ปัญหากลิ่นปาก.... เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การมี "กลิ่นปาก" หรือ "ลมหายใจ" ที่หอมสดชื่น อยู่ตลอดเวลาคงเป็นสิ่งที่หลายพึงปรารถนา โดยเฉพาะในวัยทำงานในปัจจุบันที่ต้องพบคนมากมาย การมี "กลิ่นปาก" หรือ "ลมหายใจ" ที่หอมสดชื่น ถือเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น สร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง และช่วยเพิ่มความประทับใจให้ผู้ที่พบเจอนั่นเอง
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหากลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ อาจสร้างความกังวลใจ รวมไปถึงการสูญเสียความมั่นใจไปโดยปริยาย และคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหานี้ และเชื่อเหลือเกินบางรายอาจยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าปัญหากลิ่นปากสามารถเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
วันนี้ Mega We Care มีเรื่องราวของ 5 ปัญหากลิ่นปากที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้...มาก่อน โดยเราจะไปพาไปหาสาเหตุที่ทำให้มี "กลิ่นปาก" ว่าเกิดจากอะไรบ้าง พร้อมเคล็ดลับพิชิตกลิ่นปากให้ทุกคนมีลมหายใจที่หอมสดชื่น มากกว่าเดิมและลดความกังวลใจได้บ้าง …
สนใจหัวข้อไหน...คลิกเลย
วิธีแก้ปัญหากลิ่นปากอย่างง่ายๆ
เคล็ดลับพิชิตกลิ่นปาก ลมหายใจหอมสดชื่น
1. ระบบทางเดินทางอาหาร: ส่วนใหญ่เกิดจากการมีแบคทีเรียส่วนเกินในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ซึ่งมักจะมีอาการท้องอืด แน่น เรอมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้อาหารบางชนิดเมื่อรับประทานจะมีกลิ่นขับออกมาทางลมหายใจ เช่น กระเทียม สะตอ ทุเรียน หอมหัวใหญ่ กะปิ ปลาร้า หรือแม้กระทั่งอาหารกระป๋องเช่น ปลากระป๋อง ทูน่ากระป๋องและเครื่องเทศต่างๆ
2. ละเลยการดูแลสุขภาพช่องปาก: อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก คือการแปรงฟันไม่ถูกวิธี เนื่องจากอาจมีเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ตามซอกฟัน หรือในรูฟันผุ รวมทั้งคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามบริเวณซอกฟัน ซึ่งเป็นที่เก็บกักและสะสมเชื้อโรคต่างๆ
3. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่: การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นเวลานานหรือเพิ่งสูบ กลิ่นของบุหรี่จะตกค้างอยู่ปาก
4. สภาวะขาดน้ำ: สำหรับใครที่กำลังมีปัญหา ร้อนใน ปากแห้ง คอแห้ง แสดงว่าคุณกำลังมีภาวะขาดน้ำ จึงทำให้น้ำลายไหลเวียนได้น้อย จึงเกิดกลิ่นปากขึ้นมานั่นเอง
5. นิ่วในต่อมทอนซิล: หลายคนอาจไม่คุ้นชินกันมากนัก นิ่วในต่อมทอนซิลเกิดจากการสะสมของแบคทีเรียและเซลล์ที่ตายแล้ว ไปอุดตันที่บริเวณท่อทอนซิล ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีขาว ส่งผลให้มีกลิ่นปากหรือลมหายใจเหม็นนั่นเอง
2. ดื่มน้ำให้มากขึ้น: การดื่มน้ำจะช่วยขจัดแบคทีเรียและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก ช่วยขจัดคราบบนลิ้นและเสมหะในลำคอ
3. งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่: การงดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ จะช่วยลดปัญหากลิ่นปากได้อย่างถาวร
4. แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร: การแปรงที่ถูกวิธีจะช่วยลดโอกาสการเกิดของแบคทีเรีย และสิ่งสำคัญควรแปรงด้านบนของลิ้น เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและเศษอาหารที่ตกค้างนั้นเอง
5. ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ
นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่กล่าวมาแล้วอีกหนึ่ง “เคล็ดลับพิชิตกลิ่นปาก ลมหายใจหอมสดชื่น”สำหรับวัยทำงานอย่างเราที่ต้องมีการปาร์ตี้กันตลอดเวลา ก็คงหนีไม่พ้นร้านอาหารบุฟเฟต์สุดโปรด แน่นอน หลังรับประทานอิ่มแล้ว อาจตามมาด้วย ‘กลิ่นปาก’ แถมยังมีอาการท้องอืด แน่น เรอมีกลิ่นเหม็น ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่สิ่งที่พึงปรารถนาเท่าไรนัก การเลือกดูแลด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยเฉพาะ 3 สมุนไพร อย่าง เปปเปอร์มิ้นต์ สเปียร์มิ้นต์ และเมล็ดยี่หร่าหวาน ก็เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ดังนี้
1. เปเปอร์มิ้นต์ (Peppermint Oil) : มีฤทธิ์ช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดอาการปวดเกร็งท้อง กระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการลำไส้แปรนปรวน (IBS) ช่วยให้เย็นสบายท้อง
2. สเปรียร์มิ้นต์ (Spearmint Oil) : ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เย็นสบายท้อง ช่วยขับลม ลดอาการปวดเกร็งท้อง กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและการหลั่งน้ำดี ลดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
3. เมล็ดยี่หร่าหวาน (Fennel Oil) : เป็นสมุนไพรที่มีความโดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่น ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้การเคลื่อนตัวของทางเดินอาหารดีขึ้น ลดการปวดเกร็งท้อง และเป็นสมุนไพรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสมุนไพรที่ได้รับใบอนุญาติจากประเทศเยอรมนี (Commission E)
นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อแล้วแล้ว สารสกัดจากสมุนไพรยังช่วยให้รู้สึกเย็นสบายท้อง ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่นขึ้นได้ ลดปัญหาลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และช่วยให้เรอหอม มั่นใจในทุกสถานการณ์ที่สำคัญตอบโจทย์วัยทำงานได้อย่างลงตัว เพราะมาในรูปแบบเม็ดพกพาสะดวก เรียกว่าจะมื้อไหนก็ไม่หวั่น เพรามีไอเทมดีๆติดตัวไว้ข้างกายนั้นเอง ด้วยความห่วงใยจาก Mega We Care
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/dental-cosmetic-and-implant-center-th/dental-articles-th/item/358-halitosis-th.html