บางทีความเชื่อ สิ่งที่ได้เห็น หรือได้ยินมาก่อนหน้านี้ อาจจะต้องทำให้เรากลับมานั่งทบทวนความเข้าใจกันใหม่
เมื่อข่าวกรอบเล็กๆ ของ Newyork Time ตีข่าวว่าพนักงานในสนามบินชางกีในประเทศสิงคโปร์ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) 28 คน โดย 9 คนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนใด ขณะที่อีก 19 คนได้รับการฉีดวัคซีนชนิด m-RNA ของไฟเซอร์และของโมเดอร์นา ครบถ้วนสองโดสแล้ว (ที่มา : www.nytimes.com/2021/05/14/world/asia/singapore-covid-restrictions.html )
ข่าวนี้อาจจะเป็นข่าวชิ้นเล็กๆ ในสายตาคนทั่วไป แต่สำหรับคนในวงการวิจัยทางการแพทย์ นี่คือผลวิจัยแบบ Match case Control ซึ่งถูกออกแบบไว้อย่างดีแต่ทำแบบไม่ได้ตั้งใจ (เพราะเป็นเหตุการณ์จริง) คือกลุ่มคนอายุใกล้กัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกัน ทำงานแบบเดียวกัน ในสถานที่เดียวกัน ได้สัมผัสโรคเท่าๆ กัน โดยที่กลุ่มหนึ่งได้วัคซีนครบแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้วัคซีนเลย แล้วมาพิจารณาดูว่ากลุ่มไหนจะติดโรคมากกว่ากัน
ปรากฎว่าทั้งสองกลุ่มติดโรคไม่ต่างกัน ผมสรุปก็คืองานวิจัย (ที่ไม่ได้ตั้งใจ) ชิ้นนี้สรุปผลได้เลยว่าวัคซีน m-RNA อาจจะไม่มีประสิทธิภาพกับไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งผลวิจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจชิ้นนี้ได้ทำลายความเชื่อเดิมของวงการแพทย์ทั่วโลกที่ว่า ‘การออกแบบวัคซีนที่ทำมาสามารถครอบคลุมการกลายพันธุ์ได้ไปแล้ว’ เว้นเสียแต่ว่าจะมีงานวิจัยที่ใหญ่และดีกว่านี้มาหักล้าง นั่นหมายความว่าไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ๆ จะดื้อวัคซีนชนิดเก่าๆ ดังนั้นวงการแพทย์ต้องเริ่มคินค้นวัคซีนใหม่มาสู้กันอีกรอบ โดยที่ระยะเวลาของแต่ละรอบนั้นสั้นมาก เพราะการระบาดของ COVID-19 เพิ่งจะมีมาแค่สองปีนี้เอง แต่ปรากฎว่ามีไวรัสกลายพันธุ์ระดับใหญ่ๆ ที่เรียกว่า Variants Of Concern ขึ้นมาสี่สายพันธุ์แล้ว คือพันธุ์อังกฤษ แอฟริกา บราซิล และอินเดียที่สายพันธุ์ล่าสุดที่แพร่ได้เร็วกว่า อาการรุนแรงกว่า และดื้อวัคซีน
จากกรณีนี้ นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจชื่อดังผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว และผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพ Welness We care Center ได้ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า “อนาคตจากนี้ไปวงการแพทย์ก็ต้องทำงานกันหนักขึ้น ดิ้นรนสอบสวนควบคุมโรครอบใหม่ๆ กันต่อไป และต้องพยายามคิดค้นผลิตวัคซีนตัวใหม่ๆ ออกมารองรับกันต่อไป ซึ่งระหว่างนี้คนทั่วไปก็ต้องอาศัยวิธีที่สอนกันมาจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกคือ ใส่หน้ากาก เว้นระยะ ล้างมือ และเลือกฉีดวัคซีนที่มีอยู่ นอกจากนี้ต้องเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคของตัวเอง (personal immunity improvement) ซึ่งวิธีสุดท้ายถือว่าเป็นทางไปทางเดียวที่เหลืออยู่อย่างแท้จริงของเผ่าพันธ์มนุษย์ ขณะที่การผลิตวัคซีนไล่ตามหลังไวรัสสายพันธ์ใหม่ยังตามกันไม่จบ ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องตามกันไปกี่ปี หรือนานแค่ไหนซึ่งไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่าสงครามระหว่างคนกับไวรัส หากไม่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคของคนให้กลับมาทำงานได้เต็มกำลังตามที่ธรรมชาติให้มายังไงเชื้อไวรัสก็จะเป็นฝ่ายชนะ”
การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ตัวเองเป็นสิ่งที่ทุกคนทำเองได้ด้วยหลักการง่ายๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเน้นการใช้ชีวิตสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองด้วยธรรมชาติคือ
ขอบคุณข้อมูลจากส่วนหนึ่งของบทความที่เขียนโดย :
นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจชื่อดังผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ ครอบครัว และผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพ Welness We care Center