เลือกอาหารมื้อทดแทนโดยไม่ต้องกังวลน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เลือกอาหารมื้อทดแทนโดยไม่ต้องกังวลน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เลือกอาหารมื้อทดแทนโดยไม่ต้องกังวลน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

     การรับประทานอาหาร คือสิ่งที่เราทุกคนทำเป็นประจำทุกวัน แต่อาจจะไม่เคยคำนึงถึงเรื่องสารอาหารต่างๆ ที่ได้รับประทานเข้าไปในร่างกายแต่ละวันว่าครบถ้วนหรือมีประโยชน์ต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน โดยมีคนหลายกลุ่มที่เริ่มคิดว่าตัวเองรับประทานอาหารที่สำคัญไม่เพียงพอ และจะมองหาสารอาหารทดแทนสิ่งที่คิดว่าร่างกายขาดไป ซึ่งอาหารทางการแพทย์เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยม

     ภายในอาหารทางการแพทย์มีส่วนประกอบของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร และไขมัน ที่มีสัดส่วนหลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มคนที่มองหาอาหารทางการแพทย์ มักจะอยู่ในรูปแบบผงชงดื่มซึ่งสะดวกต่อการรับประทาน อาหารทางการแพทย์ทดแทนบางมื้ออาหารสามารถทำได้ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วนเพิ่มจากอาหารมื้อปกติ ทั้งนี้การเลือกชนิดของอาหารทางการแพทย์ให้เหมาะแก่ผู้รับประทานก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่สำคัญ เพราะคนที่ต้องการเสริมความแข็งแรงหรือผู้ป่วยแต่ละโรคต้องการสัดส่วนของสารอาหารไม่เหมือนกัน

     ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนมีการทำงานที่ผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกายได้ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเพิ่มจากมื้อปกติจึงต้องคำนึงถึงเรื่องดัชนีน้ำตาลในอาหารร่วมด้วย

 

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  ค่าดัชนีน้ำตาลคืออะไร

  การเลือกอาหารให้มีดัชนีน้ำตาลต่ำดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและทุกคน 

  ลักษณะเฉพาะของอาหารทางการแพทย์ที่แตกต่างและให้ประโยชน์มากกว่า

 

ค่าดัชนีน้ำตาลคืออะไร

     ค่าดัชนีน้ำตาล หรือ Glycemic index (GI) เป็นการจัดลำดับอาหารชนิดคาร์โบไฮเดรตว่ามีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Blood glucose level) มากน้อยเพียงใดหลังจากที่กินอาหารชนิดนั้นๆ 1-2 ชั่วโมง ช่วยให้ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรู้ถึงปริมาณน้ำตาลในอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยอาหารที่มี GI สูงจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าและเป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงกว่าอาหารที่มี GI ต่ำ ส่วนอาหารที่มี GI ต่ำจะถูกย่อยช้า กลูโคสถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะขึ้นช้าไปด้วย

     ค่าดัชนีน้ำตาลเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงปริมาณน้ำตาลในอาหารที่เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยอาหารแต่ละชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้นจะมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ไม่เท่ากัน นักโภชนาการจึงได้ระบุระดับและค่ากำหนดเอาไว้ โดยสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. ระดับต่ำ ตั้งแต่ 0-55

     ค่าดัชนีน้ำตาลระดับต่ำ ถือได้ว่าปลอดภัยสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ได้แก่ นมอัลมอนด์ น้ำมันมะกอก ข้าวกล้อง สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ชมพู่ แก้วมังกร แครอท มะเขือเทศ ข้าวโพด บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ มันหวานต้ม เป็นต้น

2. ระดับกลาง ตั้งแต่ 56-69

     ระดับนี้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคหัวใจ ควรรับประทานแต่พอดี อีกทั้งการบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับกลางมากเกินไป ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ โดยอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับกลาง ได้แก่ กล้วย สับปะรด ลูกเกด น้ำส้ม น้ำผึ้ง เป็นต้น

3. ระดับสูง ตั้ง 70 ขึ้นไป

     เป็นดัชนีน้ำตาลของอาหารที่ค่อนข้างให้น้ำตาลคุณภาพไม่ดี และทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาควรรับประทานอาหารในกลุ่มนี้อย่างจำกัดหรือน้อยที่สุด เนื่องจากร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลจากอาหารได้อย่างรวดเร็ว โดยตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ เช่น ข้าวขัดสี ขนมปังขาว น้ำนมข้าว แตงโม มันฝรั่ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เค้ก คุ้กกี้ ของหวาน ลูกอม และน้ำหวาน เป็นต้น

     สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงต้องคำนึงถึงค่าดัชนีน้ำตาล โดยการเลือกสูตรอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ให้พลังงานสูงแต่ดัชนีน้ำตาลต่ำ โดยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 55 เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ทำหน้าที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คาร์โบไฮเดรตมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำได้ ก็จะสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี

การเลือกอาหารให้มีดัชนีน้ำตาลต่ำดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและทุกคน 

     ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ห้ามอดอาหารเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำตาลส่งผลกระทบต่อให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อคได้ อาหารที่ควรรับประทานต้องมีไขมันไม่เกิน 30% และควรเลือกเป็นไขมันดีให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของแต่ละคน อีกหนึ่งอย่างที่ควรงดอย่างยิ่งคือ ของหวาน ซึ่งเป็นอาหารต้องห้ามของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้ปริมาณน้ำในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นอันตรายกับผู้ป่วย

     เลือกอาหารที่มีเส้นใยปริมาณสูงและมีปริมาณน้ำตาลน้อย เช่น ธัญพืช ข้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ผักใบเขียว เส้นใยหรือไฟเบอร์ ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่จะปล่อยน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ การพิจารณาอาหารเพื่อเสริมมื้อปกติสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรคำนึงถึงค่าดัชนีน้ำตาลที่ระบุไว้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและทุกคนที่ไม่ต้องการให้มีน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป หรือเป็นอาหารที่จะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งจะส่งผลให้เราไม่หิวเร็วจนเกินไปและส่งผลดีต่อสุขภาพ

ลักษณะเฉพาะของอาหารทางการแพทย์ที่แตกต่างและให้ประโยชน์มากกว่า

     อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารสูตรทดแทนที่เลือกใช้เวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักมีข้อดีคือ เป็นโปรตีนคุณภาพดี ที่ดูดซึมเร็ว ย่อยง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องท้องอืด โดยประโยชน์ของเวย์โปรตีนมีส่วนช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยการหลั่งอินซูลินที่มีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด  โดยแนะนำให้รับประทานก่อนมื้ออาหารจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเร็วเกินไป

     มีการเพิ่มกากใยอาหารหรือพรีไบโอติกในอาหารทางการแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี จะช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้สมดุลและเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย ในอาหารทางการแพทย์ส่วนใหญ่มีใยอาหารน้อย อาจทำให้มีปัญหาท้องผูกได้เมื่อรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ

     โปรไบโอติกส์ปริมาณสูงมีความจำเป็นเช่นเดียวกัน จุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ง่ายของผู้ป่วยโรคเบาหวานและสำหรับทุกคน เสริมภูมิต้านทานและให้ประโยชน์ในการปรับสมดุลทางเดินอาหารให้ดีกว่าการไม่กินโปรไบโอติกส์อีกด้วย

 

how-to-choose-medical-food

 

     การรับประทานอาหารทางการแพทย์สูตรที่คัดสรรมาเฉพาะให้มีดัชนีน้ำตาลต่ำ จะช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคนทั่วไปที่ต้องการอาหารทดแทน แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานต้องรับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลตัวเองเพื่อให้มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไป และไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อทำการตรวจเช็คร่างกายโดยละเอียด เป็นการป้องกันและเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยด้วย...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://amprohealth.com/diabetes/dietary-food/
https://www.pobpad.com/โรคเบาหวาน#:~:text=โรคเบาหวาน%20(Diabetes%20Mellitus%3A%20DM,ปล่อยให้ร่างกายอยู่ใน
http://fic.nfi.or.th/futurefood/medical_research_detail.php?id=9
https://home.maefahluang.org/17514357/glycemic#:~:text=Glycemic%20index%20(GI)%20หรือ%20ดัชนี,การบริโภคอาหารชนิดนั้น
https://www.hitap.net/news/15717#:~:text=อาหารทางการแพทย์%20(medical%20food,มีหลากหลายชนิดทั้งสำหรับ
http://www.barso.or.th/knowledge-detail/22#:~:text=ค่าดัชนีน้ำตาล%20หรือ%20Glycemic,มี%20GI%20ต่ำจะถูก

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้