วัยทำงาน ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนี่งของชีวิต วัยทำงานถือเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงวัยตั้งแต่15-60 ปี นอกจากเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศแล้ว ยังเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพไม่แพ้วัยสูงอายุ
การที่คนทำงานมีสุขภาพที่ดีถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในคุณภาพชีวิต แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการแข่งขันสูง คนทำงานส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอย่างเคร่งเครียด จมอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบในที่ทำงานมากเกินปกติ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพร่างกายเช่น มีเวลาพักผ่อนน้อยลง นอนดึก อดนอน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และยังมีพฤติกรรมไลฟ์สไตล์ส่วนตัวที่ทำร้ายสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งพฤติกรรมไม่รับประทานอาหารเช้า เลือกรับประทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์โดยยึดเอาความรวดเร็วและง่ายเป็นหลัก มีความเครียดสูง ขาดทักษะในการจัดการความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวกระตุ้นให้สุขภาพของคนทำงานทรุดโทรมมากยิ่งขึ้น
1. ออฟฟิศซินโดรม และคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
เพราะร้อยละ 60 ของคนวัยทำงานในปัจจุบันเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เนื่องจากด้วยวิถีการทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานทุกวัน ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวปวดตึงบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง ไปจนถึงขา
ไม่เพี่ยงเท่านั้นคนทำงานยังต้องเจอกับปัญหาคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computor Vision Syndrome) ที่บั่นทอนสุขภาพของดวงตา ทั้งอาการตาล้า ตาแห้ง ตาพร่ามัว ปวดกระบอกตา หรืออาการจอประสาทตาเสื่อม
2. โรคอ้วน
นอกเหนือจากการรับประทานอาหารแคลอรี่สูงแล้ว ความเครียดที่เกิดขึ้นร่างกายรู้สึกหิวมากกว่าปกติ ยิ่งหิวก็ยิ่งต้องรับประทานโดยเฉพาะอาหารหวาน ยิ่งแต่ละวันไม่ค่อยขยับเขยื้อนร่างกาย ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ก็ยิ่งทำให้คนทำงานเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้
3. ความดันโลหิตสูง
เมื่อคนทำงานที่เป็นโรคอ้วนแล้ว มักจะตามด้วยโรคความดันโลหิตสูง เพราะหลอดเลือดของคนที่เป็นโรคอ้วนมักตีบแคบจากไขมันที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานของมัน ของทอด ยิ่งรวมกับความเครียดจากการทำงานยิ่งทำให้หลอดเลือดหดเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตก็สูงขึ้นตามมา
4. โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ในปัจจุบันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนทำงานมีอัตราที่สูงขึ้นกว่าในอดีต เมื่อคนทำงานเสี่ยงกับการภาวะไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดแดงตีบแคบลงเนื่องจากมีไขมันมากไปอุดตันในหลอดเลือดทั่วร่างกายโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและสมอง ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดีทำให้อวัยวะสำคัญขาดเลือด ยิ่งรวมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงด้วยแล้วเสี่ยงกับอาการหัวใจขาดเลือด และเส้นเลือดในสมองแตก
5. ปวดศีรษะไมเกรน
อาการปวดศีรษะยอดฮิตของคนทำงานที่สร้างความทรมานและความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก บางคนปวดรุนแรงถึงขนาดไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็มีส่วนมาจากความเครียด เมื่อเกิดความเครียดสมองจะหลั่งสารเคมีตัวหนึ่งชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) ส่งผลให้หลอดเลือดขยาย และโป่งตัวออก จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
6. โรคกระเพาะอาหาร
