ตั้งแต่ปีพ.ศ 2535 จากการสถิติของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society) คนไทยที่เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปีจาก 17.0% ในปีที่เริ่มสำรวจจนขยับมาเป็น 24.7% ในปีพ.ศ. 2557 โดยผู้ชายความชุกเพิ่มจาก 18.1% เป็น 25.6% ส่วนในผู้หญิงเพิ่มจาก 15.9% เป็น 23.9% ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยทั้งชายหญิงนับวันยิ่งขยับสูงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขที่ทำการสำรวจในระหว่างปี พ.ศ. 2553-2558 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเก็บสถิติของสองหน่วยงานมีความสัมพันธ์กันในแง่ของโรคความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น อัตราการเป็นโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจก็เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นถ้าหากสามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงให้มีอัตราที่ต่ำลงเท่าไหร่ ก็จะส่งผลดีในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้ เพราะสองโรคนี้มีความเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลกัน
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือโรคที่เป็นความผิดปกติภายในร่างกายที่เกี่ยวกับความดันภายในหลอดเลือดที่สูงกว่าระดับปกติ โรคนี้ถือว่าเป็นภัยเงียบทางสุขภาพอย่างหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอของโรคที่ร้ายแรงในอนาคต เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม หรือโรคไตวายเรื้อรัง เพราะการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในโดยเฉพาะหลอดเลือดแดง สามารถนำไปสู่โอกาสการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด และหลอดเลือดแตกได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายมากสำหรับหลอดเลือดหัวใจและสมอง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโอกาสโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
- กรรมพันธุ์ : จากการเก็บสถิติในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงพบว่า คนที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่พ่อแม่ไม่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เพศและอายุ : ผู้ที่เสี่ยงกับโรคความดันโลหิตสูงส่วนมากจะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 35 ปีขึ้นไปและมีข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่าในช่วงก่อนอายุ 50 ปี โรคนี้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ถ้าหากอายุมากกว่า 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
2. ปัจจัยที่ควบคุมได้
- โรคอ้วน : ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน จะเสี่ยงมีความดันโลหิตสูงได้ง่าย
- ไขมันในเลือดสูง : เมื่อมีการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง จะมีผลทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง และทำให้ระบบการเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อหัวใจมีการสูบฉีดเลือดผ่านไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่สะดวก เพราะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดก็ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
- ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ : ทันทีที่สูบบุหรี่ สารพิษต่างๆ ในบุหรี่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นในทันที อีกทั้งยังสร้างความเสียหายให้กับเยื่อบุผนังหลอดเลือด เสี่ยงหลอดเลือดแดงตีบแคบ และเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหัวใจ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป จะกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ทำให้เกิดความดันในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น
- รับประทานอาหารรสเค็มเป็นประจำ : การรับประทานอาหารที่เค็มจัดที่มีเกลือโซเดียม มากกว่า 1 ช้อนชาต่อวันขึ้นไป จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลระยะยาวทำให้เสี่ยงหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตเสื่อม
- ขาดการออกกำลังกาย : เมื่อขาดการออกกำลังกาย หรือไม่สามารถหาเวลาออกกำลังกายได้เป็นประจำ ก็อาจจะเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ ซึ่งหากเป็นสองโรคนี้แล้ว ความดันโลหิตในเลือดก็จะสูงตามโดยอัตโนมัติเช่นกัน
- จิตใจและอารมณ์ : สิ่งนี้มีผลต่อความดันโลหิตได้มาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดความเครียด ความตื่นเต้น อารมณ์โกรธมีโอกาสที่ความดันโลหิตจะสูงขึ้น และถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในระดับปานกลางหรือควบคุมได้อาจจะไม่มีอาการทางร่างกายแสดงออกมามากนัก จะรู้ว่าสูงก็ต่อเมื่อได้วัดความดัน แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ร่างกายจะส่งสัญญาณผ่านทางอาการเหล่านี้
- ปวดศีรษะตุบๆบริเวณท้ายทอย
- เวียนศีรษะบ่อย โดยเฉพาะตอนตื่นนอน
- ตาพร่ามัว หน้ามืดบ่อย
- เลือดกำเดาไหล
- มีอาการเหนื่อยง่าย
- ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก
ความดันโลหิต (Blood Pressure) คือ ค่าความดันของเลือดในหลอดเลือดแดง มาจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ และเมื่อหัวใจบีบตัวจะเป็นค่าความดันตัวบน (Systolic Blood Pressure) และเมื่อหัวใจคลายตัวก็จะเป็นค่าความดันตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) โดยที่ค่าความดันโลหิตสำหรับคนปกติเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแต่ละคนด้วย เช่น
- วัยทารก : ปกติไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กเล็ก (3-6 ปี) : ปกติไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
