ฝ้า (Melasma) ปัญหาผิวพรรณของสาวๆ ที่เมื่อเริ่มเข้าถึงวัยเลข 3 เป็นต้องกังวลทุกหลาย และการเกิดฝ้าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของใบหน้า แต่ส่วนใหญ่มักจะมีฝ้าบริเวณที่ถูกแดด เช่น หน้าผาก โหนกแก้ม เมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้งในแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวกระตุ้นให้เซลล์ผิวสร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ และยังทำร้ายผิวให้อ่อนแออีกด้วย โดยการเกิดฝ้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เจอกับแสงแดดเป็นเวลานานๆ
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
แก้ไขปัญหาฝ้าด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
สารอาหารจากธรรมชาติที่มีบทบาทต่อการฟื้นฟูและปรับสมดุลเม็ดสี
“ฝ้า” แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ฝ้าตื้น : มีสีน้ำตาลดำเข้ม มีขอบชัดเจน มองเห็นได้ชัดเพราะอยู่ที่เซลล์ผิวชั้นบน
2. ฝ้าลึก : มีสีเข้มออกน้ำเงินอมม่วงหรือเทาอ่อน ขอบเขตไม่ชัดเจน อยู่ที่ผิวหนัง ชั้นลึกลงไป จึงรักษาได้ยากกว่า
3. ฝ้าแบบผสม : มีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึก เกิดอยู่ร่วมกันในบริเวณต่างๆ
ฝ้า (Melasma) มีสาเหตุจากเซลล์ผิวที่อ่อนแอและเสื่อมสภาพลง โดนทำลายจากรังสี UV ในแสงแดด โดยเฉพาะรังสี UVA ที่มีผลต่อการเกิดฝ้า เพราะ UVA มีคลื่นที่ยาวกว่า UVB จึงทำให้สามารถทะลุลงลึกไปถึงชั้นเซลล์ผิวได้ ส่งผลให้เซลล์ผิวและชั้นคอลลาเจนเสียสภาพไป ไม่แข็งแรง จึงทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีเมลานินที่มากเกินไปในบางบริเวณของผิวหนัง การกระจายตัวของเม็ดสีไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดฝ้ารอยสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงเทา
นอกจากแสงแดดที่ส่งผลกระทบต่อผิวให้เกิดฝ้าแล้ว ยังมีปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง เช่น แสงสว่างจ้า จากหลอดไฟ หน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือความร้อนต่างๆรวมทั้งความร้อนจากการเลเซอร์ผิวหน้า สารเคมีจากเครื่องสำอาง การบำรุงดูแลผิวอย่างผิดวิธี หรือการละลืมดูแลผิวให้แข็งแรงจากภายใน นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ มลภาวะต่างๆ ร่วมไปถึงสารอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกายที่มีมากเกินไป ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นฝ้าขึ้นได้
1. ทาครีมกันแดด
การทาครีมกันแดดจะสามารถปกป้องผิวของเราได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ดังนั้นจึงต้องหมั่นทาครีมกันแดดระหว่างวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าครีมกันแดดจะมีประสิทธิในการปกป้องผิวจากแสงแดดได้และป้องกันการเกิดฝ้า
2. ทาครีมบำรุง
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้รักษาฝ้ามากที่สุด มีส่วนผสมของ วิตามินซี อาร์บูติน (Arbutin) ที่เชื่อกันว่า สามารถทำให้ฝ้าจางลงได้ และมีผิวที่กระจ่างใสขึ้น แต่การทางครีมบำรุงต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลและไม่ได้แก้ปัญหาจากภายใน แต่ก็ยังมีครีมบำรุงบางชนิดที่ผสมสารเคมี ทำให้ผิวขาวอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีผลเสียด้วยเช่นกัน คือการกลับมาทำให้ผิวเป็นฝ้าได้อีกครั้ง อย่างครีมที่ใส่สารสเตียรอยด์ สารไฮโดรควิโนน
3. ฉีดเมโสรักษาฝ้า (Mesotherapy)
เป็นการฉีดผิวด้วยวิตามินซีเข้าไปในชั้นผิวหนังบริเวณที่เป็นฝ้า แต่ต้องมีการฉีดซ้ำทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และอาจเกิดอาการแพ้ระคายเคืองได้ง่าย และต้องอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
4. การทำเลเซอร์ Fraxel
เลเซอร์ที่ใช้พลังงานความร้อนมากระตุ้นเซลล์ผิวให้มีการผลัดเซลล์ผิวได้ไวยิ่งขึ้น และทำให้ส่วนที่เป็นฝ้าถูกผลัดออกไปด้วย แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาการใบหน้าบวมแดงหลังจากทำเซเลอร์ รักษาฝ้า และยังทำให้ผิวที่เกิดใหม่อ่อนบางจนไวต่อแสงแดดได้ง่าย หากไม่มีการดูแลต่อเนื่องจะส่งผลให้กลับมาเป็นฝ้าได้ง่ายและมากขึ้นกว่าเดิม
5. กินยารักษาฝ้าทรานซามิน (Tranexamic acid)
การกินยาชนิดนี้ ไม่ใช่เป็นยารักษาฝ้าโดยตรง แต่เป็นยาที่ใช้ในการห้ามเลือด ปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยชัดเจนว่าสามารถรักษาฝ้าได้จริง แต่ในทางกลับกัน มีรายงานผลเสียจากการใช้ยาทรานซามิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลของยาที่จะทำให้เลือดเกิดเป็นลิ่มเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในสมองหรือปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้และยังส่งผลให้เกิดหลอดเลือดฝอยในตาอุดตันจนอาจเสี่ยงต่อการตาบอดได้
แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาฝ้าอย่างยั่งยืนที่สุดคือ ‘การรักษาฝ้าจากภายใน’ ด้วยวิธีการรักษาฝ้าแบบธรรมชาติ เป็นกระบวนการฟื้นฟูเซลล์ผิวให้แข็งแรง
1. ลดเลือน
เนื่องจากเซลล์ผิวที่อ่อนแอ จึงส่งผลให้เซลล์เม็ดสีมีการผลิตมากผิดปกติ และมีการรวมตัวเกาะกันเป็นหย่อมๆ จึงเห็นพื้นที่ของฝ้าอย่างชัดเจนนั้น ‘กระบวนการฟื้นฟูเซลล์ผิวจะมีส่วนช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้นจะลดเลือนฝ้าให้จางได้ โดยอาศัยบทบาทของการต่อต้านอนุมูลอิสระ’ ตัวการที่จะทำร้ายผิวนั้น ด้วยการเสริมสารต้านอนุมูลอิสระร่วมด้วย จะส่งผลให้เซลล์ผิวแข็งแรงได้เร็วขึ้น ทำให้เซลล์เม็ดสีมีการกระจายตัวสม่ำเสมอ ไม่เกาะกลุ่ม ทำให้สีผิวกระจ่างใสเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ด้วยบทบาทสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ฝรั่งเศส (French Maritime Pine)
2. บำรุงผิว
การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างหลักของผิวเพื่อให้เซลล์เกิดความสมดุลของการสร้างเม็ดสี เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวร ด้วยการช่วยบำรุงและฟื้นฟูเซลล์ผิวให้กลับมาแข็งแรงมากขึ้น เพิ่มการไหลเวียนเลือดและเส้นเลือดฝอยที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้เม็ดสีก็กระจายตัวได้สม่ำเสมอ มีสีผิวที่เรียบเนียน ไม่กระดำกระด่าง รอยฝ้าดูจางลง อีกทั้งยังขาวกระจ่างอย่างเป็นธรรมชาติและช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวดูเต่งตึง ช่วยลดริ้วรอย โดยทั้งนี้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีผลต่อการเพิ่มการไหลเวียนเลือดดังกล่าวนั้น ได้แก่ สารสกัดจากข้าว วิตามินซี วิตามินอี และสารสกัดจากเปลือกสนมาริไทม์ฝรั่งเศส
3. ป้องกัน
การป้องกันผิว เพื่อไม่ให้ผิวกลับมาเป็นฝ้าซ้ำอีก โดยการป้องกันรังสี UV จากแสงแดดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดสีทำงานผิดปกติอีกครั้งได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงแสงแดดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น การทาครีมกันแดด เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอเพื่อป้องกันรังสี UVA และ UVB นอกจากนี้การรับประทานสารอาหารที่มีส่วนช่วยป้องกันรังสี UV ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยปกป้องผิวได้เช่นกัน ได้แก่สารสกัดจากมะเขือเทศที่ให้สารสำคัญอย่างไลโคปีน และสาหร่ายดีซาลีน่าที่มีให้เบต้าแคโรทีน ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ใต้ชั้นผิวหนังจากการถูกทำลายของรังสี UV ทำให้ผิวแข็งแรง ทนต่อแสงแดดได้มากขึ้นเพื่อลดโอกาสการเกิดฝ้าซ้ำ
ณ ปัจจุบันมีการศึกษาแนวคิดใหม่สำหรับการรักษาฝ้าให้ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงคือ ‘การฟื้นฟูและบำรุงเซลล์ผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอ’ ทั้งนี้สามารถดูแลผิวให้ห่างจากการเป็นฝ้าและป้องกันการเกิดฝ้าซ้ำได้ด้วยสารอาหารจากแบบธรรมชาติที่มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีผลการศึกษายอมรับกันแพร่หลาย
นอกจากการรักษาฝ้าให้จางลงแล้ว การป้องกันฝ้าไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ สามารถเริ่มต้นที่ตัวเองได้ หลีกเลี่ยงแสงแดด ใช้ครีมกันแดด พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียด เพราะสิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมทำลายผิวหน้า นอกจากนี้ควรรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อผิวให้ครบถ้วนอยู่เสมอเพื่อเป็นการดูแลจากภายใน เพราะการรักษาฝ้าแบบธรรมชาติปลอดภัยกับผิวและร่างกายของเรา...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/14/อันตรายของ-ครีมหน้าขาว-ที่ผสม-ไฮโดรควิโนน/
2. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/38/ทรานซามิน-transamin-กับผิวขาว-จริงหรือ/
3. สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย, รักษาฝ้าอย่างไรให้จางลงและปลอดภัย (ออนไลน์), แหล่งที่มา : Medical Focus (หน้า 29-31) ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2552 .
4. http://dst.or.th/Publicly/Articles/119.23.9/93yYTaibQX , ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564
5. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แจ้งเตือนอันตรายจากการใช้ยา “tranexamic acid”, แหล่งที่มา : ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551, ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564