เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวทีไร อาการป่วยไข้และไม่สบายก็มักเกิดขึ้นกับทุกคนได้เสมอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ นอกเหนือจากการดูแลร่างกายด้วยการออกกำลังกาย หรือทำร่างกายให้อบอุ่นแล้ว การรับประทานสมุนไพรบางชนิดก็สามารถช่วยดูแลร่างกาย ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่มากับอากาศหนาวได้เป็นอย่างดี
เมื่ออุณหูมิเริ่มลดต่ำลง ร่างกายของคนจำนวนไม่น้อยจะเกิดความแปรปรวน ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพอากาศได้ทัน เนื่องจากภูมิต้านทานจะน้อยกว่าคนปกติ และสุดท้ายก็มักจะโดนอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องโดย ตรงกับ "ระบบทางเดินหายใจ" ที่มาพร้อมฤดูหนาว หรือช่วงอากาศเปลี่ยน แปลงเล่นงานเป็นประจำ ไม่วาจะเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหล ไอ จาม แพ้อากาศ บางคนมีอาการไม่มากใช้เวลารักษา 2-3 วันก็หาย แต่สำหรับบางคนที่มีอาการรุนแรงต้องใช้เวลา 7-14 วันในการรักษาเลยทีเดียว เพราะเกิดการอักเสบภายในร่างกาย
ในการดูแลตัวเองช่วงเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล โดยเฉพาะเมื่อเข้าฤดูหนาว นอกเหนือจากจะต้องดูแลร่างกายให้อบอุ่นแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่จะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่สะอาด และที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นก็คือ การรับประทานสมุนไพรเพื่อเป็นการปรับธาตุ และเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพราะในสมุนไพรบางชนิดมีคุณสมบัติอันเป็นประโยชน์กับร่างกายในฤดูหนาว
1. พริก (Chilli)
เป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ที่อยู่ในเมนูอาการของคนไทยในทุกฤดูกาล โดยคุณสมบัติของพริกที่ดีต่อร่างกายก็คือ ช่วยขับเสมหะและขับเหงื่อ ช่วยลดน้ำมูกทำให้จมูกโล่งหายใจสะดวก และขับลมได้ดี แต่สำหรับคนที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารก็ควรจะต้องระมัดระวังด้วยการจำกัดปริมาณในการรับประทาน
2. ขิง (Ginger)
เป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อนเช่นเดียวกับพริก แต่มีฤทธิ์บรรเทาอาการไอ รักษาอาการหวัดได้ และต่อต้านการสะสมของเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการแก้หวัด และอาการคัดจมูก ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น และการจิบน้ำขิงเมื่อมีอาการไอ หรือมีเสมหะก็สามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
3. กระเทียม (Garlic)
เป็นหนึ่งในสมุนไพรรสเผ็ดร้อนที่ดีต่อร่างกาย กระเทียมถือเป็นหนึ่งใน ‘สมุนไพรที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ’ ที่มีประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัดได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอได้อีกด้วย แต่หลายคนมีปัญหากับการกินกระเทียม เพราะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่น จึงทำให้ในปัจจุบันมีการนำเอากระเทียมสดมาสกัดเป็นรูปแบบแคปซูลนิ่มขายในท้องตลาด ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสะดวก และไม่มีกลิ่นเหม็น
4. ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata)
เป็นสมุนไพรไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ให้รสขม มีสรรพคุณในการรักษาโรคหวัด สามารถบรรเทาอาการเจ็บคอแก้ไอ บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และลดการอักเสบ แต่การรรับประทานฟ้าทะลายโจรก็มีข้อควรระวัง เช่น ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะเสี่ยงเกิดอาการข้างเคียง นอกจากนี้ยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันต่ำ และเป็นโรคไต รวมทั้ง สตรีมีครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
5. มะนาว (Lemon)
ถือเป็นผลไม้สมุนไพรรสเปรี้ยว มีคุณสมบัติช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ รักษาอาการระคายคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ และทำให้ชุ่มคอ
6. ขมิ้นชัน (Curcumin)
เป็นสมุนไพรในครัวเรือนที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งในขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น และสามารถช่วยบำรุงปอด ซึ่งเป็นอวัยวะหลักในระบบทางเดินหายใจให้แข็งแรงได้ด้วย
7. เอ็กไคนาเซีย (Echinesea)
เป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา และยุโรปมากว่า 100 ปี อีกทั้งเป็นที่รู้จักในเมืองไทยมายิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา เพราะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการออกฤทธืและกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานดีขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณและทำให้เม็ดเลือดขาวมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเชื้อโรค ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
และเชื้อไวรัส จึงมีการนำมาใช้บรรเทาอาการหวัดและเจ็บคอจากการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยกว่าสมุนไพรที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน เพราะปลอดภัย สามารถใช้ได้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
8. ตะไคร้ (Lemon Glass)
สมุนไพรรสเผ็ดร้อนเหมือนกับ ขิง และข่า ซึ่งถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลายชนิด ช่วยบรรเทาและป้องกันหวัดได้ดี