โกรทฮอร์โมน เคล็ดลับดีดีของวัยเจริญพันธุ์

โกรทฮอร์โมน เคล็ดลับดีดีของวัยเจริญพันธุ์

     ไม่ใช่แค่ช่วยเสริมการเจริญเติบโตในวัยเด็ก แต่ โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ยังมีบทบาทสำคัญต่อการบำรุงสุขภาพของวัยเจริญพันธุ์ในหลากหลายด้าน ทั้งช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย ช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเรื่องการนอนหลับ และยังช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย!!

     ด้วยอายุเพิ่มขึ้นผนวกกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ทั้งทำงานหนัก นอนน้อย ขาดการดูแลตัวเอง รวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหารที่ให้โภชนาการต่ำ กินอาหารสำเร็จรูป กินอาหารไม่หลากหลาย ทำให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้น้อยลงกว่าปกติ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผิวพรรณแลดูเหี่ยวย่น ผิวไม่เต่งตึง ใบหน้าหย่อนคล้อยและดูแก่กว่าวัย!! … ถึงตอนนี้อยากรู้แล้วใช่หรือไม่ว่า ผู้มีภาวะโกรทฮอร์โมนในร่างกายต่ำจะมีอาการอย่างไร? และ ต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้มีระดับฮอร์โมนในร่างกายที่สมดุล? บทความนี้จาก MEGA We care มีคำตอบ

       สนใจหัวข้อไหนคลิก...

       โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คืออะไร?

       ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมนต่อวัยเจริญพันธุ์

       อาการของผู้มีภาวะโกรทฮอร์โมนในร่างกายต่ำ

       ดูแลตัวเองอย่างไรให้มีโกรทฮอร์โมนที่สมดุล


โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คืออะไร?

     โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมอง และเข้าสู่กระแสเลือด หลายคนอาจคุ้นเคยกับฮอร์โมนชนิดนี้ในชื่อของ ฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโตในวัยเด็ก แต่แท้จริงแล้วโกรทฮอร์โมนคือฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของคนทุกช่วงวัย เพราะเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเรื่องการทำงานของสมอง ควบคุมปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ และกระดูกภายในร่างกาย ไปจนถึงระบบเผาผลาญ

     โดยปกติเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (อายุตั้งแต่ 25 - 60 ปี) ร่างกายคนเราจะผลิตและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาน้อยลง หรือบางรายอาจจะไม่มีการหลั่งของโกรทฮอร์โมนออกมาเลยก็ได้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล เกิดความเสื่อมขึ้นกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่กระฉับกระเฉง เหนื่อยง่าย ทำให้ป่วยง่าย อ่อนแอลง ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่งสดใส และยังทำให้อ้วนง่ายขึ้นแม้กินในปริมาณเท่าเดิม จึงอาจกล่าวได้ว่าหากอยากชะลอความชราของร่างกายต้องรักษาโกรทฮอร์โมนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

Decline_of_HGH_with_Age

ประโยชน์ของโกรทฮอร์โมนต่อวัยเจริญพันธุ์

       ประโยชน์เรื่องการชะลอวัย
     จากการศึกษาพบว่าเมื่อคนเราเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 25 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตโกรทฮอร์โมนลดลง 14% และจะลดลงแบบนี้ในทุก 10 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การได้รับอาหารที่ช่วยเสริมให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพิ่มขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกเพื่อชะลอวัย ทำให้ความเสื่อมต่างๆ ไม่เกิดขึ้นก่อนเวลาหรืออาจทำให้เสื่อมช้ากว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน

       ประโยชน์ด้านการนอนหลับ
     จากการศึกษาพบว่าในผู้ที่มีระดับโกรทฮอร์โมนที่ต่ำกว่าปกติ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ หลับยาก หลับไม่สนิท ซึ่งส่งผลให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้น้อยลงไปอีก ร่างกายไม่ได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างเต็มที่ ทำให้ตื่นนอนมารู้สึกไม่สดชื่น แต่ถ้าร่างกายสามารถสร้างโกรทฮอร์โมนได้สมบูรณ์ ก็จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้นและการนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น

