กว่า 10% ของคนไทยป่วยด้วย “โรคตับ” … และมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน!! สิ่งต่อมาที่น่าเป็นกังวลคือคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าตนเองอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคตับ ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคตับบางรายก็ไม่ทราบว่าตนเองป่วย ทำให้ไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งผลที่ตามมาก็คือความรุนแรงของโรคตับที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ยากต่อการรักษา หากปล่อยไว้โรคตับที่เป็นอยู่นั้นอาจลุกลามเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับและเสียชีวิตได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้การหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และดูแลสุขภาพร่างกาย ร่วมไปถึงดูแลสุขภาพตับให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย
“สุขภาพตับ” กับความสัมพันธ์ที่มีต่อ “สุขภาพกาย”
“โรคตับ” ที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?
ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อมีความเสี่ยงเป็นโรคตับ?
ตับไม่แข็งแรง สังเกตได้อย่างไร?
HOW TO ฟื้นฟูสุขภาพตับ ให้กลับมาแข็งแรง
รู้หรือไม่ว่า… “ตับ” เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของร่างกาย โดยตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารต่างๆ ที่เราได้รับเข้าไปให้อยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่เสมือนเป็นกระปุกออมสินของร่างกายเพราะเป็นแหล่งสะสมสารอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถนำสารอาหารออกมาใช้ได้ยามจำเป็น อีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญของตับคือ มีส่วนสำคัญในกระบวนการกำจัดของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย และตับยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ออกจากเลือด นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของทุกระบบในร่างกาย และสิ่งสำคัญอีกประเด็นคือสร้างน้ำดี ซึ่งทำหน้าที่ในการย่อยไขมันและช่วยดูดซึมวิตามินชนิดละลายในน้ำมัน และทั้งหมดนี้คือคำตอบว่าทำไมสุขภาพตับที่ดีจึงมีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพกายที่แข็งแรง
แม้ว่า “ตับ” จะเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ แต่ตับก็เป็นอวัยวะที่มีความบอบบางและถูกทำลายได้ง่าย หากปล่อยให้ตับป่วย สุขภาพตับไม่แข็งแรง และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจลุกลามกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ในอนาคต เพราะตับเป็นอวัยวะที่คอยควบคุมการใช้สารอาหาร รวมถึงขับสารพิษออกจากร่างกาย หากตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเกิดการเจ็บป่วยตามมา สำหรับโรคร้ายที่เกิดขึ้นกับตับและพบได้บ่อยมีหลายโรค ได้แก่
ตับแข็ง คือ โรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 25,000 คนต่อปี หรือประมาณ 70 คนต่อวัน ตับแข็งคือภาวะที่เนื้อเยื่อบริเวณตับถูกทำลายจนเกิดการอักเสบ หรือเกิดแผลจากโรคตับชนิดต่างๆ และเมื่อแผลบริเวณนั้นหายไปจะเกิดเป็นพังผืดหรือเนื้อเยื่อมาทดแทน ซึ่งพังผืดนี้จะไปรัดหรือกดทับเส้นเลือดในตับ ตับจึงทำหน้าที่ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไวรัสชนิดที่พบมากในไทยคือ ไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งจากข้อมูลพบว่าคนไทยกว่า 3 ล้านคนเป็นพาหะของโรค โดยผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจะมีอาการอ่อนเพลีย จุกเสียดแน่นท้อง หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ ที่สำคัญโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ และปัจจุบันมีวัคซีนที่ปลอดภัยและสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ไวรัสชนิดนี้ได้
ภาวะไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ตับไม่สามารถย่อยสลายหรือนำไขมันที่ร่างกายได้รับในปริมาณมากไปใช้ได้หมด จนเกิดการสะสมที่ตับกลายเป็นไขมันพอกตับ หรือบางกรณีอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง
มะเร็งตับ จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561 พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกว่า 80,665 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับมากถึง 15,912 ราย สาเหตุหนึ่งเพราะผู้ป่วยมะเร็งตับจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น กว่าที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ หรือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก็มักอยู่ในระยะท้ายๆ หรือลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้
โรคตับสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมี 5 สาเหตุหลักๆ ที่แพทย์ทั่วโลกลงความเห็นว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้ส่งผลเสียต่อตับได้ คือ
เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ เนื่องจากแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน รวมถึงคาร์โบไฮเดรตในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และเรื้อรังจนเป็นตับแข็ง
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หากมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบไม่ว่าจะเป็นชนิด A B C D และ E แบบเรื้อรัง และไม่ได้รับการรักษา เชื้อไวรัสเหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็งหรือเป็นมะเร็งตับ
เกิดจากภาวะที่มีไขมันสะสมที่ตับเป็นจำนวนมาก เมื่อร่างกายได้รับไขมันในปริมาณที่มากเกินไปจนไม่สามารถขับออกได้หมด จะเกิดการสะสมไว้ที่ตับ ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นตับแข็งได้ ซึ่งภาวะไขมันสะสมในตับมักพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน หรือในคนปกติก็ได้
เกิดจากการกินยาบางชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาลดไขมัน หรือยาลดไขมัน หากกินติดต่อกันเป็นเวลานานล้วนแล้วแต่ทำให้ตับทำงานหนักและมีโอกาสเกิดการอักเสบ เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ดังนั้นการได้รับยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานจะรบกวนการทำงานของตับ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับจนกลายเป็นภาวะตับวายได้
เกิดจากการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ตับทำงานหนัก เกิดการอักเสบ หรือเกิดพังผืดที่ตับได้ เช่น สารชูรส/ผงชูรส เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่นิยมใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร แต่ในระยะยาวอาจทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาได้, สารกันบูด ซึ่งพบมากในอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมไปถึงสารเคมีที่นิยมใส่เพื่อถนอมอาหารที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในอาหารกระป๋อง ไส้กรอก แหนม เป็นต้น
เมื่อรู้แล้วว่าสุขภาพตับมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อสุขภาพกาย ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคตับหรือไม่ ก็ควรใส่ใจและดูแลตับให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ โดยสามารถเริ่มต้นทำได้ตั้งแต่วันนี้ ด้วยวิธีที่ง่ายๆ เพียงปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างของคุณเท่านั้น
ลดปริมาณ/ความถี่ของการดื่มแอลกอฮอล์ลง การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปทำลายเซลล์ตับ รวมถึงทำให้เกิดการอักเสบของตับ ซึ่งเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งตับได้
อย่าปล่อยให้อ้วน การมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นไม่เพียงจะส่งผลต่อรูปร่างเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลเสียต่อตับด้วย เพราะถ้าคุณมีไขมันในตัวมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับได้ ดังนั้น จึงแนะนำให้หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการเลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำหรือไม่สร้างส่วนเกินให้ตับต้องทำงานหนัก เช่น อาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล
กินยาเท่าที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้ปวด หรือยาสามัญประจำบ้านที่หลายคนกินบ่อยๆ ก็ล้วนมีผลข้างเคียงกับตับหากใช้ต่อเนื่องกันในระยะยาว ดังนั้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยาที่ปลอดภัย
เมื่อเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นกับ “ตับ” ร่างกายจะแสดงอาการต่างๆ เพื่อส่งสัญญาณว่าตับของคุณเริ่มไม่แข็งแรง ซึ่งอาการของโรคตับมีหลายอาการแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค แต่สามารถสังเกตอาการโดยรวมได้ ดังนี้
ท้องอืด/จุกเสียดแน่นท้อง
ท้องบวม/ปวดท้องบ่อย
ปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงเป็นประจำ
ตาเหลือง/ตัวเหลือง
รู้สึกเบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย/เหนื่อยง่าย
ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
ปัสสาวะมีสีเข้มผิดปกติ
อุจจาระมีสีซีด
