จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดผู้ป่วยใหม่ติดเชื้อหลักหมื่นต่อวันซึ่งทำให้เกิดวิกฤตเตียงไม่พอ
แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ประกอบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่โรงพยาบาลในระยะเวลาสั้น ๆ และไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานที่ที่รัฐจัดให้
Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
1. ระหว่างรอ admit โรงพยาบาล
2. แพทย์พิจารณาว่ารักษาที่บ้านได้
3. รักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วันและจำหน่ายกลับบ้านเพื่อรักษาต่อเนื่องที่บ้านโดยวิธี Home isolation
ผู้ที่เข้าเกณฑ์การทำ Home isolation
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือ ไม่มีอาการ (asymptomatic cases)
2. มีอายุน้อยกว่า 60ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. อยู่คนเดียว หรือ มีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1คน
5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย > 30 กก./ม.2 หรือ น้าหนักตัว > 90 กก.)
6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD Stage 3,4 ) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือโรคอื่นๆตามดุลยพินิจของแพทย์
7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation (การแยกกักตัวที่บ้าน)
1.อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอดข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระหว่างแยกตัวควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้
1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัวและงดการออกจากบ้าน
2. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หากยังมีอาการไอ จาม ต้องสวมหน้ากากอนามัย แม้ขณะอยู่ในห้องส่วนตัว โดยแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า
3. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยได้อยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณ 1 ช่วงแขนหากไอ จาม ไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตรและให้หันหน้าไปยังทิศทางตรงข้ามกับตำแหน่งที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
4. หากไอจาม ขณะที่สวมหน้ากากอนามัยไม่ต้องเอามือมาปิดปากและไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยออกเนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หาก ไอ จาม ขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก
5. ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ (หากมือเปรอะเปื้อนให้ล้างด้วยสบู่และน้ำ) โดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ และก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ
6. กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้ง ก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
7. ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ
8. การทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิว ควรทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์)โดยใช้ 5% โซเดียมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน หรือ 0.5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อ น้ำ 9 ส่วน)
9. แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ด ตัวโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์
10. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหาอาหารมาให้แล้วแยกรับประทานคนเดียว ถ้าเป็นอาหารที่สั่งมาและต้องเป็นผู้รับอาหารนั้น ควรให้ผู้ส่งอาหารวางอาหารไว้ ณ จุดที่สะดวกแล้วไปนำอาหารเข้าบ้าน ไม่รับอาหารโดยตรงจากผู้ส่งอาหาร
11. ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ หากใช้เครื่องซักผ้าให้ใช้ผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มได้
12. การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด ทำความสะอาดมือด้วยอลกอฮอล์ หรือน้ำ และสบู่ทันที
การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน
1. ทุกคนในบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย
2. ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน หรือมีการปนเปื้อน รวมถึงล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลัง เข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นอย่างน้อย 70 %
3. เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิด หรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วย
4. ควรนอนแยกห้องกับผู้ป่วย
5. ไม่รับประทานอาหารและใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.gj.mahidol.ac.th/main/covid19/homeisolation/
https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/ติดโควิดต้องhome-isolation/