       ประโยชน์ด้านสมรรถภาพทางเพศสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
     จากการศึกษาพบว่าเมื่อร่างกายของคนวัยเจริญพันธุ์ มีการผลิตและหลั่งโกรทฮอร์โมนในระดับที่เหมาะสม จะช่วยเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นให้การผลิตไนตริกออกไซด์จากหลอดเลือดเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศและการแข็งตัวดีขึ้นในผู้ชาย และสำหรับในผู้หญิงเมื่อหลอดเลือดขยายตัวได้เต็มที่ ก็จะทำให้สารคัดหลั่งในบริเวณต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ ช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง จึงลดปัญหาที่อาจเกิดขณะมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุเพิ่มขึ้นได้

       ประโยชน์ที่มีต่อระบบเผาผลาญ
     เคยสังเกตหรือไม่ว่า...หลายคนเมื่ออายุเพิ่มขึ้นน้ำหนักตัวก็จะเพิ่มง่ายขึ้นแม้ว่าจะกินอาหารในปริมาณเท่าเดิม นั่นเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายลดลง ซึ่งโกรทฮอร์โมนคืออีกตัวช่วยที่จะมากระตุ้นเรื่องการสังเคราะห์โปรตีน และยังทำให้ร่างกายสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเพิ่มการเผาผลาญในร่างกาย มีลดการเกิดไขมันสะสม กระตุ้นการสลายตัวของไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ดี

       ประโยชน์ต่อผิวพรรณและความงาม
     หากร่างกายมีการผลิตและหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาในระดับที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว ทำให้ผิวเรียบเนียน ผิวเต่งตึงเสมือนย้อนวัยให้กับผิว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นบนผิวหน้าและร่างกาย ลดรอยตีนกา ช่วยฟื้นฟูผิว ช่วยตรึงความสวยความงามของผิวให้อยู่กับคุณได้นานขึ้น

       ประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
     อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของโกรทฮอร์โมนที่หลายคนยังไม่รู้ คือ มีส่วนช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยง่าย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปกติ อีกทั้งยังปรับสมดุลชีวเคมีในสมอง ช่วยป้องกันโรคทางสมอง เช่น โรคความจำเสื่อม ได้อีกด้วย

Growth_Hormone_for_Reproductive_Age

อาการของผู้มีภาวะโกรทฮอร์โมนในร่างกายต่ำ

       ​มวลกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
       มวลกล้ามเนื้อลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
       รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
       เกิดภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย
       มีปัญหาเรื่องความทรงจำ ทั้งความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว
       ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดีเท่าที่เคย ทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น 

ดูแลตัวเองอย่างไรให้มีโกรทฮอร์โมนที่สมดุล

     เมื่อรู้สึกได้ว่าตนเองมีภาวะโกรทฮอร์โมนในร่างกายต่ำ หรืออยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือพฤติกรรมการกินที่ส่งผลให้การผลิตและหลั่งโกรทฮอร์โมนลดลง สามารถดูแลตัวเองและเพิ่มโกรทฮอร์โมนในร่างกายได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

     1.  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/วัน ประมาณ 3 - 4 ครั้ง/สัปดาห์ และต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างมีคุณภาพหรือการออกกำลังกายระดับ High intensity exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักในเวลาอันรวดเร็ว การออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้
     2.  ลดการกินอาหารรสหวานจัด จากการศึกษาพบว่าน้ำตาลจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามาก ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนี้เองจะไปยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมนของร่างกาย จึงแนะนำให้ลดการกินน้ำตาลหรือกินอาหารรสหวาน โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน
     3.  จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เนื่องจากความเครียดมีผลเสียต่อร่างกายในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ การทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งจะมายับยั้งการหลั่งของโกรทฮอร์โมนนั่นเอง
     4.  เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะช่วงที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมามากที่สุด คือ ประมาณ เที่ยงคืน ถึงตี 1 และคนเราจะหลับลึกได้หลังจากนอนไปประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแนะนำให้นอนหลับก่อน 5 ทุ่มนั่นเอง โดยขณะที่คุณหลับร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย
     5.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น ปลา ไข่แดง เนื้อแดง เป็นต้น หรือเลือกเสริมด้วยกรดอะมิโนที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยสังเคราะห์โกรทฮอร์โมนได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ L-Arginine, L-Ornithine, L-Lysine, L-Glutamine, L-Leucine, L-Isoleucine และ L-Valine ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าการใช้อาร์จินีนร่วมกับไลซีนโดยการทานอย่างละ 1,200 มิลลิกรัม ช่วยเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนขึ้นมากกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับการรับประทานเพียงชนิดเดียวหรือเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

ด้วยความห่วงใยจาก_ MEGA We care


More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้