เครียดนอนไม่หลับ ปัญหาของคนวัยทำงาน

เครียดนอนไม่หลับ ปัญหาของคนวัยทำงาน

โรคเครียดนอนไม่หลับในคนวัยทำงาน

     จากสภาวะเศรษฐกิจ เหตุบ้านการเมืองและโรคระบาด ส่งผลให้หลายคนประสบปัญหาเรื่องของการนอนไม่หลับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนทำงานข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตได้เปิดเผยสถิติ พบว่าคนไทยส่วนมากมีปัญหา ‘นอนไม่หลับ’ มากถึง 40% หรือประมาณ 19 ล้านคน เพราะการชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้หลายคนเกิดภาวะตึงเครียดมากขึ้น ไม่ว่าจะเครียดด้วยการงาน เศษฐกิจ และความเครียดจากการเจ็บป่วยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนของใครหลายๆ คน และกระทบไปถึงหน้าที่การงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน

  สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย

  ผลเสียจากความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน

  สาเหตุที่ทำให้คนวัยทำงานเครียดนอนไม่หลับ

  เทคนิคช่วยลดความเครียดนอนไม่หลับในคนทำงาน

  สมุนไพรบางชนิดช่วยให้หลับสบายไดจริงหรือ?

  ยานอนหลับ (Sleeping Pill) ตัวช่วยที่ทุกคนคุ้นเคย

     โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยทำงานนั้น มีการสำรวจเรื่องความเครียดนอนไม่หลับในกลุ่มคนวัยทำงาน พบว่าเกิดปัญหานอนไม่หลับสูงถึง 35% ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับยาก หรือ หลับๆ ตื่นๆ ก็ตาม หากปล่อยให้เกิดอาการนอนไม่หลับเช่นนี้บบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นเป็นเวลานานแล้วจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและกระทบต่อสุขภาพกายและใจ นับได้ว่าเรื่องของการนอนนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญไม่น้อยเลย

ผลเสียจากความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน

1.  ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
     ความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงานจะส่งผลเสียอย่างชัดเจนให้กับคนทำงานในด้านประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ระหว่างวันมีโอกาสที่จะง่วงซึม สมองเบลอ มึนงง หรือบางครั้งอาจจะนำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยที่มากขึ้น เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายลดลง ในทางตรงกันข้ามการพักผ่อนที่ดี การนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยฟื้นฟูร่างกาย ส่งผลต่อสมองให้มีประสิทธิภาพในการคิดและตัดสินใจได้ดี 

2.  ผลกระทบต่อการตัดสินใจ

     ความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงานนอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงอย่างชัดเจนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดความนึกคิดที่ช้ากว่าปกติ จึงทำให้มีผลต่อการตัดสินใจ รวมไปถึงเรื่องความจำอีกด้วย ซึ่งการตัดสินใจและความรู้สึกนึกคิดที่ช้าจะมีผลเสียมากยิ่งขึ้นกับคนทำงานในบางอาชีพที่ต้องเสี่ยงอันตราย เช่น คนทำงานที่ต้องอยู่กับเครื่องจักร หรือยานพาหนะ
 
3.  อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
     ความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน แน่นอนว่าส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ทำให้ควบคุมไม่ได้ จึงเกิดภาวะหงุดหงิดง่าย บางคนตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า

4.  ฮอร์โมนลดลง
     ความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงาน มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายลดลงและทำงานผิดปกติ เนื่องจากในช่วงการนอนร่างกายจะฟื้นฟูตัวเองด้วยการสร้างฮอร์โมนขึ้นมา เพื่อให้เกิดสมดุลของร่างกาย เช่น โกรทฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศ และเมลาโทนิน โดยฮอร์โมนเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้นปัญหาการนอนไม่หลับ ส่งผลต่อคุณภาพการนอนและการผลิตฮอร์โมนด้วยเช่นกัน

5.  ร่างกายอ่อนแอ
     อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าขณะที่นอนหลับร่างกายจะมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเอง ไม่ว่าจะมีแผลบาดเจ็บในส่วนอื่นๆ ตามร่างกายก็จะพยายามซ่อมแซมในขณะที่นอนหลับ และแน่นอนเมื่อความเครียดนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นในวัยทำงานจะส่งผลทำให้กระบวนการซ่อมแซมร่างกายหยุดชะงัก นำมาซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้นกับสุขภาพ เช่น การเผาผลาญ การย่อยอาหาร การขับถ่าย ความดันโลหิตสูง และที่สำคัญไม่น้อยคือภูมิคุ้มกันลดลง

