แพทย์เผย…โรคกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางเป็นอีกโรคยอดฮิตของคนไทย ที่หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต!!
จากข้อมูลการสำรวจล่าสุดในปี 2561 ของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ป่วยด้วยโรคกระดูกหักถึง 30,000 คนต่อปี ในจำนวนนี้ มีภาวะกระดูกสะโพกหักซ้้าประมาณ 6-8% ทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจ คือ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคกระดูกหักต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น มีแผลกดทับ มีภาวะปอดอักเสบจากการนอนนาน มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายเพราะเคลื่อนไหวน้อย เบื่ออาหารทำให้ร่างกายอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ดี ไม่ได้รับการรักษาหรือผ่าตัดอย่างทันท่วงทีภายใน 72 ชัวโมง ก็อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาจากต่างประเทศพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้กว่า 20% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี จึงถือเป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายที่ใกล้ตัวคนไทยและน่าเป็นห่วงอย่างมากในปัจจุบัน
เมื่อทราบถึงสถิติของผู้ป่วยด้วยโรคกระดูกหัก รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตแล้ว หลายคนคงมีคำถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองหรือผู้สูงอายุในครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่? ต้องดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อให้มีกระดูกที่แข็งแรง? บทความนี้จาก MEGA We care มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองเพื่อชะลอความเสื่อมของมวลกระดูกด้วยสารอาหารที่จำเป็นมาบอกกัน
สนใจหัวข้อไหนคลิก...
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกหัก?
สารอาหารใดบ้างที่ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง?
แม้ว่าโดยปกติแล้วภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระดูกหักนั้นจะพบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย ทำให้มีมวลกระดูกที่เปราะบางกว่าช่วงวัยอื่นๆ แค่ลื่นล้มหรือเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลทำให้เกิดกระดูกหักได้ แต่ก็ใช่ว่าช่วงอายุอื่นๆ จะไม่มีความเสี่ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าภาวะกระดูกหักนั้นเกิดได้ทุกช่วงวัย อย่างเช่น ในวัยเด็กอาจกระดูกหักจากเล่นโลดโผน หรือจากการเล่นกีฬา ในวัยทำงานอาจกระดูกหักจากการประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน อุบัติเหตุบนท้องถนน หรืออาจมีภาวะกระดูกหักเพราะกระดูกพรุน กระดูกบางก่อนวัย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรมการกินอาหาร เป็นต้น เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของตัวคุณเองและคนในครอบครัวได้ ลองเช็คดูว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้หรือไม่?
เป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ความสามารถของร่างกายในการสะสมแคลเซียมในกระดูกน้อยลง สวนทางกับการสลายตัวของแคลเซียมในจากระดูก ทำให้เนื้อกระดูกบางลง
เป็นผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระดูก หรือโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับข้อ โรครูมาตอยด์ เป็นต้น
เป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้มีภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกระดูก เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลจะทำให้การสลายแคลเซียมในกระดูกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้น
เป็นผู้ที่ดื่มกาแฟ ดื่มสุรา หรือผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จากข้อมูลพบว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อาจมีภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางก่อนวัย
เป็นผู้ที่นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย รวมถึงกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีภาวะกระดูกพรุนก่อนวัย
เป็นผู้ที่ไม่ค่อยออกแดด เช่น พนักงานที่ทำงานอยู่แต่ในออฟฟิศ คนที่ทาครีมกันแดดเป็นประจำ เป็นต้น เพราะแสงแดดจะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากธรรมชาติ ซึ่งวิตามินดีมีส่วนช่วยให้แคลเซียมดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง เป็นไฟโตเอสโตรเจนหรือเอสโตรเจนที่ได้จากพืช มีความใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้เข้ากับร่างกายได้ดี ที่สำคัญคือมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ ที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายค่อนข้างมาก โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบาง ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม และป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้หญิงที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ผู้หญิงวัยทอง ผู้หญิงที่ได้มีการผ่าตัดรังไข่ออกไปแล้ว จำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่)
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มความหนาแน่นให้มวลกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะมีการดูดซึมแคลเซียมจากกระดูกออกมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงเป็นผลให้กระดูกเปราะบางและเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักได้ง่ายแม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงแนะนำให้ผู้สูงวัยเลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย นม ถั่วเหลือง เป็นต้น ที่สำคัญคือต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่มั่นใจว่าจะสามารถกินแคลเซียมได้เพียงพอในแต่ละวันหรือไม่ การเสริมแคลเซียมในรูปแบบของวิตามินเสริมอาหารก็เป็นอีกทางเลือกที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่)
วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการเสริมสร้างมวลกระดูก มีส่วนช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูก ผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุน กระดูกบาง หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกหัก จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอ โดยปกติคนเราจะได้รับวิตามินดีจาก 2 แหล่งธรรมชาติ คือ จากแสงแดด และจากอาหารที่กินเข้าไป แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ชอบออกแดดและไม่สามารถได้รับวิตามินดีได้อย่างครบถ้วนจากอาหารปกติ การเลือกวิตามินดีในรูปแบบอาหารเสริมจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยแนะนำให้เลือกวิตามินดีจากแบรนด์ที่ไว้ใจได้ มีมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่)
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัยและทุกคนในครอบครัว แนะนำว่าควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กระดูกบางหรือกระดูกพรุนซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระดูกหัก และที่สำคัญต้องเลือกกินอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ด้วยความห่วงใยจาก_ MEGA We care