ปัญหาสุขภาพของผู้ชายวัยทอง

ปัญหาสุขภาพของผู้ชายวัยทอง

ปัญหาสุขภาพของผู้ชายวัยทอง

 

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  ฮอร์โมนเพศชาย

  อาการภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (ผู้ชายวัยทอง)

  ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย 

  ต่อมลูกหมากโต 

  การดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพเพศชาย

  สารอาหารและยาสำหรับสุขภาพชายวัยทอง

ฮอร์โมนเพศชาย

     เทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศสำคัญที่สุดของเพศชาย ทำหน้าที่กระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชายและรักษาให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง  เช่น เสียงทุ้มห้าว พัฒนาการของกล้ามเนื้อและกระดูก การงอกของหนวดเครา รวมถึงการเจริญเติบโตและแรงขับดันทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่อผู้ชายสูงวัยขึ้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนน้อยลง และทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลงสู่ช่วง ‘ผู้ชายวัยทอง’ อย่างช้าๆ

 

testosterone-degree

 

     การหลั่งของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนตามปกติ จะมีการหลั่ง 3-10 มก./ วัน หรือ มีระดับเทสโทสเตอโรนอยู่ในกระแสเลือด 300-1,000 ng/dl ต่อวัน โดยจะมีระดับที่สูงในตอนเช้า ค่อยๆ ลดลงในตอนกลางวัน และจะเพิ่มสูงอีกครั้งในช่วงกลางคืน จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าผู้ชายอายุ 20-30 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีระดับเทสโทสเตอโรน ลดลงปีละประมาณ 0.4% และเมื่อผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไป ระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงปีละประมาณ 1% จากงานวิจัยยังพบว่าผู้ชายอายุ 45 ปี ขึ้นไป มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย โดยผู้ชายที่อายุเท่ากันจะมีการลดลงของระดับเทสโทสเตอโรนที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการดูแลสุขภาพของแต่ละคน นอกจากนี้เทสโทสเตอโรนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอีกประเภทหนึ่งชื่อว่า ‘ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน’ (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย และต่อมลูกหมากโตได้

 

testosterone-and-dihydrotestosterone-(DHT)

 

อาการภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (ผู้ชายวัยทอง)

     เมื่อมีฮอร์โมนเพศชายที่ลดต่ำลง สามารถทำให้เกิดอาการต่างเกี่ยวกับสุขภาพได้ดังนี้

  1. กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบ
  2. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  3. สะสมไขมันมากขึ้น มีภาวะอ้วนลงพุง
  4. นอนไม่หลับ
  5. อาการซึมเศร้า
  6. ไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา ขาดความมั่นใจ
  7. สมรรถภาพทางเพศลดลง
  8. ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย


man-hair-loss

 

ผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย 

     ปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชายเป็นปัญหาที่ได้พบทั่วไปเมื่อมีอายุสูงขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ชายอาจมีภาวะผมร่วงได้ตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี จากการสำรวจในผู้ชายไทยอายุระหว่าง 18-90 ปี จำนวน 1,124 คน  พบว่าความชุกของผู้ชายที่มีผมบางแบบพันธุกรรม ถึง 38.5 %

     ภาวะผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชายเกิดจากการเปลี่ยนแปลงชนิดของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็น ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone หรือ DHT) ที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์  5-alpha reductase ชนิดที่ 2 (Type II) ซึ่งพบมากในบริเวณต่อมลูกหมาก เส้นผม รูขุมขน ผลจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนนี้เองจึงทำให้เกิดภาวะผมร่วง โดยลักษณะของผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าผากส่วนซ้ายและขวาก่อน คล้ายลักษณะตัว M และบริเวณกลางศีรษะ (Vertex)

 

man-talk-with-doctor

 

ต่อมลูกหมากโต 

     ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของเพศชาย และรอบท่อปัสสาวะเอาไว้ ทำหน้าที่ผลิตสารเลี้ยงเชื้ออสุจิ โดยเมื่อผู้ชายมีภาวะสูงวัยขึ้น ต่อมลูกหมากจะมีขนาดโตขึ้นและทำให้เกิดปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะในเพศชาย โดยในประเทศไทยมีการประมาณการณ์ว่าพบได้ประมาณ 50% ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบได้สูงถึง 50% ในผู้ชายอายุ 80 ปีขึ้นไป

     การเกิดต่อมลูกหมากโต เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone หรือ DHT) เช่นเดียวกับภาวะผมร่วงในเพศชาย โดยการรักษานั้นเริ่มจากการสังเกตอาการ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัด

อาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่าง ได้แก่

  1. ถ่ายปัสสาวะบ่อย
  2. ปัสสาวะไหลไม่แรง
  3. เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำรอไม่ได้
  4. ถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
  5. ปัสสาวะไหลๆ หยุดๆ
  6. ต้องเบ่งช่วยเวลาถ่ายปัสสาวะ
  7. ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

การดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพเพศชาย

     แม้ว่าฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกายจะมีการสร้างได้ลดลง ตามอายุที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายของคุณผู้ชาย อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองตั้งแต่แรกสามารถทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนได้ลดน้อยลง และช่วยให้สุขภาพดีขึ้นๆ ได้ในองค์รวม โดยสารมารถดูแลเบื้องต้นได้