สาเหตุที่ทำให้คนวัยทำงานเครียดนอนไม่หลับ

1.  ปริมาณงานและความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
     งานที่เยอะจนล้นมือ ทำไม่ทัน หรือความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนทำงานจะเกิดความเครียดนอนไม่หลับ เพราะ
กิดความเครียดเกี่ยวกับงาน เพราะในหนึ่งวันต้องทำงานมากกว่า 1 อย่าง ทั้งงานเอกสาร พรีเซนต์งาน เขียนรายงาน และประชุม เป็นต้น จึงไม่สามารถทำงานเสร็จได้ภายในวันเดียว เป็นผลทำให้ต้องทำงานล่วงเวลาหรือเอางานกลับมาทำต่อที่บ้าน จนไปเบียดเวลาการพักผ่อนทำให้ต้องนอนดึก มีเวลาพักผ่อนน้อยลง ในที่สุดก็เกิดความเครียดนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นวัฎจักรที่เกิดขึ้นซ้ำๆ 

2.  มีปัญหาทางด้านจิตใจ
     เป็นผลพวงจากการทำงาน อาจจะได้รับแรงกดดัน ความคาดหวัง หรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่สำคัญจนเกิดความวิตกกังวลและมีอารมณ์ที่อ่อนไหว สุขภาพจิตในบางเวลาจึงไม่เอื้อต่อการนอนหลับ และทำให้ความเครียดนอนไม่หลับเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

3.  มีอาการเจ็บป่วย หรือมีโรคประจำตัว     
     ในคนวัยทำงานมักจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เพราะจากการทำงานที่ต้องนั่งโต๊ะทั้งวัน จึงขยับตัวได้น้อย เมื่อถึงเวลานอนจึงทำให้ไม่สบายตัวจนไม่สามารถนอนหลับได้สนิท  นอกจากนี้โรคฮิตของคนวัยทำงานคือโรคกรดไหลย้อน วัยทองหรือภาวะฮอร์โมนพร่อง และยังมีอีกโรคที่รบกวนการนอนได้มากอย่างนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

can-not-sleep

เทคนิคช่วยลดความเครียดนอนไม่หลับในคนทำงาน

1.  พยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลายเพื่อกำจัดความเครียด
     เพราะความเครียดเป็นสาเหตุหลักของภาวะนอนไม่หลับ ทำกิจกรรมเพื่อให้จิตใจผ่อนคลาย เช่นสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังเพลงเบาๆ อ่านหนังสือก่อนนอน เป็นต้น
2.  ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ
     โดยเฉพาะในช่วยบ่ายๆ ของวัน เพราะคาเฟอีนในเครื่องดื่ม จะส่งผลให้สมองตื่นตัว

3.  ควรหลีกเลี่ยงการทานก่อนนอน หรือให้ห่างจากช่วงเวลานอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
     โดยเฉพาะเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากเช่น เนื้อสัตว์ อาหารรสจัด (
กรณีที่หิวก่อนนอนให้ดื่มนมอุ่นๆ หรือกล้วยครึ่งลูกเพื่อให้หายหิว เพราะทั้งนมและกล้วยมีกรดอะมิโนที่ช่วยทำให้หลับง่ายขึ้น)
4.  ออกกำลังกายเบาๆ ในช่วงเย็น
     อาการเครียดนอนไม่หลับ สามารถใช้การออกกำลังกายช่วยได้ โดยเลือกออกกำลังกายให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

5.  จัดเวลาเข้านอนให้เป็นเวลาประจำทุกวัน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 4 ทุ่ม

6.  ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบๆ และภายในห้อง เช่น ปิดไฟในห้องให้มืดสนิท ไม่มีเสียงรบกวน อุณหภูมิห้องนอนที่เหมาะสม หรือใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ช่วยในการผ่อนคลายได้

7.  งดทำกิจกรรมบนเตียง เป็นข้อที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการดูหนัง เล่นมือถือ จะทำให้นอนหลับได้ช้าลง ดังนั้นควรจดจำไว้ว่า “เตียงนอนเอาไว้สำหรับนอน”

8.  ใช้ตัวช่วยในการนอนหลับ เช่น สมุนไพรหรือยาช่วยนอนหลับบางชนิด เพื่อช่วยให้หลับได้สบายยิ่งขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในคนทำงานที่มีความเครียดนอนไม่หลับ

สมุนไพรบางชนิดช่วยทำให้หลับสบายได้จริงหรือ?

