ปัญหาสุขภาพไขมันในเลือดสูงในปัจจุบันของคนไทยนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น ทัศนคติและความนิยมในการเลือกบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนโดยสิ้นเชิง อาหารตะวันตกประเภท Fastfood เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคนไทย จากวิถีชีวิตที่รีบเร่งคนจำนวนไม่น้อยเลือกรับประทานอาหารที่เน้นความอร่อยและรวดเร็วมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับชอบรับประทานอาหารรสหวาน ของทอด ของมัน และอาหารที่มีแคลอรี่สูง โดยเฉพาะพฤติกรรมการตามใจปากตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นสะสมจนกลายเป็นนิสัย ต่อเนื่องไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน และแน่นอนว่าการรับประทานเป็นประจำจนเกิดการสะสมในร่างกาย
ภาวะไขมันในเลือดสูงถือเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพที่ไม่ปรากฎอาการ แต่ถึงจะไม่แสดงอาการปัญหาไขมันในเลือดสูงนี้ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือดมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ รวมถึงมะเร็งลำไส้ และไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีปัญหาไขมันไตรกลีเซอไรด์ ไขมันคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน สาเหตุหลักๆ มาจากการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันแทบทั้งสิ้น
การป้องกันและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาไขมันในเลือดสูงที่ดีที่สุดก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อสามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้นควรลดบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว เน้นการประกอบอาหารโดยใช้วิธี นึ่ง ต้ม อบ ย่าง แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด
นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารบางประเภทให้เป็นประจำ เพราะอาหารจากธรรมชาติทั้ง 5 ประเภทนี้มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
1. กระเทียม
หนึ่งในสมุนไพรใกล้ตัวที่เป็นส่วนประกอบในอาหารที่คุ้นเคยอยู่หลายประเภท ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอาหารลดไขมันชั้นเยี่ยม มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดความดันโลหิต ในอดีตคนจำนวนไม่น้อยไม่นิยมบริโภคกระเทียมสด เพราะอาจจะกลัวในเรื่องกลิ่นของกระเทียม แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอากระเทียมมาสกัดให้เป็นน้ำมันประเทียมในรูปแบบเม็ดแคปซูลที่รับประทานง่าย และไม่มีกลิ่น จึงทำให้ความนิยมในการรับประทานกระเทียมในปัจจุบันมีมากขึ้น
2. พริกไทยดำ
พริกไทยเป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กับกระเทียม มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการลดไขมันในเลือด ด้วยการมีส่วนช่วยลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยเผาผลาญไขมัน
3. อัลมอนด์
ธัญพืชเปลือกแข็งที่เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย Omega-3 ที่มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย หรือ LDL-Cholesterol และป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดนี้ หรือไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้
4. ถั่วเหลือง
ในถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่สามารถมีอาจมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย และลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งถั่วเหลืองเป็นอาหารที่สามารถหารับประทานได้ง่ายทุกวัน เช่น การดื่มนมถั่วเหลือง เป็นต้น
5. ชา
ชาในที่นี้ไม่ใช่ ‘ชานมไข่มุก’ เครื่องดื่มยอดฮิตที่มาพร้อมกับโทษจากความหวาน แต่ชาที่ควรจะเลือกดื่มเพื่อลดคอลเลสเตอรอลก็คือ ชาขาวหรือชาเขียว เพราะในชาสองชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถ
ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้เป็นอย่างดี
6. อะโวคาโด
เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อร่างกาย การรับประทานอะโวคาโดในปริมาณที่พอเหมาะมีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย และมีส่วนช่วยทำให้ไขมันชนิดร้าย เช่น คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ลดลง
ขอบคุณข้อมูลจาก
1. โรงพยาบาลศิครินทร์
2. น้ำเต้าหู้ มีประโยชน์จริงหรือไม่ ? - พบแพทย์ (pobpad.com)