เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ต่างๆ ในร่างกายก็เสื่อมลงไปตามกาลเวลาและสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงสมอง ในผู้สูงอายุอาจที่มีอาการหลงๆ ลืมๆ กันบ้าง แต่หากปล่อยเอาไว้นาน ในอนาคตหากเซลล์สมองไม่ได้รับการดูแลจะส่งผลให้เซลล์สมองไม่ได้ใช้งานและสมองฝ่อลงได้ ดังนั้นการลองสังเกตอาการของผู้สูงอายุในบ้านก็สามารถบอกได้ว่ากำลังเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมหรือไม่
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ฟื้นฟูอาการสมองเสื่อมด้วยใบแปะก๊วย
10 ข้อควรปฏิบัติป้องกันโรคสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) คือภาวะที่เกิดจากระบบการทำงานของสมองเสื่อมลงหรือมีปัญหาด้านความจำบกพร่อง ได้แก่ การใช้ความคิด การตัดสินใจ ความเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ภาษา การพูด ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอาการอื่นๆ เช่น นึกคำพูดไม่ออก บวกลบเลขง่ายๆ ไม่ได้ ความสามารถในการสื่อสารลดลง หรือไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิมอย่างการติดกระดุมเสื้อ จะพบในครึ่งหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นในประเทศไทย
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบก้าวกระโดด โดยมีประชากรเข้าสู่วัยสูงอายุกว่าปีละล้านคน ประชากรสูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนของภาวะสมองเสื่อมโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ถึง 10 ซึ่งเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมก็มากขึ้น
ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งประมาณ 6 แสนคน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 100,000 รายต่อปี ประมาณการณ์ว่าในปี 2573 จะมีผู้สูงอายุป่วยเป็นอัลไซเมอร์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1,177,000 คน โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนในการเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 5 -8 และเมื่อมีอายุ 80 ปีสัดส่วนของการเป็นโรคอัลไซเมอร์สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุอยู่ 2 ประการ คือ
1. สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพาต เกิดจากชนิดหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตกก็ตาม โดยโรคสมองเสื่อมจะพบถึง 20% ของผู้ป่วย
2. โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ 70-80% ของผู้ที่มีสมองเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองฝ่ออย่างรวดเร็ว
ความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ถ้าหากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะสมองเสื่อม ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมากขึ้น แต่ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติในครอบครัวเป็นสมองเสื่อมมีโอกาสในการเป็นเช่นกัน
เกี่ยวข้องกับความทรงจำ แต่ไม่ได้ร่วมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยความบกพร่องมีโอกาสสูงที่จะทำให้สมองเสื่อม
โรคอัลไซเมอร์เป็นการพัฒนาของโรคดาวน์ซินโดรมจะพบบ่อยในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมในวัยกลางคน
ความผิดปกติทางสมองสามารถเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอายุน้อยกว่า 50 ปี
โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคซึมเศร้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
โรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
เริ่มจากขี้หลงขี้ลืม เช่น ลืมเรื่องที่พึ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ชอบถามคำถามเดิมๆ ตื่นตกใจง่าย และอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้
เมื่อผู้ป่วยมีอาการระยะแรกแล้วไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจพบปัญหาความจำแย่ลงจนไม่สามารถจำชื่อคนรู้จัก ไม่สามารถลำดับเครือญาติ อาจมีอาการสับสน ลืมวันเวลา ร่วมกับนอนไม่หลับ ที่พบบ่อยคือหลงทาง หาทางกลับบ้านเองไม่ได้ ระยะนี้พบอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงซึ่งอาจรุนแรงและเกิดภาวะซึมเศร้าได้
ผู้ป่วยจะเกิดภาพหลอน เรียกร้องความสนใจหรือก้าวร้าวขึ้น มักมีอาการทางกาย เช่น เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก เคลื่อนไหวช้าลง หรือไม่สามารถเดินเองได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ใบแปะก๊วย (Ginkgo) พืชสมุนไพรของชาวจีนที่เป็นเหมือนยาอายุวัฒนะ ที่สามารถบำบัดโรคต่างๆ ได้ อย่างช่วยบำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ใบแปะก๊วยมีสารสำคัญอย่าง ฟลาโวนไกลโคไซค์ (Flavone Glycoside) และ เทอร์ปีน แลคโตน (Terpene lactone) ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของสมอง เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่สมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ดีขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด เมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจะเสื่อมสภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมองทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
หลายประเทศในปัจจุบันให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม อาการหลงๆ ลืมๆ เป็นผลเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้สูงอายุ มีผลงานวิจัยที่พบว่า ใบแปะก๊วยมีคุณสมบัติเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงส่งผลในเรื่องความจำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ในประเทศเยอรมนีผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรงทางสมองและหลอดเลือด จะนำสารสกัดจากใบแปะก๊วย มาใช้บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางความจำ ความคิดทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ง่ายขึ้น และในสหรัฐอเมริกาได้นำเอาใบแปะก๊วยมาใช้รักษากับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างแพร่หลาย ซึ่งพบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น
จากข้อมูลเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ สรุปว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมเมื่อให้ในขนาดที่มากกว่า 240 มก.ต่อวัน อย่างน้อย 6-7 เดือน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาที่ไม่จำเป็น เพราะเป็นสารที่อาจเกิดอันตรายกับสมอง
3. งดสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
4. หลีกเลี่ยงความเครียด หรือความรู้สึกที่มีผลต่ออารมณ์มากๆ
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
7. การฝึกสมองและพยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยให้มีกิจกรรมกับคนในครอบครัว
8. ตรวจเช็คสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง
9. ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ
10. เสริมวิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสมอง
อย่ากังวลใจไปหากต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพราะโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ตั้งแต่วันนี้ การเอาใจใส่ดูแลอาหารการกินก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างใบแปะก๊วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองได้อย่างครบถ้วน...ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://medthai.com/แปะก๊วย/
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/529644
https://ittm.dtam.moph.go.th/images/knowleaga/2/แปะก๊วย%20%20ช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำ.pdf
https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/network_title1_2.html
https://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2018/12/Recent-Advances.pdf
https://www.thonburihospital.com/ภาวะสมองเสื่อม_.html
ข้อมูลเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย : การจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดย น.ส.อภิญญา ตันทวีวงศ์ (https://thaitgri.org/?p=38965)
Effects of Ginkgo biloba on dementia: An overview of systematic reviews (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27940086/)
Efficacy and adverse effects of ginkgo biloba for cognitive impairment and dementia: a systematic review and meta-analysis (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25114079/)