ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ สิ่งของจำเป็น เมื่อต้อง "Home Isolation"

ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ  สิ่งของจำเป็น เมื่อต้อง "Home Isolation"

     ต้องยอมรับว่าสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 กำลังเกินที่ระบบสาธารณสุขของเราจะรับไหวในเวลานี้ ทำให้ต้องมีผู้ป่วยรักษาอาการอยู่ที่บ้านและชุมชน หรือการทำ “Home Isolation” อีกมาตรการหนึ่งที่พอจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในขณะนี้  

     สำหรับคนที่ติดโควิดแต่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ออกอาการเลย หากต้องรักษาตัวอยู่บ้าน และไม่สามารถเข้าถึงยาเฉพาะได้ ก็สามารถรักษาตามอาการด้วยยาและเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อประเมินอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ  Mega We care รวบรวมรายชื่อยาและสิ่งของจำเป็น เมื่อต้อง Home Isolation ดังนี้

 ยาที่ควรมีติดบ้านไว้ เมื่อต้องกักตัวรักษาอาการแบบ Home Isolation

1.  ยาลดไข้ พาราเซตามอล :
     เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ขาดไม่ได้ ควรมีติดไว้ตลอด หากมีอาการไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส หรือมีอาการปวดต่างๆ หากเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้ แต่ควรทานให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว (10มก./กิโลกรัม/ครั้ง) ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือกรณีถ้ามีอาการไข้สูงและปวดเมื่อยร่วมด้วยแนะนำเป็นยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

2.  ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก :
     อีกหนึ่งอาการของผู้ป่วยอาการโควิด คือ น้ำมูกไหลคล้ายอาการหวัด  ยาแก้แพ้ลดน้ำมูกจึงเป็นอีกยาที่ควรมีติดบ้านไว้เสมอ เมื่อมีอาการ น้ำมูกไหล จาม คันตา น้ำตาไหล คันจมูก หรือคันคอ แนะนำเป็นกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้แพ้รุ่นที่ไม่ง่วง เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) , เซทิริซีน (Cetirizine) และออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง เนื่องจากยาแก้แพ้รุ่นแรก เช่น คลอเฟนิลามีน  นอกจากมีผลข้างเคียงจะทำให้ง่วงแล้ว ยังทำให้คอแห้ง เสมหะ เหนียวข้น ขับออกยาได้ ทำให้อาการไอ หนักขึ้น นั้นเอง และไม่สามารถคุมอาการได้ตลอดทั้งวัน

3.  ยาลดอาการแก้ไอ :
     หากมีอาการไอที่มักจะเป็นอาการพ่วงมาจากอาการไข้หวัด ควรทานยาลดอาการไอ ชื่อยา เด็กซ์โตรเมโทแฟน (dextromethorphan) เพื่อบรรเทาอาการ หากไอแบบมีเสมหะ ควรเลือกใช้ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะ แต่ถ้าเป็นการไอแห้ง ควรเลือกทานยาประเภทกดอาการไอ แต่ควรกินตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ

4.  ยาละลายเสมหะ :
     หากมีอาการไอ ร่วมกับมีเสมหะควรทานยาละลายเสมหะซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เสมหะเหนียวน้อยลง สามารถช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะให้ดีขึ้น เช่น ยาเอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน (N-acetylcysteine) หรือเรียก อีกชื่อว่า NAC เป็นต้น นอกจากทานยาแล้ว การดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งจะช่วยให้ชุ่มคอ และควรนอนหลับให้เพียงพอก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้อาการไอ ไข้หวัด ค่อยๆบรรเทาลง

5.  สเปรย์พ่นคอ :
     อีกหนึ่งสิ่งที่ควรพบไว้เสมอ สเปย์พ่นคอแนะนำให้ทำมาจากสารสกัดจากธรรมชาติเช่น โพรโพลิส คาโมมายลล์ เปปเปอร์มินต์ ว่านหางจระเข้ ยูคาลิปตอล ชะเอมเทศ น้ำผึ้ง ซึ่งจะมีสรรพคุณลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากและลำคอ ช่วยให้ลม ลดอาการคันคอ ระคายคอ และเจ็บคอได้ดี และช่วยให้หายใจสดชื่น เย็นชุ่มคอ