อีกหนี่งโรคยอดนิยมในคนทำงานที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ซึ่งผลจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาจะทำให้ร่างกายเครียด เกิดอาการปวดแสบช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือเสียดทรวงอกหลังรับประทานอาหารเสร็จ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมามากผิดปกติจนไปกัดกระเพาะอาหาร และหากปล่อยไว้ก็อาจรุนแรงถึงขั้นกระเพาะทะลุได้
1. วิตามินรวม (Multivitamins)
พฤติกรรมปกติของคนทำงานในยุคปัจจุบันที่ขาดการดูแลตัวเองไม่ว่าจะเป็น การพักผ่อนน้อย นอนดึกตื่นเช้า ไม่รับประทานอาหารเช้า ไม่รับประทานผักผลไม้หรืออาหารที่มีประโยชน์ ทำงานหนัก ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่าย
วิธีที่ตอบโจทย์และง่ายที่สุดสำหรับคนทำงานในการดูแลร่างกายนอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานเสริมก็คือ วิตามินรวม วิธีนี้สามารถที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่สำคัญอย่างเต็มที่ในขณะที่อาจจะได้รับไม่เพียงพอจากอาหารปกติแต่ละมื้อ
2. โสม (Ginseng)
คุณค่าของ ‘โสม’ ราชาแห่งสมุนไพรที่ดีต่อร่างกายมีมากมาย แต่สำหรับคนทำงานโสมสามารถช่วยต่อต้านความเมื่อยล้า (Antiflatigue effect) ช่วยเพิ่มพลังการทำงานของร่างกายส่งผลให้เหนื่อยช้าลง มีความสามารถในการทำงานมากยิ่งขึ้น สร้างความอึดและอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น
นอกจากนี้โสมยังช่วยเพิ่มความสดชื่น เพราะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางสามารถกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าไม่อ่อนเพลีย ไม่เพียงเท่านั้นโสมยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นฮอร์โมน ATCH จากต่อมใต้สมอง ช่วยให้เร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาต่อต้านความเครียดได้ และลดความวิตกกังวลได้
3. วิตามินซี (Vitamin C)
เป็นวิตามินพื้นฐานที่สำคัญมากต่อร่างกายคนทั่วไปรวมทั้งคนทำงาน แต่เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ต้องได้รับจากอาหารในธรรมชาติเท่านั้น เช่น ผักและผลไม้เท่านั้น เป็นวิตามินที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยไปช่วยเสริมความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาวทำให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
4. ลูซีน ซีแซนทีน และแอสตาแซนทีน (Lutein Zeaxanthin & Astaxanthin)
ในปัจจุบันเป็นเรื่องแทบจะเป็นไม่ได้ที่คนทำงานจะไม่ได้นั่งอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงของปัญหาเกี่ยวกับดวงตาในคนทำงานที่เรียกว่า ‘คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม’ (Computor Vision Syndrome) ไม่ว่าจะเป็นอาการตาล้า ตาแห้ง ตาพร่ามัว ปวดกระบอกตาหรืออาการจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นของความผิดปกติของดวงตาที่มีโอกาสจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
สารอาหารที่สามารถช่วยดูแลสุขภาพดวงตาของคนทำงานที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำได้แก่ ลูทีน ซีแซนทีน และแอสตาแซนทีน ซึ่งสารอาหารทั้งสามชนิดนี้จะช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมทั้งแสง UV ลดอาการตาล้าและอาการปวดกระบอกตาจากการจ้องจอเป็นเวลานาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อตาให้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจก
5. วิตามินบี (Vitamin B)
เรื่องความเครียดกับคนทำงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากมาก เมื่อร่างกายเกิดความเครียดนอกเหนือจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงแล้ว วิตามินบีในร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
นอกจากนี้เรื่องความเครียดที่ทำให้คนทำงานมีปริมาณวิตามินบีในร่างกายลดลงแล้ว คนทำงานที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำผลวิจัยทางการแพทย์ระบุว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ร่างกายมักจะขาดวิตามินบี
วิตามินบี (Vitamin B) เป็นกลุ่มวิตามินที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทมีบทบาทสำคัญในการผลิตสารสื่อประสาทที่ควบคุมการตื่นตัว ความจำและอารมณ์ ช่วยให้ผ่อนคลาย และยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง มีสมาธิ และช่วยให้อารมณ์ที่ดีขึ้นด้วย