     สารสกัดจากรากวาเลอเรี่ยน (Valerian root) เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแถบยุโรป นิยมใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ และช่วยผ่อนคลายให้หลับง่ายมากขึ้น ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับโดยไปเพิ่มสารสื่อประสาทส่วนกลางที่ทำให้นอนหลับ สามารถเพิ่มคุณภาพของการนอนหลับ ช่วยทำให้หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก และมีฤทธิ์คลายความกังวล และไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหลังจากตื่นนอน และมีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดการเสพติด (อ่านเพิ่มเติมเรื่องสมุนไพรที่ช่วยการนอนหลับให้ดียิ่งขึ้นได้ที่นี่) 

5-negative-effects-of-insomnia-in-working-people

ยานอนหลับ (Sleeping Pill) ตัวช่วยที่ทุกคนคุ้นเคย

     การใช้ยาช่วยนอนหลับ (Sleeping Pill) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนทำงานที่เครียดนอนไม่หลับใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีหลายชนิด โดยเฉพาะยานอนหลับที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทนั้นเป็นยาที่ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ และจะพิจารณาใช้ระยะสั้นๆ ไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่องเกิน 1 เดือนขึ้นไป เพราะอาจทำให้มีโอกาสการติดยาได้ง่าย

     
ในปัจจุบันยังมีอีกทางเลือกที่ใช้กัน คือ การเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วง เช่น ยาแก้แพ้ (Anti-histamine) เพื่ออาศัยผลข้างเคียงของยาเหล่านั้นมาเป็นอีกตัวช่วยในการนอนหลับ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นต้น (ยานอนหลับกลุ่มยาแก้แพ้ : คลิกอ่านเพิ่มเติม)

     ซึ่งการใช้ตัวช่วยเพื่อให้นอนหลับสำหรับคนทำงานที่เครียดนอนไม่หลับสามารถเริ่มต้นด้วยการใช้ยาแก้แพ้ (กลุ่ม Anti-histamine) เพื่อช่วยแก้อาการนอนไม่หลับชั่วคราวในระยะสั้นได้ ซึ่งคนวัยทำงานส่วนใหญ่มีภาวะเครียดนอนไม่หลับอยู่เสมออยู่เสมอจนส่งผลกระทบต่อการนอน และเมื่อตื่นเช้าก็ประสบกับปัญหาสมองเบลอ ไม่ปลอดโปร่ง ทำให้ท้ายที่สุดประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลง เพราะการนอนไม่เพียงพอนั่นเอง ดังนั้นการเลือกใช้ยาแก้แพ้ (Anti-histamine) ที่มีฤทธิ์ช่วยให้ง่วง และระยะเวลาการออกฤทธิ์ยาวนานได้ประมาณ 8 ชั่วโมงจะทำให้ร่างกายมีโอกาสนอนหลับอย่างเพียงพอตามชั่วโมงการนอนที่ควรจะได้ในแต่ละคืนก็จะทำให้ร่างกายมีโอกาสซ่อมแซมได้อย่างเต็มที่ ตื่นเช้ามาสมองรู้สึกสดชื่น เพราะการที่ร่างกายได้พักอย่างเต็มที่

     การพักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกวัย เมื่อร่างกายได้นอนหลับอย่างเต็มที่แล้ว จะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีทั้งการฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ยังช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้น มีอารมณ์ที่แจ่มใส หัวสมองปลอดโปร่ง และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น_ ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.nonthavej.co.th/Insomnia-2.php
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-สุขภาพจิต/อยากนอน-แต่นอนไม่หลับ-ใช่อาการป่วยทางจิตหรือไม่-
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/insomnia https://www.phyathai.com/article_detail/2692/th/เข้าใจ_“โรคนอนไม่หลับ”_อาการหนักแบบไหนควรปรึกษาแพทย์?branch=PYT3
https://www.praram9.com/insomnia/
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/699/Insomnia
https://medthai.com/ไดเฟนไฮดรามีน/
https://www.pobpad.com/diphenhydramine
https://www.health2click.com/2021/02/05/5-ปัจจัยทำให้หนุ่มสาว/

 

More-information-buttoncontact-specialist-for-information-button

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้