โควิด-19 ยังไม่จบ การ์ดตกไม่ได้! เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิค-19 นอกเหนือจากการเร่งฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพ ร่วมไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นแบบ New Normal คือ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หมั่นล้างมือเป็นประจำ และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะอาการเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวที่คุณเป็นอยู่นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งจะส่งผลให้เมื่อคุณได้รับเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายแล้ว ระดับอาการของโรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว ทำให้ยากต่อการรักษา ใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าปกติ และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอีกด้วย
สำหรับผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ที่หากติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าปกติ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
การเกิด 7 กลุ่มโรคเสี่ยงดังกล่าว มีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกระตุ้น ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และปัจจัยที่สามารถเลี่ยงได้หากดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง “ภาวะไขมันในเลือดสูง” คือ หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายโรค อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีภาวะไขมันในเลือดสูง? ต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากภาวะไขมันในเลือดสูง? และหากคุณเป็นผู้มีภาวะไขมันในเลือดสูงอยู่แล้ว ควรดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะที่มีโรคระบาดเช่นนี้? บทความนี้จาก MEGA We care มีคำตอบ
สนใจหัวข้อไหนคลิก...
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
อาการของผู้มีภาวะไขมันในเลือดสูงที่พบได้บ่อย
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง
“ภาวะไขมันในเลือดสูง” เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
โดยปกติร่างกายคนเราจะมีไขมันอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) โดยไขมันคอเลสเตอรอล แบ่งเป็น
ไขมันชนิดที่ไม่ดี หรือ ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หากเกิดภาวะที่มีไขมันชนิดนี้สูง ไขมันจะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง เสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันในเลือดสูงไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ซึ่งเรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
ไขมันชนิดที่ดี หรือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ทำหน้าที่ขจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ออกจากกระแสเลือด ช่วยลดการสะสมของไขมันคอเลสเตอรอล ดังนั้นไขมันชนิดที่ดี (HDL) นี้ยิ่งสูงยิ่งดีต่อร่างกาย
2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) อาจมีระดับสูงขึ้นจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การดื่มสุรา หรือการกินยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน สเตียรอยด์ รวมถึงอาหารบางประเภท เช่น แป้ง น้ำตาล เนย ครีมต่างๆ เป็นต้น
**ไม่ว่าจะเป็นไขมันชนิดใดก็ตามหากเกิดภาวะที่ร่างกายมีมากเกินไป ไขมันจะไปเกาะตามผนังด้านในของหลอดเลือด ถ้าไขมันสูงมากจะมีผลทำให้หลอดเลือดตีบ ตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรืออาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ**
การกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ (ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
ผลจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคตับ ไทรอยด์ เป็นต้น
ความผิดปกติจากกรรมพันธุ์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
การตั้งครรภ์
ขาดการออกกำลังกาย
หน้ามืด วิงเวียนเมื่อลุกนั่งเร็วๆ หรือก้มหน้านานๆ
เวียนหัว ปวดหัวบ่อยๆ
รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
มีอาการปลายมือปลายเท้าเย็น
เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
ผู้ป่วยบางรายมีอาการเดินโซเซ
ปวดตามข้อ แขนขาตึงเหยียดได้ไม่ถนัด
เมื่อรู้แล้วว่าภาวะไขมันในเลือดสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในหลายด้าน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายโรค หลายคนคงอยากรู้แล้วใช่ไหมว่า มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีภาวะไขมันในเลือดสูง MEGA We care มีวิธีดูแลตัวเองง่ายๆมาบอกกัน
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ควบคุมอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ ของทอง ของมัน เป็นต้น
หากเป็นผู้ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ควรระวังการกินอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด เนย ครีม กะทิ เป็นต้น
เลือกกินอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
เน้นกินอาหารประเภทผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้กากใย เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม
ปรุงอาหารโดยการใช้วิธี นึ่ง ต้ม แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
หลีกเลี่ยงหรืองดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ในเลือดลดต่ำลง และบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 30-40 นาที เพราะการออกกำลังกายจะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ได้
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะคนอ้วนส่วนใหญ่มักมีปัญหาไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง
ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ หากมีภาวะไขมันในเลือดสูงควรปรึกษาแพทย์ และติดตามผล
เลือกดูแลตัวเองด้วย สารสกัดจากไขเปลือกอ้อย หรือ โพลีโคซานอล (Policosanol) ทางเลือกใหม่จากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการลดไขมันคอเลสเตอรอลมากกว่าการใช้ยาลดไขมันในเลือด มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากธรรมชาติกลุ่มโพลีโคซานอล (Policosanol) ที่พบเฉพาะในไขเปลือกอ้อยอุดมไปด้วยคุณค่าบริสุทธิ์ของสารอาหารจากธรรมชาติ มีสูตรโครงสร้างคล้ายยาลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด กลุ่ม Statin ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดไขมันคอเลสเตอรอลอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดรวม (TC) และไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง ช่วยสร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยกระตุ้นตับให้สร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ถึง 3-4% ลดความเสี่ยงภาวะการอุดตันของเกล็ดเลือดได้ถึง 50 % มีส่วนช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้
ด้วยความห่วงใยจาก_ MEGA We care