นอนไม่หลับ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท สมองคิดตลอด กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศ ทุกวัย ถึงแม้อาการนอนไม่หลับอาจไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ และการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการคิด ความจำ การเรียนรู้ สมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดน้อยลง อีกทั้งยังส่งผลให้ความแข็งแรงสุขภาพลดลง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย เป็นต้น (อยากรู้ผลเสียของการนอนน้อยที่คุณอาจไม่เคยรู้ คลิกอ่านได้ที่นี่)
ประเภทที่ 1 หลับยาก : หลับยาก ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมง
ประเภทที่ 2 หลับไม่ทน : หลับแล้วมักตื่นขึ้นมากลางดึก บางคนตื่นแล้วกลับไปหลับไม่ได้
ประเภทที่ 3 หลับๆตื่นๆ : จะมีอาการลักษณะ รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน
ปัจจัยทางกาย
1. อาการและโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อาการปวดต่าง ๆ โรคหัวใจ โรคหอบ โรคกรดไหลย้อน โรคภูมิแพ้ โรคพาร์กินสัน เส้นเลือดอุดตันในสมอง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโต อาการและโรคเหล่านี้ส่งผลทำให้นอนยากหรือต้องตื่นบ่อย
2. ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด
3. การดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
4. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะหญิงและชายวัยทอง
ปัจจัยทางจิตใจ
1. ภาวะความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน อาการเหล่านี้มักส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
2. โรคทางจิตที่มีผลต่อความรู้สึก เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรควิตกกังวล หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
1. ห้องนอนที่มีความสว่างจนเกินไป มีเสียงรบกวน หรือพื้นที่นอนแคบเกินไปหรือกว้างเกินไป หรือการนอนต่างที่ ทำให้ความรู้สึกของการนอนไม่คุ้นชิน
2. การทำงานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเวลานอน เช่น พยาบาล แพทย์ หรือยาม
การนอนหลับถือเป็นความสุขที่ดีที่สุดของชีวิต เพราะการนอนหลับนอกจากจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนแล้ว ยังเป็นเวลาแห่งการซ่อมแซมร่างกายด้วย ดังนั้นเราควรใช้เวลานี้ให้เต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าใครมีปัญญาเรื่องหลับยาก เรามาดู “เคล็ดลับหลับสบาย ไอเทมคู่กาย ของคนนอนไม่หลับ” กันดังนี้
1. เข้านอนให้เป็นเวลา ช่วงเวลาที่ดีเหมาะสมคือนอนก่อน 4 ทุ่มและตื่น 6 โมงเช้า เพราะเป็นช่วงเวลานอนที่เหมาะสมที่สุด ร่างกายจะพักผ่อนให้เต็มที่จากการหลับลึก
2. สภาพแวดล้อมของห้องนอนต้องเหมาะสม ภายในห้องหรี่ไฟให้สลัวๆ ประมาน 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมสมองว่าต้องพักผ่อน และปรับอุณหภูมิในห้องให้พอดี ไม่หนาว ไม่ร้อน จนเกินไป
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง
4. หากิจรรมที่ช่วยผ่อนคลายร่างกาย เช่น การอาบน้ำอุ่น ฟังเพลงจังหวะสบายๆ หรือทำสมาธิ สวดมนต์ เพื่อให้จิตใจสงบ
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยทำให้คุณนอนหลับง่ายขึ้น และแก้ปัญหาเรื่องอาการนอนไม่หลับ (เลี่ยงการออกกำลังกายช่วงใกล้เวลานอนหลับ
6. Valerian (วาเลอเรียน) สมุนไพรช่วยเพิ่มคุณภาพการนอน 'รากวาเลอเรียน' มีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล จึงทำให้เกิดความสงบ ส่งผลช่วยในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ดีมากขึ้น ทำให้รู้สึกหลับได้เต็มอิ่ม ตื่นแล้วไม่รู้สึกง่วงซึม ไม่เสพติด เหมือนยานอนหลับชนิดอื่นๆที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท สารสกัดจากรากวาเลอเรียน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ ที่พบว่ามักมีปัญหาการนอนไม่หลับอยู่มาก หรือผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับเพราะมีความกังวล (สมุนไพรช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)
7. ยาช่วยนอนหลับ ที่นิยมใช้กันและจำหน่ายตามร้านขายยานั้น มักเป็นกลุ่มยาแก้แพ้ (รุ่นเดิม) ที่อาศัยผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine), ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ซึ่งยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ทำให้นอนหลับ จึงมีการนำมาใช้แทนยานอนหลับ แต่การใช้ยากลุ่มนี้ ควรใช้ช่วงเวลาสั้นๆ เป็นครั้งคราว ไม่ใช้ต่อเนื่อง การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร แต่หากกินแล้วไม่ได้ผลก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ และให้การรักษาที่ถูกต้องจะดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
1. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/insomnia
2. https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06052014-1126
4. http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=62&contentid=1319