6.  สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก :
     ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำจมูกไหล ทำให้จมูกโล่งและหายใจได้สะดวกขึ้น

7.  สมุนไพรฟ้าทะลายโจร :
     ยาสามัญประจําบ้าน ที่ทุกบ้านต้องมีไปเเล้ว เพราะฟ้าทะลายโจร เป็นยาสมุนไพรที่เอามาใช้ในผู้ป่วยโควิด โดยรับประทานให้ได้สารแอนโดรกราโฟไลท์ วันละ 180 มก. ต่อเนื่องนาน 5 วัน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นป้องกันไวรัสเข้าเซลล์ แต่ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วย ตับ ไต หญิงตั้งครรภ์ และผู้ใช้ยาลดความดันและต้านเกล็ดเลือด

8.  ผงเกลือแร่ ORS :
     ผงเกลือแร่หรือที่เรียกว่า ผงน้ำตาลเกลือแร่ จะมีส่วนประกอบของเกลือเเร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อทดเเทนพลังงานให้กับร่างกาย ใช้เมื่อร่างกายต้องการน้ำเเละเกลือเเร่ที่เสียไปเมื่อเกิดอาการท้องเสียเฉียบพัน หรือ อาเจียน ร่างกายขาดน้ำมาก

9.  วิตามินซี 1,000 mg :
     วิตามินซีปริมาณสูง มีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ผลการวิจัยพบว่าวิตามินซีช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยมีผลในการเพิ่มความสามารถในการต้านการติดเชื้อ เนื่องจากวิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัย ไม่ตกค้างในร่างกาย แนะนำขนาด 1,000 – 3,000 มก.ต่อวัน

อุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านไว้ เมื่อต้องกักตัวรักษาอาการแบบ Home Isolation

1.  เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว :   
     การวัดค่าออกซิเจนในเลือด กรณีผู้ป่วยพบว่าตนเองมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ปกติเลขควรอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าเลขแตะ 94% หรือต่ำกว่าให้เฝ้าระวังทันที 

2.  เครื่องวัดอุณหภูมิ :
     เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรมีติดไว้ที่บ้านเพื่อใช้วัดอุณหภูมิร่างกายเบื้องต้น เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อบันทึกในแต่ละวัน ไม่ให้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส

3.  หน้ากากอนามัย :
     ต้องเป็นหน้ากากที่มีขนาดเล็ก 3 ไมครอน เช่น หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากาก N95 เป็นต้น โดยควรสวมตลอดเวลาที่อยู่กับผู้อื่น และต้องเปลี่ยนหน้ากากใหม่ทุกวัน

4.  แอลกอฮอล์ :
     ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 75 % โดยใช้ชโลมให้ทั่วมือ และถูกจนกว่าจะแห้ง

5.  ทิชชู่เปียก :
     สำหรับเช็ดทำความสะอาดสิ่งต่างๆ

6.  น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช็ดทำความสะอาด :
     สำหรับเช็ดฆ่าเชื้อหลังจากที่สัมผัสสิ่งของต่าง ๆ เช่น ลูกบิดและมือจับต่าง ๆ

7.  ถุงขยะสีแดงมีหูผูก สำหรับขยะติดเชื้อ :
     แยกขยะติดเชื้อไว้ต่างหากจากขยะอื่นๆ โดยใส่ถุงขยะสีแดงซึ่งใช้สำหรับใส่ขยะติดเชื้อ และควรแยกถังขยะกัน เพื่อแยกการทิ้งทิชชู่ แผ่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อ และสิ่งอื่นๆ ออกจากคนที่อยู่ร่วมบ้านด้วย 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้