คอเลสเตอรอลสูงลดได้ด้วย Krill Oil

คอเลสเตอรอลสูงลดได้ด้วย Krill Oil

ไขมันคอเลสเตอรอลคืออะไร?

     คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ และพบได้ในอาหารประเภทต่างๆ ที่รับประทานในแต่ละวัน โดยไขมันชนิดนี้มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ แต่ปัญหาสุขภาพจะเกิดขึ้นแน่นอนหากระดับของไขมันคอเลสเตอรอลมีมากจนเกินไป เพราะจะเท่ากับว่าจะทำให้ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเพิ่มขึ้น เนื่องจากไขมันคอเลสเตอรอลจะไปเกาะบนผนังหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก

ไขมันคอเลสเตอรอลแบ่งได้กี่ประเภท?

ไขมันคอเลสเตอรอลสามารถแบ่งออกไปได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.  ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)
     การมีระดับไขมันชนิดดีในร่างกายยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อร่างกายเท่านั้น เพราะไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะทำหน้าที่กำจัดไขมันชนิดร้าย(LDL-Cholesterol) ที่เป็นอันตรายออกจากกระแสเลือด และเมื่อไขมันชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) ถูกกำจัดออกไปก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตันได้

2.  ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol)
     ไขมันชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะเป็นไขมันคอเลสเตอรอลที่จะไปสะสมบริเวณผนังหลอดเลือดในร่างกาย ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง และถ้าไปเกาะบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจและสมองก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันในบริเวณดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมาได้

     นอกจากนี้ภายในร่างกายยังมีไขมันอีกหนึ่งชนิดที่มีความสัมพันธ์กับไขมันคอเลสเตอรอลนั่นก็คือ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งหากเมื่อใดที่ในร่างกายมีระดับของไขมันชนิดนี้สูงเกินค่ามาตรฐาน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตันได้เช่นกัน

ไขมันคอเลสเตอรอลระดับไหนถึงจะถือว่าปกติ?

     ในทางการแพทย์มีการกำหนดค่ามาตรฐานของระดับไขมันคอลเลสเตอรอลในร่างกายของคนปกติไว้ดังต่อไปนี้

1.  ค่าของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) :
ควรต้องมีค่ามากกว่า 40 มิลลิกรมต่อเดซิลิตร ในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงควรมากกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่เนื่องจากไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ดี ดังนั้นในร่างกายมีมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น

2.  ค่าของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) :
ควรต้องมีค่าน้อยกว่า 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในคนสุขภาพปกติ และควรน้อยกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในกรณีที่ป่วยโรคเส้นเลือดอุดตันและโรคเบาหวาน

3.  ค่าระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) : ควรต้องน้อยกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ไขมันคอเลสเตอรอลสูงเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน

     สองโรคร้ายแรง ซึ่งคนที่มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจอุดตันได้มากกว่าคนที่มีสุขภาพปกติ สำหรับโรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกาย เมื่อไขมันหรือลิ่มเลือดเกิดการอุดตันแล้วเข้าไปคั่งอยู่ในเส้นเลือดบริเวณสมอง ส่งผลทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์แบบทันท่วงทีอาจนำไปสู่การเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ หรือถ้ารุนแรงมากจนเส้นเลือดสมองแตกก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ทันที

     สัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองอุดตันจะแสดงออกมาในลักษณะดังต่อไปนี้
1.  มีอาการร่างกายชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง
2.  พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนอาหารลำบาก
3.  ปวดศีรษะ เวียนศีรษะเฉียบพลัน
4.  มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการมองเห็น ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีกทันทีทันใด
5.  การทรงตัวจะผิดปกติ เดินเซ และทรงตัวลำบาก

     ส่วนโรคหลอดเลือดหัวใจก็มีปัจจัยการเกิดคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองก็คือ เกิดจากไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจจนเกิดการอุดตันทำให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง และหากอาการรุนแรงก็เสี่ยงเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้เช่นกัน 
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันที่สังเกตได้ก็คือ
1.  เหนื่อยง่ายเฉียบพลัน หายใจหอบ หายใจเข้าได้ไม่เต็มปอด
2.  มีอาการจุกแน่นหน้าอกจะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลาง
3.  หน้ามืด เวียนหัว และแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ร้าวไปยังคอ กราม ไหล่ แขน 2 ข้าง และสะบัก (บางคนมีอาการรุนแรงอาจหมดสติ เสี่ยงภาวะหัวใจวายเสียชีวิตกะทันหัน)
4.  การเต้นของหัวใจผิดปกติไม่สม่ำเสมอ จะพบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมองอุดตันล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับระดับของไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงทั้งสิ้น

ปัจจัยที่ทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูง

     จากการเก็บสถิติทางการแพทย์พบว่ามีปัจจัยที่สำคัญ 6 ข้อ ซึ่งจะทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงผิดปกติ

1.  การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ
     โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ หรืออาหารทะเลประเภท หอยนางรม กุ้ง ปลาหมึก รวมทั้งอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น แป้ง น้ำตาล กะทิ และของหวานต่างๆ ของทอด ของมัน และไขมันทรานส์ที่พบมักพบในของหวานประเภทคุกกี้ โดนัท ขนมปัง และเบเกอรี่

2.  มีโรคประจำตัว
                แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุไว้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือการเป็นโรคอ้วน ซึ่งมีค่าดัชนีมวลกาย BMI หรือ body mass index ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป จะเสี่ยงต่อการมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูง เช่นเดียวกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคดังกล่าวก็เป็นปัจจัยทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ที่เรียกว่า ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (very-low-density lipoprotein: VLDL) ที่เป็นอันตรายสูงขึ้น และมีส่วนทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มีปริมาณลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงยังไปทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดงในอวัยวะสำคัญของร่างกายอีกด้วย

3.  การไม่ชอบออกกำลังกาย
     การออกกำลังกายนอกจากเป็นการช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย และช่วยให้อวัยวะในระบบทางเดินหายใจแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)  ในร่างกาย และช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) ในร่างกายให้น้อยลง

4.  การสูบบุหรี่
     สารพิษในควันบุหรี่จะไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงกับภาวะไขมันสะสม อีกทั้งมีผลวิจัยทางการแพทย์สรุปออกมาว่าการสูบบุหรี่เป็นประจำมีส่วนทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol)  ในร่างกายลดลง

5.  อายุที่เพิ่มขึ้น
     อายุก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายมากขึ้น เพราะยิ่งอายุมากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากความเสื่อมถอยของสุขภาพตับที่ลดลง ทำให้ตับกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol)  ได้น้อยลง

อยากลดไขมันคอเลสเตอรอลต้องทำอย่างไร?

1.  ควบคุมอาหาร
     เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุหลักของการมีไขมันคอเลสเตอรอลสูงมาจากการรับประทานอาหาร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับประทาน จึงถือเป็นวิธีที่จะช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดปริมาณในการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลประเภท หอยนางรม กุ้ง ปลาหมึก และงดของทอด ของมัน รวมทั้งแป้ง น้ำตาล กะทิ และของหวานต่างๆ ให้น้อยลงเท่าที่จะเป็นไปได้ และเราควรเลือกรับประทานอาหารไขมันไม่อิ่มตัวแทนการรับประทานไขมันอิ่มตัวให้มากขึ้น ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อการช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล ก็คือ ธัญพืชทุกชนิด อะโวคาโด เนื้อปลา และน้ำมันมะกอก นอกจากนี้ให้เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีอาหารที่มีกากใยสูงเพิ่มขึ้น และหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวาน รวมทั้งดื่มน้ำสะอาดมากๆ จะช่วยลดการดูดซึมของไขมันที่จะเข้าสู่กระแสเลือดได้ เพราะจะช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ

