Search

โพรไบโอติก (Probiotics) กับการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค

ระบบย่อยอาหาร
เสริมภูมิกันด้วย โพรไบโอติก


ในช่วงของวิกฤติสุขภาพการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานเกี่ยวกับสาธารณะสุขทั่วโลกต่างเร่งทำการศึกษาเพื่อค้นหาวิธีในการหยุดยั้ง บรรเทา ลดความรุนแรง รวมทั้งป้องกันไม่ให้เชื้อโรคมาทำอันตรายกับร่างกายของมนุษย์

โพรไบโอติก (Probiotics) ตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

เนื่องจากจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้มีผลต่อความรุนแรงของ COVID-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้วถูกศึกษาด้วยเช่นกัน

งานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้มุ่งศึกษาเรื่องของโพรไบโอติก (Probiotics) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายว่าอาจเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกเพื่อป้องกันหรือรักษา COVID-19 เช่น นักวิจัยของประเทศจีนได้ทดลองให้ผู้ป่วย COVID-19 รับประทานโพรไบโอติกบางตัวและพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกมีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้

ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotics) ที่มีต่อร่างกาย

นอกจากนี้ทีมวิจัยจาก Duke University ของอเมริกาเผยว่า โพรไบโอติก (Probiotics) มีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโพรไบโอติกส์สามารถกำจัดไวรัส และแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ ดังนั้นเราจึงควรบริโภคจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เนื่องจากมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพได้แก่

  1. เสริมสร้างภุมิคุ้มกัน และช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้หากรับประทานสม่ำเสมอ และช่วยสร้างสมดุลของเชื้อที่ดีให้เพิ่มขึ้น
  2. มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยลดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมอาหารได้ดี
  3. จุลินทรีย์ในอาหารบางชนิดมีโพรไบโอติก ซึ่งเป็นเชื้อที่ดีซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่รอดภายในลำไส้ของคนได้
  4. โพรไบโอติกคุณภาพดี และเป็นสายพันธ์เฉพาะ สามารถทนกรดและน้ำดีที่มีอยู่ในลำไส้ได้
  5. ช่วยลดอาการแพ้น้ำตาลแลกโตส (เพราะน้ำตาลแลกโตส เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องเสีย จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลกติกที่สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น)
  6. จุลินทรีย์ที่ดีชนิดนี้มีเอนไซม์ ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น สำหรับอาหารแหล่งโพรไบโอติก อาทิ กิมจิ คอทเทจ ชีส ซาวร์เคราต์ มิโสะ แอปเปิ้ลไซเดอร์ เทมเป้ พาร์มีซานชีส โยเกิร์ต ส่วนอาหารที่คนไทยหากินง่าย คือ ข้าวหมาก ผักกาดดอง ถั่วเน่า และนมเปรี้ยว
อาหารที่มี โพรไบโอติก

อีกทั้งงานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้ตั้งคำถามถึงความเกี่ยวข้องของโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีหรือมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนหนึ่งจากงานวิจัยที่จัดทำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์และจุลชีววิทยาของ King Saud University ประเทศซาอุดิอาระเบียพบว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) มีฤทธิ์ในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ รวมถึงปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ จึงทำให้ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาเรื่องการใช้โพรไบโอติกเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

งานวิจัยจำนวนมากศึกษาความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องของโพรไบโอติก(Probiotics) ในลำไส้และความผิดปกติของปอด ซึ่งรวมถึงโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ มะเร็งปอด ปอดบวม และน้ำในเยื้อหุ้มปอด โดยระบุว่าการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการรบกวนจุลินทรีย์ในลำไส้ อาทิ L. casei, L. gasseri, B. longum, B. bifidum, L. rhamnosus, L. plantarum, B. breve, Pediococcus pentosaceus และ Leuconostoc mesenteroides ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดในประเทศจีนยังยืนยันว่าการติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลต่อความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์ โดยสังเกตจากผู้ป่วย COVID-19 พบว่ามีจุลินทรีย์ Bifidobacterium spp. และ Lactobacillus spp. ในลำไส้ลดลง รวมถึงสัดส่วนของผู้ป่วย COVID-19 ที่เป็นโรคอุจจาระร่วงสูงถึง 36%

ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนจึงได้ทดลองให้ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานโพรไบโอติก (Probiotics) บางตัว แล้วก็พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกมีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้ อย่างไรก็ตามบทบาทในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาของโพรไบโอติกยังคงต้องได้รับการศึกษาและทดลองต่อไปให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น

ส่วนงานวิจัยอีกฉบับจากซาอุดีอาระเบียก็ได้สรุปว่าโพรไบโอติก (Probiotics) จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจรวมถึงช่วยบรรเทาอาการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กล่าวคือโพรไบโอติกเป็นสารกระตุ้มภูมิคุ้มกันและมีแนวโน้มที่จะรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ในกรณีที่ไม่มีวัคซีน ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับงานจากเวียดนามที่ระบุว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกลไกของการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ต่อไปเพื่อสามารถพัฒนายาหรือวัคซีนชนิดใหม่สำหรับต้านไวรัสโคโรนา

Dr. Paul Wischmeyer หัวหน้าทีมวิจัยจาก Duke University ของอเมริกาก็ระบุว่า “คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงศักยภาพของโพรไบโอติกในการลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อ ซึ่งเขาและทีมงานทุกคนเชื่อว่าโพรไบโอติกสามารถนำไปใช้กับโรค COVID-19 ได้เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่นๆ โดยได้กล่าวไว้ว่า "เรามีข้อมูลที่ศึกษาประโยชน์ของโพรไบโอติกพบว่ามีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโพรไบโอติกสามารถกำจัดไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าโพรไบโอติกสามารถลดการติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ได้อย่างมีนัยสำคัญ 30-50%"

แม้ว่าเรื่องของการนำเอาโพรไบโอติก (Probiotics) มาใช้รักษากับ COVID-19 ยังไม่ยืนยันแน่ชัด แต่การที่ร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีนี้อย่างเพียงพอก็สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวม และระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล ดังนั้นโพรไบโอติก (Probiotics) จึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลต่อสุขภาพ รวมถึงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทุกคน
อ่านต่อ : ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotics) ต่อระบบทางเดินอาหาร
โพรไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน
อ้างอิง

1. www.tnnthailand.com/news/covid19/73644/

2. www.thelancet.com/journals/langas/article/PIIS2468-1253(20)30196-5/fulltext

3. Drug Hypersensitivity reactions พญ.วัลยา กู้สกุลชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ล้างพิษ

โพรไบโอติก (Probiotic) มิตรแท้ระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร

‘โปรไบโอติกส์’ (Probiotics) จุลินทรีย์ชนิดดีกับการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค

ทั้งหมด

'ท้องอืด' บรรเทาด้วย 3 สมุนไพรจากธรรมชาติ