จากข้อมูลล่าสุดพบว่าภาวะวุ้นในตาเสื่อมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีความเสี่ยง เพราะพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างผิดวิธีของคนยุคนี้ ทั้งจากการทำงาน การใช้ชีวิตแบบติดหน้าจอตลอดทั้งวัน ทำให้ดวงตาถูกใช้งานอย่างหนัก จนสายตาเสีย อีกทั้งชีวิตที่เร่งรีบยังส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน กินอาหารที่ไม่หลากหลาย กินอาหารไม่มีประโยชน์ ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมก่อนวัย จนกลายเป็นโรคตายอดฮิตที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย
หากคุณอยากรู้ว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม? แล้วมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยบำรุงดวงตาเพื่อชะลอความเสื่อม? บทความนี้จาก MEGA We care มีคำตอบ
สนใจหัวข้อไหน... คลิกเลย
อาการของผู้มีภาวะวุ้นในตาเสื่อม
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม
ดูแลดวงตาอย่างไรเพื่อชะลอภาวะวุ้นในตาเสื่อม
เห็นเงาดำลอยไปมาในตา
เห็นเงาดำจุดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
มองไม่ชัด สายตาฝ้าฟาง เหมือนมีหยากไย่ในลูกตา
เห็นแสงวาบในตา
เห็นเงาคล้ายม่านบังตาบางส่วน
ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง
แสงสีฟ้าจากหน้าจอ เป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิด “จอประสาทตาเสื่อม” นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่เร่งให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้ เพราะ เมื่อต้องใช้สายตาเพ่งอยู่กับหน้าจออยู่ จะทำให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก ยิ่งจ้องหน้าจอบ่อยๆ หรือจ้องจอเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมก่อนวัยได้
อายุที่เพิ่มมากขึ้น คือสาเหตุของการเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด โดยจากสถิติพบว่า “คนไทยอายุ 40 ปีขึ้นไป กว่า 14 ล้านคน มีปัญหาวุ้นในตาเสื่อม” ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ทุกส่วนของร่างกายจะเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติรวมถึงดวงตาด้วย เมื่อวุ้นลูกตาเกิดการเสื่อมจะกลายเป็นน้ำบางส่วน และหากเกิดการเสื่อมมากวุ้นตาจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ส่วนที่ใสๆเกิดเป็นฝ้าหรือเป็นจุดดำ จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมองเห็น
จากข้อมูลพบว่า “ผู้ที่มีสายตาสั้นตั้งแต่ 400 ขึ้นไป ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมก่อนวัยได้” โดยผู้มีสายตาสั้นจะเสี่ยงเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้เร็วกว่าคนสายตาปกติราว 2 เท่าตัว เนื่องจากโครงสร้างดวงตาของคนสายตาสั้นนั้นอ่อนแอกว่าคนสายตาปกติ ทำให้บางรายจะเริ่มมีภาวะวุ้นในตาเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ปัจจัยการเสื่อมช้าหรือเร็วยังขึ้นอยู่กับค่าความสั้นของสายตาด้วย เช่น ผู้มีสายตาสั้น 600 มีความเสี่ยงเกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมเร็วกว่าผู้ที่มีสายตาสั้น 400 เป็นต้น
“วุ้นในตาเสื่อม คือหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน” เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดบริเวณจอตาได้ง่ายกว่า จนร่างกายจึงต้องสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทนแต่เป็นเส้นเลือดที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เลือดหรือสารน้ำอื่นๆ อาจจะรั่วเข้าสู่จอตา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น จนดวงตาเกิดความเสียหายหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
อีกปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อม คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดดวงตา เช่น การผ่าตัดดวงตาเนื่องจากอุบัติเหตุ, การผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งจะมีการเปลี่ยนเลนส์ตาโดยใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปแทน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เพราะจะไปเพิ่มโอกาสให้วุ้นในตาหลุดลอก จนเกิดเป็นภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้
เมื่อรู้แล้วว่าภาวะวุ้นในตาเสื่อมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และยังส่งผลเสียต่อความสามารถในการมองเห็น หลายคนคงอยากรู้ว่ามีวิธีใดบ้างที่จะช่วยบำรุงหรือดูแลดวงตาเพื่อชะลอความเสื่อมตามวัย และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะวุ้นในตาก่อนวัยได้ MEGA We care มีวิธีดูแลดวงตาด้วยตัวเองง่ายๆมาบอกกัน
1. เมื่อต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอมือถือเป็นเวลานานๆ ควรปรับแสงหน้าจอให้สว่างพอดีและสบายตา ไม่จ้าหรือมืดเกินไปจนทำให้สายตาต้องใช้งานหนัก ใช้แผ่นกรองแสงบริเวณหน้าจอหรือสวมแว่นตากรองแสงสีฟ้า
2. ไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะ ตามกฎ 20-20-20 คือ พักสายตาทุก 20 นาที โดยมองออกไปไกล 20 เมตรเป็นเวลา 20 วินาที
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เพราะเป็นอีกปัจจัยที่ทำลายสุขภาพดวงตา ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ภาวะวุ้นในตาเสื่อม และโรคตาอื่นๆด้วย
4. เข้ารับการตรวจตาพร้อมกับวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคทางดวงตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ ภาวะวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งหากตรวจพบเร็วก็จะสามารถรักษาได้ทันและเพิ่มโอกาสการหายจากโรคได้
5. กินอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพ ช่วยให้การทำงานของดวงตาเป็นไปตามปกติ และมีส่วนช่วยป้องกันภาวะสายตาเสื่อม เช่น ลูทีน บิลเบอร์รี่สกัด เบต้าแคโรทีน แอสต้าแซนทีน รวมถึงวิตามินและเกลือแร่อื่นๆ ในปริมาณที่เพียงพอ