2.  หันมาออกกำลังกายในแบบแอโรบิก
     การออกกำลังกาย ก็เป็นอีกหนี่งวิธีที่จะช่วยลดปัญหาไขมันคอเลสเตอรอลสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ให้มากขึ้นและช่วยดึงไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) กลับไปทำลายที่ตับเพิ่มขึ้น โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าวิธีที่จะช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลด้วยการออกกำลังกายที่ดีก็คือ การเลือกออกกำลังกายแบบแอโรบิก ข้อดีของการออกกำลังกายในลักษณะนี้ก็คือ เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ออกแรงแบบต่อเนื่อง ทำให้เป็นการเร่งอัตราการเต้นของหัวใจให้มากกว่า จึงช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันที่อยู่ในร่างกาย และนำพลังงานไปใช้มากขึ้น จึงยิ่งช่วยลดไขมันในเลือดได้ดียิ่งขึ้น

3.  ผ่อนคลายความเครียด
     เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะสร้างอนุมูลอิสระมากขึ้น ทำให้ตับที่มีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงยิ่งขึ้น

4.  เลิกสูบบุหรี่ และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
     ผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันในเลือดสูง จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันเพิ่มยิ่งขึ้น มีงานวิจัยในต่างประเทศยืนยันว่าการสูบบุหรี่มีส่วนทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ในร่างกายลดลง และกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) นอกจากนี้ยังความเสียหายให้กับหลอดเลือด และมีส่วนในการเพิ่มการเกาะตัวของไขมันคอเลสเตอรอลให้อุดตันในเส้นเลือดมากยิ่งขึ้นด้วย

      ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ต้องจำกัดปริมาณการดื่มให้น้อยลง เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง เสี่ยงต่อการสะสมพลังงานส่วนเกินในร่างกายให้มากขึ้น มีส่วนทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายลดลง ส่งผลให้เพิ่มโอกาสเกิดโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ยังทำลายตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กับการผลิตไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย

 


5.  สารอาหารบางชนิดในธรรมชาติก็ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล

     ในอดีตการรักษาผู้ป่วยที่มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เลือกที่จะให้ยาลดไขมันในกลุ่มสแตตินควบคู่กับการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายไปด้วยซึ่งก็ได้ผลดี แต่ในผู้ป่วยบางราย กลับพบปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ทำให้ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ที่มีระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูง ด้วยโดยการนำเอาสิ่งมีชีวิตจากธรรมชาติมาศึกษาอย่างละเอียด และพบว่า ‘กุ้งขนาดเล็ก’ ที่อาศัยอยู่ในทะเลน้ำลึก เมื่อได้สกัดสารสำคัญในตัวกุ้งออกมาแล้ว พบว่าสารสำคัญดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ช่วยลดและกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol)  จึงทำให้ระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) อยู่ในระดับปกติรวมทั้งยังมีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้อีกด้วย และยังมีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงเมื่อเทียบกับยา ซึ่งสารอาหารชนิดดังกล่าวมีชื่อว่า Krill Oil มารู้จัก Krill Oil ให้ดีขึ้นได้ที่นี่

Krill Oil คืออะไร และช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลได้จริงหรือไม่?

     คริลล์ออย (Krill oil) คือ สารอาหารที่สกัดออกมาในรูปแบบน้ำมันจากกุ้งทะเลขนาดเล็ก (Crustaceans) ที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก โดยสารอาหารชนิดนี้จะอุดมไปด้วยกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบไปด้วย EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) นอกจากนี้คริลล์ออย (Krill oil)  ยังมีกรดไขมัน Omega-6 และ Omega-9 รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ Astaxanthin

     จากการเอกสารทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือได้พบว่า คริลล์ออย (Krill oil) มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยดูแลหัวใจและป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดหัวใจและสมอง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพข้อกระดูกโดยการลดการอักเสบ ช่วยลดอาการและป้องกันการเกิดข้ออักเสบในผู้ที่มีปัญหาข้อรูมาตอยด์และเกาท์ได้ด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก

1.  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ https://www.bumrungrad.com/th/conditions/cholesterol-heart-disease

2.  โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/dyslipidemia

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้