5 วิธีดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพเพศชาย ดังต่อไปนี้

  1. หมั่นออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาเป้นประจำอย่างน้อยสับปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที
  2. ลดความเครียด และไม่หักโหมการทำงาน โดยควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง
  3. งดดื่นสุรา สูบบุหรี่และสารเสพติด
  4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
  5. ทานวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับฮอร์โมนเพศชาย เช่น สังกะสี ซีลิเนียม แอลคาร์นิทีน เป็นต้น

สารอาหารและยาสำหรับสุขภาพชายวัยทอง

สารอาหารสูตร ZMA

     สารอาหารสูตร ZMA ประกอบด้วย สังกะสี (Zinc) แมกนีเซียม (Magnesium) และ วิตามินบี 6 ซึ่งมีงานวิจัยรองรับในการช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยังทำให้การนอนหลับดีขึ้น จากการวิจัยเปรียบเทียบการใช้สารอาหารสูตร ZMA กับยาหลอก จากมหาวิทยาลัยเวสเทิน วอร์ชิงตัน (Western Washington University) พบว่า กลุ่มที่ได้รับสารอาหาร ZMA มีระดับฮอร์โมนเพศชาย แตกต่างจากกลุ่มที่ได้ยาหลอก สูงถึง 43.7% และมีระดับความแข็งแรงกล้ามเนื้อมากกว่า 2.5 เท่า เมื่อรับประทานต่อเนื่อง 8 สัปดาห์

ฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride)

     ฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride) เป็นยากลุ่มแรกๆ ที่แพทย์และเภสัชกร พิจารณาเลือกใช้ เพื่อการรักษาผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชายและต่อมลูกหมากโต โดยตัวยาออกฤทธิ์โดยตรงในการยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase ชนิดที่ 2  ทำให้การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็น ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydro-testosterone หรือ DHT) มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ลดการเกิดผมร่วงและต่อมลูกหมากโตได้ สำหรับขนาดยาแนะนำมีดังนี้

  • รักษาผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย               ฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride)  ขนาด 1 มก. วันละครั้ง
  • รักษาต่อมลูกหมากโต                                 ฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride)  ขนาด 5 มก. วันละครั้ง

     ผลข้างเคียงของยาฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride)  ที่อาจทำให้ผู้รับประทานยานี้เกิดความกังวลคือ ลดสมรรถภาพทางเพศ อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวขึ้นกับขนาดยาที่รับประทาน โดยขนาดยา 1 มก. มีอัตราการเกิดผลดังกล่าว 1- 2%

สมุนไพร ซอว์ ปาเมตโต้

     ซอว์ ปาเมตโต้ (Saw Palmetto) หรือปาล์มใบเลื่อย สมุนไพรที่ถูกใช้มาช้านานในยุโรป และมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพร พบว่ามีกลกลการออกฤทิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกับยาฟิแนสเทอร์ไรด์ (finasteride) ที่ใช้ในการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต และผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase ชนิดที่ 2  ได้เช่นเดียวกับยาดังกล่าว แต่ไม่มีผลข้างเคียงที่สำคัญเช่น การลดสมรรถภาพทางเพศ และไม่มีผลข้างเคียง โดยมีขนาดการรับประทานคือ สารสกัดจากซอว์ ปาเมตโต้ 320 มก. วันละครั้ง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับภาวะต่อมลูกหมากโตและผมร่วงจากฮอร์โมนเพศชาย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.Brilla LR, Conte V. A novel zinc and magnesium formulation (ZMA) increases anabolic hormones and strength in athletes. Med Sci Sports Exerc. 1999;31:483.

2.Kaufman JM, Vermeulen A. The decline of androgen levels in elderly men and its clinical and therapeutic implications. Endocrine reviews. 2005 Oct 1;26(6):833-76.

3.Lee WS, Lee HJ, Choi GS, Cheong WK, Chow SK, Gabriel MT, Hau KL, Kang H, Mallari MR, Tsai RY, Zhang J. Guidelines for management of androgenetic alopecia based on BASP classification–the Asian consensus committee guideline. Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology. 2013 Aug;27(8):1026-34.

4.Pathomvanich D, Pongratananukul S, Thienthaworn P, Manoshai S. A random study of Asian male androgenetic alopecia in Bangkok, Thailand. Dermatologic surgery. 2002 Sep;28(9):804-7.

5.Segraves RT, Schoenberg HW, Ivanoff J. Serum testosterone and prolactin levels in erectile dysfunction. Journal of sex & marital therapy. 1983 Mar 1;9(1):19-26.

6.โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาด, ต่อมลูกหมากโต ใน เกร็ดความรู้สุขภาพ, https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh /ต่อมลูกหมากโต

7.ศรีวภา ธนรักษ์, ประภาวดี โทนสุข. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และการจัดการ ตนเองของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาล
สุราษฎร์ธานี. Region 11 Medical Journal. 2018 Dec 3;32(4):1283-96.

8.https://www.pobpad.com/osteoarthritis

 

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้