- เด็กโต (7-17 ปี) : ปกติไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- คนทั่วไปวัยทำงาน : ปกติไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- วัยสูงอายุ : ปกติไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท
ในทางการแพทย์การรักษาโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้ด้วยกัน 2 วิธี คือ การเลือกรับประทานยาเพื่อลดความดันโลหิตและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
1. การรับประทานยา
ถึงแม้การรับประทานยาเพื่อลดความดันโลหิตจะได้ผลดี แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มาก แพทย์จะไม่แนะนำให้รับประทานยา เพราะจะมีข้อควรระวังอยู่มากมาย เช่น ต้องรับประทานยาต่อเนื่องทุกวันและต้องรับประทานยาให้ตรงเวลา ห้ามปรับเพิ่มปริมาณยาด้วยตัวเองโดยเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อผลข้างเคียงในเรื่องหน้ามืด และหมดสติจากผลของความดันโลหิตที่ต่ำลงจากยาที่รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
วิธีนี้ถือเป็นสิ่งที่แพทย์โดยส่วนใหญ่เลือกแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตที่ยังไม่สูงมาก เพราะมีความปลอดภัยที่มากกว่า ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันจะรวมถึง
2.1 การจำกัดการรับประทานอาหารบางประเภท
โดยเฉพาะอาหารรสเค็ม ควรจะต้องจำกัดปริมาณของการรับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน ซึ่งอาจเทียบได้กับน้ำปลาหรือซีอิ๊ว ไม่ควรเกิน 3-4 ช้อนชาต่อวัน
2.2 ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยดัชนีมวลกายของผู้ชายรอบเอวไม่ควรเกิน 36 นิ้ว ส่วนผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว และสาเหตุที่แพทย์แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักตัวก็คือ คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่น้ำหนักปกติ
2.3 ออกกำลังกายให้เข้มข้นและสม่ำเสมอมากขึ้น
เพราะการออกกำลังกายโดยเฉพาะจะช่วยลดค่าความดันโลหิตสูงได้ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูงกับการออกกำลังกายพบว่า ข้อดีของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะช่วยลดความดันโลหิตในค่าความดันเลือดตัวบน (Systolic) ได้ 2-3 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเท่ากับว่าการลดลงของค่าความดันโลหิตตัวบนนี้จะส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้สูงถึง 14% และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 9%
2.4 เลิกสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่ เป็นตัวกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นถึง 5-10 มิลลิเมตรปรอท และถ้าเลิกสูบบุหรี่ได้การคุมความดันโลหิตให้ปกติก็จะทำได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้คนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 50%
ในปัจจุบันมีทางเลือกที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้กับผู้ที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูงปฏิบัติร่วมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันซึ่งมีความสะดวก และปลอดภัยกว่าการใช้ยาลดความดันก็คือ การรับประทาน ‘กระเทียม’ ในรูปแบบของน้ำมันกระเทียมสกัด ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติที่ปลอดภัย
กระเทียม (Garlic) สมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี และเป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมาย ในอดีตกระเทียมได้ถูกชาวจีน อียิปต์ บาบิโลน กรีก และโรมัน นำมาใช้เป็นยารักษาโรคมานานกว่า 3,000 ปี และในปัจจุบันทั่วโลกก็ได้นำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องและเป็นที่แพร่หลาย แต่บางคนอาจไม่ชอบเนื่องจากมีกลิ่นที่ฉุนหรือรับประทานแล้วทำให้เกิดกลิ่นปาก
จากการค้นคว้าและวิจัยของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมากกว่า 2,500 ชิ้นงาน ทำให้ยืนยันถึงสารสำคัญที่มีอยู่ในกระเทียมอย่างน้อย 33 ชนิด อัลลิซิน (Allicin) และ S-allylmercaptocyctein รวมทั้งกรดอะมิโนและไกลโคไซด์กว่า 17 ชนิด นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยเอ็นไซม์หลายชนิด และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น เซเลเนียม (Selenium) ให้ประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะการช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดไขมันในเลือดสูง ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและเสริมสร้างภูมิต้านทาน อีกทั้งยังสามารถช่วยปรับสมดุลให้แก่อวัยวะสำคัญอย่างเช่น หัวใจ ได้อีกด้วย
จากการศึกษาวิจัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศพบว่าให้ประโยชน์ในการช่วยลดความดันโลหิตตัวบน (ความดันที่เกิดขึ้นขณะหัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ) ได้ถึง 7.7 มิลิเมตรปรอท และลดความดันโลหิตตัวล่าง (ความดันของเลือดที่ค้างอยู่ในหลอดเลือด ขณะหัวใจคลายตัว) ได้ถึง 5 มิลลิเมตรปรอท ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ถึง 16-40% ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยที่ทำขึ้นกับกลุ่มทดลองของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 553 คน
1. ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นฉุนของกระเทียม
2. สะดวกในการรับประทานมากกว่าการกระเทียมสด
3. ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หลังการรับประทานน้ำมันกระเทียมสกัด
4. ไม่จำเป็นต้องรับประทานเป็นจำนวนมากเหมือนกระเทียมสด ก็สามารถได้สารอาหารจำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ
ขอบคุณข้อมูลจาก
1. โรงพยาบาลสินแพทย์
2. ศูนย์ข้อมูล MEGA We care
3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
5. นายแพทย์ศุภสิทธิ์ สถิตย์ตระกูล แพทย์อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลรามาธิบดี