ขมิ้นชันกับประโยชน์ที่ใช้ต่อสู้กับไวรัส

ขมิ้นชันกับประโยชน์ที่ใช้ต่อสู้กับไวรัส

ขมิ้นชันกับประโยชน์ที่ใช้ต่อสู้กับไวรัส

     ขมิ้น หรือ ขมิ้นชัน (Turmeric) พืชสมุนไพรที่มีเหง้าสีเหลืองอยู่ใต้ดินในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสรรพคุณหลากหลายด้านที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เพราะมีจุดเด่นที่รสชาติจัดจ้านและมีสีสันที่สวยงาม ในอาหารไทยก็มีขมิ้นชันเป็นวัตถุดิบด้วย เช่น ข้าวหมกไก่ ไก่ทอดขมิ้น แกงไตปลา เป็นต้น

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  ‘ขมิ้นชัน’ สมุนไพรที่ควรมีติดบ้าน

  ขมิ้นชันเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง

  หน้าที่ของขมิ้นชันเมื่อเจอไวรัส

   เลือกกินขมิ้นชันอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ครบ 

     แต่คุณรู้หรือไม่ว่า...ขมิ้นชันมีคุณประโยชน์มากกว่านั้น  เพราะในขมิ้นชันมีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ใยอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ควรมมีติดบ้านเอาไว้

‘ขมิ้นชัน’ สมุนไพรที่ควรมีติดบ้าน

     ขมิ้นชันมีคุณสรรพคุณทางยารักษาอาการและโรคต่างๆ ได้ หากนำขมิ้นมาฝนผสมกับน้ำต้นสุกสามารถเอามาใช้เป็นยาทาภายนอกได้ เพื่อรักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ แมลงหรือสัตว์กัดต่อย โดยทาที่บริเวณมีอาการเป็นวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการให้ลดลงได้

     เรื่องของความสวยความงาม ขมิ้นชันก็สามารถช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ลดแบคทีเรียทีทำที่ให้เกิดสิว และช่วยให้ผิวดูขาวขึ้น โดยนำเอาผงขมิ้นชันกับดินสอพองผสมกับนมสดในสัดส่วนที่พอดี ไม่เหลวจนเกินไป คนส่วนผสมให้เข้ากันจนเนื้อเนียน หลังจากล้างหน้าให้สะอาดแล้วให้นำมาพอกหน้า นวดเบาๆ ประมาณ 5 นาที และทิ้งเอาไว้ 5-10 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ

 

turmeric-powder

 

ขมิ้นชันเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง

     ภายในขมิ้นชันมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ที่ประกอบไปด้วย เคอร์คูมิน (Curcumin) เดเมทอกซีเคอร์คูมิน (Demethoxycurcumin) และบิสเดเมททอกซีเคอร์คูมิน (Bisdemethoxycurcumin) มีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ จากงานวิจัยของประเทศบราซิลได้ค้นพบว่า ‘เคอร์คูมิน’ สามารถลดการจับตัวของไวรัสกับผนังเซลล์ในร่างกาย และช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสไม่ให้ลุกลามหรือเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก โดยเคอร์คูมินออกฤทธิ์ต้านไวรัส ช่วยการยับยั้งและกระตุ้นการตอบสนองต่อไวรัส ขมิ้นชันจึงเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีศัยกภาพในการป้องกันการระบาดของไวรัส

     การใช้ขมิ้นชันมีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับที่สามารถช่วยป้องกันไวรัส อีกทั้งยังมีการศึกษาว่าการรักษาด้วยขมิ้นชันสามารถลดอาการบวมน้ำที่ปอดและปรับการทำงานของปอดอีกด้วย และคาดว่าจะมีการใช้ชมิ้นชันในคลินิกและสถานพยาบาล

หน้าที่ของขมิ้นชันเมื่อเจอไวรัส

1. ป้องกันไวรัสที่จะเข้าไปในเซลล์ร่างกาย

2. ยังยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส

3. ยับยั้งไวรัสไม่ให้ทำร้ายเซลล์ต่างๆ  ในร่างกาย

4. ยับยั้งโอกาสที่จะทำให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้

5. ปกป้องไม่ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำร้ายตัวเราเอง (จากปฏิริยาของ Cytokine storm)

เลือกกินขมิ้นชันอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ครบ

     ในปัจจุบันขมิ้นชันสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด แต่การหาซื้อขมิ้นมารับประทานเองไม่ว่าจะเป็นแบบผงหรือแบบแคปซูล แต่ในรูปแบบที่เป็นผงทั่วไปร่างกายจะดูดซึมขมิ้นไปใช้ได้ไม่ดีนัก ในขบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานระดับสากล และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาสารสกัดจากขมิ้น ในรูปแบบไฟโตโซมที่ ทำให้ขมิ้นชันสามารถถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้มากกว่าสารสกัดขมิ้นทั่วไปได้ถึง 9 เท่า ดังนั้นเมื่อเลือกที่จะรับประทานขมิ้นชันจากรูปแบบไฟโตโซม ก็จะมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่าและเกิดการนำไปใช้ในการรักษาร่างกายได้เกิดประโยชน์สูงสูง

 

การศึกษาระดับยาในเลือด Meriva 450 mg เทียบกับยี่ห้อใดๆ (สารสกัด) 4,000 mg = 9 เท่า 

450mg-MERIVA-curcuminoids-vs-4g-curcuminoid

 

     ด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลายของขมิ้นชัน จึงเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่หาได้ง่ายและความมีติดบ้านเอาไว้ หากรับประทานเป็นประจำ ควบคู่กับการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ จะยิ่งทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งขึ้น...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

1.      https://medthai.com/ขมิ้นชัน/

2.      http://203.157.123.7/ssopanom/?news=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3

3.      https://www.disthai.com/16488284/ขมิ้นชัน

4.      https://www.bangkokbiznews.com/health/954702

5.      Frontiers | Curcumin as a Potential Treatment for COVID-19 | Pharmacology (frontiersin.org)

6.      Anti-inflammatory Properties of Curcumin, a Major Constituent of Curcuma longa: A Review of Preclinical and Clinical Research. Julie S. Jurenka, MT(ASCP). Alternative Medicine Review Volume 14, Number 2 2009

 

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้