เมื่อรับรู้ได้ถึงสัญญาณความผิดปกติของร่างกาย และคาดว่าเป็นผลมาจากภาวะความผิดปกติของตับตามที่สังเกตอาการไปข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำควบคู่ไปกับการดูแลตนเองเพื่อฟื้นฟูสุขภาพตับให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง โดยสามารถทำได้ ดังนี้
1. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้สนิทในเวลากลางคืนมีส่วนช่วยฟื้นฟูตับได้ เพราะจะทำให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้สารอาหารในเลือดไปซ่อมแซมและบำรุงตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ลด/เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ สารที่อยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของตับ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นจนเกิดเป็นไขมันพอกตับได้ นอกจากนี้หากตับเกิดการอักเสบเรื้อรังจะนำไปสู่การเกิดโรคตับแข็ง เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้
3. ลด/เลี่ยงอาหารสำเร็จรูป หลายคนอาจไม่รู้ว่าในอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่นั้นมักมีสารกันบูดหรือสารกันเสีย ซึ่งสารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ หากร่างกายได้รับสารกันเสียมากเกินไป จะทำให้ตับทำงานหนักและส่งผลต่อการกำจัดของเสียออกจาร่างกายได้
4. ไม่กินยาเกินความจำเป็น อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าการกินยามากเกินความจำเป็น หรือกินยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้น ดังนั้น หากมีอาการเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
5. ดูแลตัวเองด้วยการเสริมสารอาหารบำรุงตับ อาหารที่คุณเลือกกินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพร่างกาย ร่วมไปถึงสุขภาพตับ ดังนั้น หากไม่อยากให้ตับของคุณทำงานหนัก นอกจากจะต้องเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำร้ายตับแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดูแลตับด้วยการเสริมสารอาหารที่จำเป็นต่อตับในปริมาณที่เพียงพอ โดยสารอาหารที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อตับ และช่วยบำรุงตับได้จริง ยกตัวอย่างเช่น
Dandelion root extract (สารสกัดจากรากต้นแดนดีเลี่ยน) ช่วยเสริมการขจัดสารพิษจากตับและถุงน้ำดี ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพิ่มการไหลเวียนของน้ำดี เสริมการทำงานของตับให้สามารถหลั่งน้ำดีได้มากขึ้น และยังช่วยให้การย่อยอาหารประเภทไขมันดีขึ้น
Apple Vinegar (สารสกัดจากแอปเปิ้ล) ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิด จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารอาหาร ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน และยังช่วยปรับสมดุลกรดด่างในลำไส้ได้
L-methionine (แอล-เมทไธไอนีน) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อตับได้ดี ช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดได้ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และสารที่จำเป็นต่อกระบวนการขจัดพิษของตับ เช่น กลูตาไธโอน
Selenium (ซีลีเนี่ยม) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการต้านพิษจากโลหะหนัก มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง และต้านภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอ็นไซม์ขจัดสารพิษของตับได้
Brewer’s Yeast Extract (บริเวอร์ยีสต์ ให้วิตามินบีรวมจากธรรมชาติ) อุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินบี โครเมียม และซีลีเนียม ที่มีประโยชนต่อกระบวนการเผาผลาญที่ตับ
Evening Primrose Oil (น้ำมันอีฟนิ่งพรีมโรส) เป็นสารต้านอักเสบ ช่วยลดไขมันในเลือด สารสำคัญ (EPO) GLA ใน EPO ยังช่วยจับกับแอลกอฮอล์ จึงช่วยลดภาระ และป้องกันความเสียหายของตับได้
Inositol (ไอโนซิทอล) มีฤทธิ์ในการจับกับไขมัน จึงช่วยนำไขมันออกจากตับได้ ทำให้การทำงานของตับ และท่อน้ำดีทำงานดีขึ้นส่งผลดีต่อผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ และโรคตับแข็ง
Choline (โคลีน) ช่วยป้องกันความเสียหายของตับ และช่วยในขบวนการขนส่งไขมันออกจากตับ รวมถึงช่วยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอลที่ลำไส้ จึงช่วยลดความรุนแรงของภาวะขมันพอกตับได้
Phosphatidylcholine (ฟอสฟาทิดิลโคลีน) เกี่ยวข้องกับการขนส่งไขมันออกจากตับ ช่วยให้การใน Lecithin ทำงานของตับเป็นปกติ ป้องกันการเกิดพังผืด และโรคตับแข็งได้
และทั้งหมดนี้คือข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับตับ โรคตับ และวิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคตับ ที่เรานำมาฝากกัน เพราะอยากให้คุณมีสุขภาพตับที่ดี และมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยความห่วงใยจาก…MEGA We care