Multitasking อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Multitasking อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Multitasking อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

     ในการทำงานองค์กรใหญ่หรือบริษัทเอกชนต่างๆ มักจะนิยมพนักงานที่สามารถทำงานได้หลากหลายทักษะในคนเดียวกัน เรียกว่า มัลติทาสกิ้ง (Multitasking) ต้องใช้ความคิดและหลายทักษะการทำงานไปพร้อมกัน เช่น เช็กอีเมล คุยโทรศัพท์ พิมพ์และตอบไลน์ ประชุม คิดกลยุทธ์ ประสานงานกับคนอื่น ทำสรุปรายงาน นำเสนองาน โดยคนที่ทำงานแบบนี้ได้ดีจะต้องสามารถจัดสรรเวลาเองได้แบบลงตัวและต้องใช้สมองในการคิดวางแผนการทำงานอยู่ตลอด ทำให้ใครหลายคนที่ต้องทำงานแบบ Multitasking จะเกิดสมองล้าได้ หัวสมองไม่ปลอดโปร่ง คิดงานไม่ออกบ้าง เป็นบางครั้ง

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  3 ขั้นตอนจัดระบบ Multitasking ให้มีประสิทธิภาพ

  ภาวะสมองล้า คืออะไร

  วิตามินบี ลดอาการสมองล้า ผ่อนคลายความเครียด

  วิตามินบีปริมาณสูงเพื่อคุณประโยชน์แก่ร่างกาย

     Multitasking คือ การทำงานหลายๆ อย่างในเวลา พบเจอได้ในหลายสายงาน เพราะทำให้องค์กรลดต้นทุนในการจ้างพนักงานเพิ่ม ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ง่ายขึ้น ทำให้พนักงานทำงานได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม  

3 ขั้นตอนจัดระบบ Multitasking ให้มีประสิทธิภาพ

1. จัดลำดับความสำคัญของงาน

     งานบางชิ้นที่มีความสำคัญน้อยหรือมีกำหนดในวันที่ต้องทำให้เสร็จ สามารถแบ่งงานออกเป็น 4 จำพวก คือ เร่งรีบและสำคัญ ไม่เร่งรีบแต่สำคัญ เร่งรีบแต่ไม่สำคัญ อย่างสุดท้ายไม่เร่งรีบและไม่สำคัญ โดยให้ทำงานที่สำคัญก่อนงานที่เร่งรีบเสมอ เพราะหลายครั้งเรามักทำงานที่เร่งรีบแต่ไม่สำคัญก่อน จึงกลายเป็นว่าทุกงานด่วนทั้งหมด

2. จัดสรรเวลาการทำงานให้ชัดเจน

     การทำงานทุกอย่างไม่จำเป็นต้องแบบ Multitasking ตลอดเวลา แต่มีงานบางชนิดหรือบางเวลาที่ต้องการการทำงานแบบ Multitasking ดังนั้นควรรู้เวลา และรู้งานที่จะต้องทำแบบ Multitasking วางแผนแบ่งเวลาตามความเหมาะสมของชนิดงาน

3. จดรายการงานที่ต้องทำ

     เป็นการกำหนดเป้าหมายงานที่ต้องทำ ทำให้ดูง่ายว่าเป้าหมายของงานคืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง และมีระยะเวลาในการทำงานเท่าไหร่ ทำให้ง่ายต่อการจัดสรรเวลาในการทำงานแต่ละเป้าหมายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมากขึ้น

The-man-is-busy-at-work.

     เมื่อการทำงานแบบ Multitasking เป็นระยะเวลานานๆ จะเริ่มมีอาการสมองล้า เช่น คิดงานไม่ออก สมองช้าลง หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิกับการทำงาน อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการพักผ่อนน้อย ทำงานหนักมากเกินไป และมีภาวะเครียดสะสม ส่งผลให้ความจำและการทำงานของสมองลดลง และในอนาคตอาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคความจำเสื่อมก่อนวัย อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว ควรเริ่มใส่ใจดูแลบำรุงสมองตั้งแต่วันนี้ก่อนจะสายเกินไป

ภาวะสมองล้า คืออะไร

     ภาวะสมองล้า (Brian Fog) คือภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นเวลานานๆ เกิดขึ้นจากความเร่งรีบที่ต้องทำงานให้เสร็จ พักผ่อนน้อย หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ทำให้สารสื่อประสาทในสมองเสียสมดุล ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองแย่ลง หากปล่อยเอาไว้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้หมดไฟในการทำงานจรเกิดความเครียดสะสมเรื้งรัง ส่งผลต่อสภาพจิตใจได้

food-of-vitamin-B

วิตามินบี ลดอาการสมองล้า ผ่อนคลายความเครียด

     สมองและระบบประสาทต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก มีผลการวิจัยทางการแพทย์ที่ว่าการรับประทานวิตามินบีปริมาณสูงสามารถช่วยบรรเทาความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น เพราะวิตามินบีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานจากสารอาหาร ทำให้ในขณะที่เรามีความเครียดวิตามินบีในร่างกายจะถูกนำไปใช้อย่ารวดเร็ว ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งสมองและระบบประสาทขาดพลังงานในการทำงาน จึงนำไปสู่ภาวะเครียดที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีภาวะเครียดจึงควรรับประทานวิตามินบีปริมาณสูงให้เพียงพอ เพื่อใช้เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงานแก่ระบบต่างๆ ในร่างกาย และยังรวมไปถึงสมองและระบบประสาทอีกด้วย

     จากการศึกษาที่เกี่ยวกับประโยชน์ของวิตมินบีปริมาณสูงต่อภาวะความเครียด โดยวิตามินบีทำให้สมองปลอดโปร่ง อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีปฏิกิริยาตอบสนองที่เร็วขึ้น วิตามินบีมีบทบาทที่สำคัญช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและมีสมาธิ

วิตามินบีปริมาณสูงเพื่อคุณประโยชน์แก่ร่างกาย

     วิตามินบีเป็นวิตามินที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จึงต้องได้รับจากอาหารจำพวกธัญพืช ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ไข่ เนื้อสัตว์และนม เป็นต้น แต่ด้วยสังคมในปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบและเผชิญกับความเครียดจากการทำงานหรือการเรียน ทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินมากขึ้น การับประทานวิตามินบีจึงควรมีปริมาณสูงที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อีกทั้งควรเลือกวิตามินบีสูตรสมดุล คือวิตามินบีแต่ละชนิดมีปริมาณเท่ากันเพื่อไม่ให้ขัดขวางการดูดซึมซึ่งกันและกัน ถ้าหากได้รับวิตามินชนิดใดมากเกินไป จะไปแย่งการดูดซึมวิตามินบีตัวอื่นได้

     หากมีร่างกายที่แข็งแรงและสมองที่พร้อมทำงาน ไม่ว่าจะงานหนักเท่าไหร่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี ไม่มีความเครียดและสนุกไปกับงานที่ทำ สุขภาพจิตก็จะดีตามไปด้วย นอกจากนี้ยังต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอย่างสมบูรณ์…ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care  

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/สมองล้า-brain-frog
https://www.engineerjob.co/2019/07/21/multitasking-ให้มีประสิทธิภาพ/  
https://digitalmarketingwow.com/2017/04/11/การทำงาน-multitasking/
https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/multitasking
https://thewhitemarketing.com/multi-tasking-skill/
https://www.blognone.com/node/4272
http://www.math.mut.ac.th/index.php/about-us/menu-articles-knowledgemanagement/70-math-articles-knowledgemanagement-611multitasking
https://www.skillsolved.com/article/whats-happening-in-brain-when-people-multitask/

 

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้