคุมน้ำหนักมีประสิทธิภาพและเห็นความเฟิร์มกระชับของกล้ามเนื้อมากขึ้น สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกายบริหารสัดส่วนให้กระชับ
ขั้นตอนที่ 3 เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญ และเปลี่ยนส่วนไขมันในร่างกายให้ลดลง เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและเฟิร์ม
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทำให้พบว่าผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ อาการทรุดอย่างรวดเร็ว สุดท้ายส่งผลให้เสียชีวิต นอกจากการฉีดวัคซีน เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรค การหันกลับมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้มีการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุมแคลอรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือก็ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากปฏิบัติตามดังนี้ ร่างกายของคุณก็จะมีเกาะป้องกันและมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงอย่างแน่นอน ด้วยความปรารถนาดีจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30569