เทรนด์สุขภาพประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

เทรนด์สุขภาพประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

‘หลอดเลือดแดงในช่องท้องโป่งพอง’  ภัยเงียบสุขภาพที่ทุกคนควรรู้จัก

     “แน่นหน้าอก หน้ามืด ไอเป็นเลือด จนหมดสติ”
     “ปวดท้อง ปวดหลัง คลำพบก้อนที่เคลื่อนไหวได้ในช่องท้อง”
     “หายใจลำบากขึ้น กลืมอาหารหรือน้ำลายลำบาก”

ใครก็ตามที่มีอาการแบบนี้... อาจจะเป็นโรคหลอดเลือดแดงในช่งท้องโป่งพอง

     ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาในปัจจุบัน ทำให้การวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถทำได้อย่างละเอียดมากขึ้นซึ่งทำให้ได้รู้จักกับ ‘โรคหลอดเลือดแดงในช่องท้องโป่งพอง’ อีกหนึ่งโรคที่เป็นภัยเงียบด้านสุขภาพที่เสมือนระเบิดเวลา เพราะหลอดเลือดแดงที่โป่งพองก็เหมือนลูกโป่งที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดก็แตก
และเมื่อหลอดเลือดแดงแตกโอกาสการเสียชีวิตก็สูงเกือบ 100%

     รศ.(พิเศษ) ทวี โชติพิทยสุนนท์ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในช่องท้องโป่งพองเอาไว้ว่า โรคนี้เป็นภาวะผนังของท่อหลอดเลือดแดงมีความผิดปกติ โดยมีลักษณะโป่งพองออกมาก โดยตอนแรกๆ อาจจะโป่งเล็กน้อย แต่พอนานวันเข้ามันจะค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้นๆ เพราะเลือดที่ไหลผ่านมันจะไปดันอยู่ตลอดเวลา’

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหลอดแดงโป่งพอง

1. อายุที่เพิ่มขึ้น

     เรื่องอายุเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง โดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอายุตั้งแต่ 60 ปีเป็นต้นไป เพราะสารอนุมูลอิสระในร่างกายมีมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดแดงเริ่มเสื่อมภาพลงไปตามวัย เส้นใยยืดหยุ่นที่อยู่ในผนังชั้นกลางของหลอดเลือดแดงอ่อนแอลง ก็ย่อมทำให้เกิดปัญหาการโป่งพองขึ้น พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

2. สูบบุหรี่จัด

     การสูบบุหรี่ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจในอนาคต

3. ไขมันในเลือดสูง

     ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ จะทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดเส้นเลือดแดงอุดตัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความดันภายในหลอดเลือดแดง และทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ

4. กรรมพันธุ์

     ภายในครอบครัวเคยมีประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ก็จะทำให้สมาชิกคนอื่นๆ เสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้ในอนาคตเช่นกัน

     สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโป่งพองโดยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือหากจะแสดงอาการให้เห็นอยู่บ้าง เช่น จุกเสียด แน่นหน้าอกที่มักจะเป็นๆ หายๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่าร่างกายของตัวเองกำลังผิดปกติโดยวิธีที่จะทำให้รู้ได้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคหลอดเลือดโป่งพองหรือไม่ มีเพียงวิธีเดียว คือ ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล เช่น การเอกซเรย์แบบฉีดสี หรือซีทีสแกน

4 สัญญาณของอาการโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง

  1. แน่นหน้าอก หน้ามืด ไอเป็นเลือด หมดสติ เนื่องจากหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตก
  2. ปวดท้อง ปวดหลัง คลำพบก้อนที่เคลื่อนไหวได้ในช่องท้อง เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง
  3. หายใจลำบากขึ้น กลืมอาหารหรือกลืนน้ำลายลำบาก จากการที่หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอกและอาจไปกดเบียดหลอดลมและหลอดอาหาร
  4. เสียงแหบ เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอกและอาจไปกดเบียดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง

     ถ้าหากมีอาการใดๆ ในลักษณะที่กล่าวมานี้ ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและสามารถรักษาได้ทันท่วงที

การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดช่องท้องโป่งพอง

  1. งดสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่ส่วนหนี่งจะไปทำร้ายหลอดเลือดให้เกิดความผิดปกติได้
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4 วันต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้เลือดสูบฉีดและระบบเลือดไหลเวียนได้ดี
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ต้องนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และสังเกตดูว่านอนหลับสนิทดีหรือไม่
  4. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งค่าบนต้องน้อยกว่า 120 และค่าล่างต้องน้อยกว่า 80
  5. รักษาระดับไขมันในเส้นเลือดในสมดุล โดยค่าไขมันคอเลสเตอรอลรวมต้องไม่เกิน 200 มก./เดซิลิตรและค่าไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ควรต่ำว่า 150 มล./เดซิลิตร
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ ที่มีวิตามินเอ หรือเบตาคาโรทีน วิตามินอี และวิตามินซี เป็นต้น

     ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการก่อนแล้วค่อยหาวิธีป้องกันทีหลัง ควรดูแลหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรงตั้งแต่วันนี้ ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงหลอดเลือดอย่างวิตามินอี ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย อย่างเซลล์ผนังหลอดเลือด เพื่อไม่ให้สารอนุมูลอิสระมาทำลายได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2057981?utm_source=insider&utm_medium=web_push&utm_campaign=focus-blood-2057981_260321_1625&webPushId=MjgzNDA
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/abdominal-aortic-aneurysm
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/เลือดช่องท้อง/
https://www.bangkokhearthospital.com/content/watch-out-5-warning-signs-and-symptoms-that-might-indicate-aortic-aneurysm

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้